ภาวะอะเฟเซีย

ภาวะอะเฟเซีย

โดย พ.ญ. ศิริกัญญา รุ่งเรือง

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร หรือ อะเฟเซีย (Aphasia) คือภาวะที่มีปัญหาของการฟัง พูด อ่าน หรือ เขียน ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากพยาธิสภาพ หรือความผิดปกติในสมองส่วนที่ควบคุมเรื่องภาษา โดยในส่วนใหญ่มักจะอยู่ที่บริเวณสมองซีกซ้าย

ประเภทของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

การสื่อสาร คือการแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้แก่ การรรับสาร การแปลความหมาย และการส่งสาร โดยอาการที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายก็จะมีความรุนแรง และความผิดปกติแตกต่างกันออกไป

  1. กลุ่มฟังไม่เข้าใจ โดยเมื่อไม่เข้าใจจะไม่สามารถตอบโต้ได้ตรงกับคำถาม หรือเมื่อถูกถามจะงง ไม่สามารถสื่อสารตอบกลับมาได้ เช่น การพูด หรือการตอบไม่ตรงคำถาม หรือทำตามคำบอกไม่ได้ เช่น บอกให้ยกมือ หรือกำมือ ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำตามได้
  2. กลุ่มมีปัญหาด้านการพูด มีความรุนแรงตั้งแต่พูดไม่คล่อง พูดได้เป็นคำ ๆ พูดติดขัด เรียงประโยคผิด พูดตามไม่ได้ ไปจนถึงพูดไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจนึกคำไม่ออก เช่น คำว่า แก้วน้ำ อาจบอกว่าเป็นอะไรที่เอาไว้ใส่น้ำ หรือ ข้าวสวย ก็อาจพูดว่าที่เป็นเม็ดขาว ๆ หลาย ๆ เม็ด เอาไว้ทาน เป็นต้น หรือบางรายอาจมีความผิดปกติทั้งสองทาง คือทั้งการรับสาร และสื่อสารทำให้ฟังไม่เข้าใจ และพูดตอบไม่ได้
  3. กลุ่มอ่านไม่เข้าใจ หรือพิมพ์ไม่ได้ หรือมีปัญหาด้านการอ่านการเขียนในผู้ป่วยที่เคยอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถเชื่อมเสียงกับตัวอักษาได้ เห็นตัวอักษร หรือคำ แล้วอ่านไม่ออก

สาเหตุของภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

ตามความจริงแล้วภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุที่ทำให้เนื้อสมองที่ควบคุมเกี่ยวกับการพูด และความเข้าใจถูกทำลาย ได้แก่

  1. โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งเส้นเลือดสมองตีบ ตัน หรือแตก หรือที่รู้กันกันในชื่อ Stroke
  2. โรคเนื้องอกในสมอง โดยมีก้อน หรือเนื้องอกไปกดทับทำให้เกิดความผิดปกติในส่วนของสมองซีกซ้าย ภาวะติดเชื้อ หรืออุบัติเหตุทางสมอง
  3. กลุ่มโรคอัลไซเมอร์ บางครั้งอาจพบภาวะคิดคำไม่ออก

โดยแพทย์สามารถวินิจฉัย และหาสาเหตุของโรคได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง การเจาะน้ำไขสันหลังในรายที่สงสัยการติดเชื้อ เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดต่อไป

ภาวะบกพร่องทางการสื่อสารมีวิธีรักษาอย่างไร

การรักษาภาวะบกพร่องทางการสื่อสารจะรักษาตามสภาพของโรค เช่น หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างทันท่วงที หากไปโรงพยาบาลภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

หากเกิดจากเนื้องอกสมอง สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด

หากเกิดจากภาวะติดเชื้อ สามารถรักษาได้โดยการให้ยาฆ่าเชื้อที่จำเพาะต่อเชื้อนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังมีวิธีการฝึกการพูด และการใช้ภาษา โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกิจกรรมบำบัด และนักอรรถบำบัด เพื่อแก้ไขปัญหาความบกพร่องทางการสื่อสาร

โดยการฝึกผู้ป่วยที่มีภาวะบกพรองทางการสื่อสาร จะฝึกตามปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วย โดยเน้นการฝึกซ้ำ ๆ ให้ผู้ป่วยหัดทำบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

  1. ฝึกฟัง เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจสิ่งที่คนรอบข้างพูด เริ่มจากฝึกฟังแล้วให้ทำตามคำสั่ง เช่น กำมือ แบมือ ให้จับอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงอาจให้ทำเลียนแบบ เช่น กำมือ แบมือ ทำซ้ำ ๆ จะทำให้คนไข้พอเข้าใจมากขึ้น
  2. ฝึกนึกคำ เริ่มจากการใช้ของจริงก่อน เพื่อให้คนไข้ได้สัมผัสสิ่งของนั้น ๆ เช่น ให้ดูนาฬิกา ปากกา กระดาษ เป็นต้น ถ้าผู้ป่วยคิดคำไม่ออก ผู้ฝึกอาจใบ้คำแรกเพื่อช่วยผู้ป่วยได้
  3. ฝึกพูดเพื่อโต้ตอบกับคนรอบข้าง โดยฝึกคำถามทั่ว ๆ ไปที่ผู้ป่วยคุ้นเคย เช่น ถามชื่อ หรือมีบทสนทนาทั่วไป เช่น ทานข้าวหรือยัง ทานอะไร อยู่ที่ไหน โดยค่อย ๆ ถามทีละคำถามช้า ๆ ถ้าผู้ป่วยนึกคำไม่ออก อาจช่วยใบ้พยางค์แรก หรือให้พูดตาม เป็นต้น การฝึกพูดตามอาจใช้สถานการณ์ช่วยได้ เช่น เวลาทานข้าวด้วยกัน ก็จะพูดไปด้วยว่า “กิน” พอผู้ฝึกทำซ้ำ ๆ ผู้ป่วยก็จะเข้าใจคำพูดนั้นมากขึ้น หลังจากนั้นจะสามารถพูดคำว่า “กิน” ได้ระหว่างที่กำลังทานข้าว โดยเมื่อทำได้แล้วก็ให้พูดว่า “กินข้าว” โดยเพิ่มเป็นสองพยางค์ หรือต่อมาจะค่อย ๆ เพิ่มเป็นประโยคที่ยาวขึ้น เช่น “ตักข้าวกิน” สถานการณ์เหล่านี้จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจของผู้ป่วยด้วย
  4. ฝึกอ่านเขียน เริ่มตั้งแต่ทำความรู้จักตัวอักษร สระ วรรณยุกต์ตัวสะกด หลังจากนั้นให้อ่านสะกดคำ เช่น กอ อิ นอ กิน เป็นต้น การเขียน อาจเริ่มจากสิ่งที่คุ้นเคย เช่น เขียนชื่อของผู้ป่วย แต่ในผู้ป่วยสูงอายุที่ปกติไม่ค่อยได้ใช้การอ่านหรือการเขียน แพทย์อาจเน้นการฟังหรือการพูดมากกว่า

วิธีป้องกันภาวะบกพร่องทางการสื่อสาร

การป้องกันภาวะบกพร่องทางการสื่อสารสามารถทำได้โดยการรักษาโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และที่สำคัญ หากมีอาการเกิดขึ้นแบบฉับพลันควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที หรือหากคนรอบข้างมีการพูดคุยที่ผิดปกติดังที่กล่าวมา ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เช่นกัน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]