โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea : OSA)

โดย พญ. ศิริลักษณ์ ผลศิริปฐม

อาการและอาการแสดง

โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) หมายถึง ความผิดปกติของการหายใจในขณะหลับที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบนเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้เกิดการหยุดหายใจหรือหายใจแผ่ว โดยมีอาการและอาการแสดงได้แก่

อาการ ได้แก่

  • นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์
  • หายใจแรงกว่าปกติในขณะนอนหลับ
  • มีหยุดหายใจหรือหายใจดังเฮือก
  • ปัสสาวะรดที่นอน
  • นอนในท่านั่งหลับหรือแหงนคอขึ้น
  • ริมฝีปากเขียว ตัวเขียว
  • ปวดศีรษะตอนตื่นนอน
  • ผล็อยหลับหรือง่วงมากผิดปกติเวลากลางวัน
  • มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ซุกซนผิดปกติหรือสมาธิสั้น ก้าวร้าว
  • มีปัญหาการเรียน

อาการแสดง ได้แก่

  • น้ำหนักหนักน้อยหรืออ้วนกว่าเกณฑ์
  • ต่อมทอลซิลโต
  • คางเล็กหรือสั้น
  • หน้าอะดีนอยด์
  • เพดานปากโค้งสูงหรือโหว่
  • การเจริญเติบโตช้ากว่าเกณฑ์
  • ความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรค  OSA

ภาวะ OSA หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้หลาย

ระบบได้แก่

  1. ระบบประสาทและพฤติกรรม อาจพบปัญหาได้หลายอย่าง เช่น กลุ่มพฤติกรรมที่มีการซุกซนมากผิดปกติ (hyperactive) โรคสมาธสั้น(attention deficit and hyperactivity disorders : ADHD) หรืออาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น
  2. ระบบหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ ความดันโลหิตสูง หัวใจห้องซ้ายหนาตัวขึ้น และหากอาการรุนแรงจนมีภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีความดันเลือดในปอดสูง(pulmonary hypertension) และทำให้ หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว(right-sided heart failure ) ตามมา
  1. ระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ปัญหาโรคอ้วน การสะสมไขมันที่ผิดปกติเป็นต้น

 

การวินิจฉัยโรค OSA ในเด็ก

การซักประวัติ

เกี่ยวกับการกรน การหยุดหายใจ รวมถึงการปัสสาวะรดที่นอน และประวัติเกี่ยวกับอาการในเวลากลางวัน เช่น อ้าปากหายใจ คัดจมูกการซุกซนมากผิดปกติ ผลการเรียน เป็นต้น

การตรวจร่างกาย

เช่น การประเมินขนาดของอะดีนอยด์และทอนซิล การตรวจจมูก การประเมินลักษณะโครงสร้างใบหน้า เป็นต้น

การตรวจเพิ่มเติม

  1. การถ่ายภาพทางรังสีของกะโหลกศีรษะด้านข้าง เพื่อใช้ประเมินขนาดของอะดีนอยด์
  2. การส่งกล้องตรวจทางเดินหายใจส่วนบน สามารถใช้ในเด็กโตที่ให้ความร่วมมือ
  3. การตรวจค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนขณะหลับ (overnight pulse oximetry) เป็นการหาระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดขณะหลับ สามารถนำมาใช้เป็นการตรวจคัดกรองโรค OSA ในเด็กได้ถ้าผลเป็นบวก ผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็น OSA ได้สูง แต่ถ้าผลเป็นลบไม่สามารถตัดโรค OSA ออกไปได้ ยังต้องส่งผู้ป่วยไปตรวจการนอนหลับชนิด เต็มรูปแบบ (Polysomnography, PSG) ต่อไป
  4. การตรวจการนอนหลับชนิด เต็มรูปแบบ (Polysomnography, PSG) เป็นการตรวจมาตรฐานสำหรับการวินิจฉัย OSA

แนวทางการรักษาผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA

  1. การรักษาโดยการผ่าตัดต่อมอดีนอยด์และทอลซิล เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA ที่มีต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์โต
  2. การใช้ยาพ่นจมูกกลุ่มสเตียรอยด์ ควรใช้ในผู้ป่วยเด็กที่มีโรค OSA ระดับความรุนแรงน้อยหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการตอบสนองต่อยาในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกัน และหลังหยุดใช้ยาอาจมีอาการกลับมาได้
  1. การใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่องใช้ในกรณี

– ผู้ป่วยที่ให้การรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมทอนซิลและ/หรืออะดีนอยด์แล้วยังมีอาการของOSA หลงเหลืออยู่

– OSA ที่สัมพันธ์กับภาวะอ้วน, โรคระบบประสาทและกล้ามเนื้อ และโครงสร้างใบหน้าผิดปกติที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้สำเร็จ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]