คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

โดย พญ. พิมพ์สิริ ตั้งกิจโชติ วิสัญญีแพทย์

1.ถ้าผู้ป่วยใช้กัญชาต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ตอบ : กัญชามีผลต่อยาระงับความรู้สึกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด ทั้งในระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิกาย ควรแจ้งแพทย์ถ้าใช้กัญชา และต้องงดการใช้กัญชา 72 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

2.ทำไมถึงต้องงดทาเล็บเมื่อมาระงับความรู้สึก

ตอบ : ระหว่างระงับความรู้สึกต้องมีการตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วย โดยวิธียิงแสงผ่านปลายนิ้ว ซึ่งการทาเล็บทำให้การวัดค่าออกซิเจนคลาดเคลื่อน

3.การงดน้ำงดอาหารก่อนให้การระงับความรู้สึก งดอย่างไร งดกี่ชั่วโมง

ตอบ :

1.งดอาหารมื้อหลัก เช่น ข้าวผัด 8 ชั่วโมง

2.งดอาหารมื้อเบา เช่น โจ๊ก และเครื่องดื่มที่ผสมนมหรือมีกากใย 6 ชั่วโมง

3.งดนมแม่ 4 ชั่วโมง

4.งดน้ำเปล่าและเครื่องดื่มใส ไม่มีกากใย 2 ชั่วโมง

4.ยาสมุนไพรอะไรบ้างที่ต้องงดก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : น้ำมันปลา(fish oil), วิตามินอี, กระเทียม ,โสม ,ขิง ,แปะก๊วย ต้องงดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยควรนำยารวมไปถึงสมุนไพรที่ทานมาให้วิสัญญีแพทย์และแพทย์ผ่าตัดดูเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

5.ต้องเตรียมตัวอะไรบ้างก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และทำให้จิตใจให้ผ่อนคลายค่ะ

6.ถ้าเข้ารับการผ่าตัดที่ไม่ต้องดมยาสลบ ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารด้วย

ตอบ : การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนอาจทำให้ไม่สมบูรณ์ หรือการผ่าตัดอาจจะยากและนาน ทำให้ยาชาหมดฤทธิ์ไปก่อน จึงต้องเปลี่ยนวิธีระงับความรู้สึกไปเป็นแบบดมยาสลบ รวมไปถึงหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นระหว่างการผ่าตัด และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการสูดสำลักอาหารเข้าปอดหากไม่ได้งดน้ำงดอาหาร

7.ระหว่างดมยาสลบมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ตอบ : ในขณะที่มีการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะอยู่กับคนไข้ตลอดเวลา เพื่อให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวระหว่างผ่าตัดและไม่เจ็บปวด รวมถึงเฝ้าระวังสัญญาณชีพต่าง ๆ ให้ปกติ จนเสร็จสิ้นการผ่าตัด

8.ระหว่างที่ดมยาสลบจะมีตื่นขึ้นมาเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดหรือไม่

ตอบ : แทบเป็นไปไม่ได้เลย ขณะดมยาสลบมีวิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลดูแลตลอดเวลา กรณีที่อาจเจอตามข่าวหรือที่ต่างประเทศ อาจจะเจอบ้างในกรณีพิเศษ เช่น คนไข้มีการเสียเลือดเยอะ ความดันต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นทำให้ต้องลดระดับการสลบลง เพื่อรักษาชีวิต วิสัญญีแพทย์จะต้องดูแลชีวิตเป็นสำคัญ ตรงนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกตัวขึ้นมาในช่วงของการช่วยเหลือชีวิต

9.กลัวว่าดมยาสลบไปแล้วจะไม่ฟื้น

ตอบ : ตื่นค่ะ พอหมอผ่าตัดผ่าเสร็จ ปิดแผล ทางวิสัญญีจะปลุกคนไข้ตื่น คนไข้จะตื่นและทำตามคำสั่งได้ แต่คนไข้อาจจะจำไม่ได้ มาจำได้อีกทีที่ห้องพักฟื้นหรือที่หอผู้ป่วย

10.หลังผ่าตัดเสร็จกลับบ้านได้เลยหรือไม่

ตอบ : ขึ้นอยู่กับชนิดการผ่าตัดที่คนไข้ได้รับ ปัจจุบันมีการผ่าตัดที่สามารถทำแล้วกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ และการผ่าตัดรักษากระดูกหักที่ข้อมือ เป็นต้น เนื่องจากมีการพัฒนาเรื่องยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึก ยาแก้ปวด เทคนิคในการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน(บล็อกเส้นประสาท) และเทคนิคในการผ่าตัด

11.สามารถขับรถกลับบ้านเองได้หรือไม่หลังผ่าตัดและได้ยาระงับความรู้สึก

ตอบ : เพื่อความปลอดภัยควรงดขับรถภายใน 24 ชั่วโมงหลังระงับความรู้สึก เนื่องจากอาจมีฤทธิ์ของยาสลบตกค้างอยู่ ต้องมีผู้ติดตามพากลับบ้าน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]