รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

รังสีร่วมรักษากับการรักษามะเร็ง

โดย นพ. พิพิธ ปิตุวงศ์ (แพทย์รังสีร่วมรักษาของลำตัว)

รู้หรือไม่!!!

  • รังสีแพทย์ก็ทำการรักษาผู้ป่วยเหมือนกัน
  • รังสีร่วมรักษา ไม่ใช่รังสีรักษานะ
  • มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด

———————————————————————————————————————–

มารู้จักกับแพทย์รังสีร่วมรักษากันเถอะ

แพทย์รังสีร่วมรักษาเป็นแพทย์ที่เรียนต่อเฉพาะทาง ทางด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยได้พบรังสีแพทย์ด้านนี้เท่าไหร่ เนื่องจากเราทำงานอยู่เบื้องหลัง ช่วยแปลผลภาพให้แพทย์เฉพาะทางด้านอื่นๆ ได้ดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง แม่นยำขึ้น เราจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องเอกซ์เรย์ เครื่องฟลูโอโรสโคปี้ระบบดิจิตอล เครื่องอัลตราซาวด์ และ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแพทย์เฉพาะทาง ทางรังสีลงไปอีก คือ แพทย์รังสีร่วมรักษา ที่จะใช้อุปกรณ์ทางรังสีดังกล่าว เพื่อนำทางในการรักษาผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัด อีกทั้งมีความแม่นยำสูง และแผลเล็กนิดเดียว  เช่น การเจาะระบายหนองทางหน้าท้อง, การให้ยาเคมีบำบัดกับเส้นเลือดที่จำเพาะไปยังก้อนมะเร็ง, การรักษาภาวะหลอดเลือดผิดปกติผ่านทางสายระบายหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด และ การจี้ก้อนมะเร็งผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็กโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นต้น

รังสีร่วมรักษานะ ไม่ใช่รังสีรักษา

หลายคนมีความสับสนระหว่างแพทย์รังสีร่วมรักษา กับ แพทย์รังสีรักษา ด้วยความที่ชื่อภาษาไทยมีความคล้ายกันอย่างมาก แต่อันที่จริงการทำงานของเราต่างกันโดยสิ้นเชิง เปรียบเทียบได้ตามตารางข้างล่างนี้

รังสีร่วมรักษา รังสีรักษา
ภาษาอังกฤษ คือ Interventional radiologist ภาษาอังกฤษ คือ Radiation oncologist
แพทย์รังสีร่วมรักษา สามารถแปลผลภาพทางรังสีได้เช่นเดียวกับแพทย์รังสีวินิจฉัย และ ยังสามารถใช้อุปกรณ์ทางรังสี เพื่อนำทาง เข็ม, เข็มให้ความร้อน, สายระบายต่างๆ, สายสวนหลอดเลือด เป็นต้น เข้าไปในตัวผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา ได้อย่างแม่นยำ และ แผลเท่ารูเข็ม แต่ต้องมีการสัมผัสตัวผู้ป่วย แพทย์รังสีรักษา งานหลักคือ ฉายรังสีจากภายนอกร่างกายเข้าไปบริเวณที่ต้องการรักษาซึ่งมักจะเป็นมะเร็ง โดยจุดประสงค์เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่ต้องสัมผัสตัวผู้ป่วย หรือที่เรียกกันติดปากว่าการ ฉายแสง
ต้องมีการสัมผัสตัวผู้ป่วย แต่ไม่ใช่การผ่าตัด ไม่ต้องสัมผัสตัวผู้ป่วย อาศัยรังสีจากภายนอก
   

 

มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด

เป็นเรื่องจริงที่มะเร็งบางชนิดสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และ ไม่ต้องได้ยาเคมีบำบัด นั่นคือการจี้ก้อนเนื้องอกโดยใช้เข็มผ่านทางผิวหนัง ทำการรักษาโดย รังสีแพทย์ร่วมรักษา ซึ่งมักทำในมะเร็งที่ตับ ไต ตับอ่อน หรือ ปอด แต่ต้องมีขนาดไม่ใหญ่มาก และ ยังไม่กระจายไปอวัยวะอื่น

การจี้ก้อนเนื้องอกโดยใช้เข็มที่ผลิตความร้อนจากคลื่นวิทยุหรือคลื่นไมโครเวฟ สอดผ่านผิวหนังเข้าตำแหน่งเนื้องอกโดยไม่ต้องผ่าตัด จากนั้นให้กระแสไฟฟ้าหรือพลังงานคลื่นไมโครเวฟเพื่อให้เกิดความร้อนอุณหภูมิสูงรอบเข็ม เพื่อช่วยทำลายก้อนเนื้องอกในรัศมี ประมาณ 2 – 5 เซนติเมตร รอบปลายเข็ม

 

ข้อดีของการจี้ก้อนมะเร็งผ่านทางผิวหนังด้วยเข็มขนาดเล็กโดยไม่ต้องผ่าตัด

แผลมีขนาดเล็ก ความเสี่ยงต่ำ พักฟื้นเร็ว และ สามารถทำซ้ำได้

ขั้นตอนการตรวจ

  1. ผู้ป่วยนอนราบบนเตียงในห้องตรวจ หรือ นอนในท่าที่เหมาะสม ตามที่แพทย์พิจารณา
  2. แพทย์อัลตราซาวด์ หรือ เอ๊กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ดูตำแหน่งของบริเวณที่จะจี้ก้อนเนื้องอก
  3. แพทย์ทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะจี้ก้อนเนื้องอก
  4. แพทย์สอดเข็มไปตำแหน่งก้อนเนื้องอก โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ หรือ เอ๊กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ในการดูตำแหน่งที่เหมาะสม
  5. ก่อนการจี้เนื้องอก วิสัญญีแพทย์ให้ยานอนหลับหรือยาสลบ
  6. แพทย์ให้ความร้อนผ่านเข็ม
  7. เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจ แพทย์จะถอนเข็มออก และกดห้ามเลือดที่แผล จึงปิดด้วยผ้าปิดแผลสะอาด

ภาวะแทรกซ้อน

เกิดภยันตรายกับอวัยวะข้างเคียงหรือหลอดเลือด แต่พบได้น้อย โดยความเสี่ยงจะมีมากขึ้นในกรณีที่เนื้อเยื่อที่ต้องการมีเลือดไปเลี้ยงจำนวนมาก และ หากเกิดภาวะเลือดออกดังกล่าวอาจต้องรับการรักษาเพิ่มเติมโดยการอุดหลอดเลือด

 

จะเห็นว่าในปัจจุบันการรักษามะเร็งมีทางเลือกมากขึ้น ตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น และมีแพทย์สหสาขาวิชา ได้แก่อายุรแพทย์, ศัลยแพทย์, รังสีแพทย์, แพทย์รังสีรักษา และ แพทย์รังสีร่วมรักษา ร่วมกันรักษาผู้ป่วย ซึ่งทางศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เล็งเห็นถึงความสำคัญในจุดนี้ จึงมีการประชุมแพทย์เป็นระยะ( multidisciplinary conference)เพื่อให้ได้การรักษาที่ดีที่สุด และ เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละคน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ ที่งานรังสีเทคนิก ชั้น 2 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก หรือ โทรสอบถามได้ที่เบอร์ 028496600 ต่อ 3155

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกรังสีวินิจฉัย

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 3155 , 3156

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]