วัคซีนตามช่วงอายุ

วัคซีนที่เปิดให้บริการ

**หมายเหตุ: ราคาดังกล่าวเป็นราคาต่อ 1 เข็ม ยังไม่รวมค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ 100 บาท และค่าฉีดวัคซีน 30 บาท/เข็ม
**ราคาวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลง ณ วันที่ฉีด กรุณาตรวจสอบอีกครั้ง**

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมสื่อโปสเตอร์ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ ที่เปิดให้บริการ

วัคซีนนอกสถานที่

ติดต่อนัดหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และประสานงานนัดหมายวัคซีนนอกสถานที่
โทร. 02-849-6600 ต่อเบอร์ภายใน 1059 หรือ 2307
ในวันและเวลาทำการ

ช่องทางติดตามข่าวสารวัคซีน

LINE
ศูนย์วัคซีน

Facebook
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในวันและเวลาทำการ
โทร. 02-849-6600
ต่อเบอร์ภายใน 2307, 1059

ประเมินความเสี่ยงโควิด-19

ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19

รักษาตัวแบบ Home Isolation ว่าด้วยเรื่องบ้านและสิ่งที่ต้องทำ

การดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้าน หรือ Home isolation คือแนวทางสำคัญที่จะช่วยแบ่งเบาสถานการณ์เรื่องเตียงผู้ป่วยที่ไม่เพียงพออยู่ในตอนนี้ค่ะ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกขอเน้นย้ำอีกครั้ง เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่อาศัย และการปฏิบัติตัวของผู้ที่สามารถทำ Home isolation ได้ รวมถึงผู้ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การรักษาตัวที่บ้านเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัยต่อตนเองและคนรอบข้างมากที่สุดค่ะ  

เงื่อนไขสำคัญของผู้ที่สามารถทำ Home Isolation (แยกรักษาตัวที่บ้าน)

การดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้าน หรือ Home isolation กำลังเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยแบ่งเบาสถานการณ์เรื่องเตียงผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอ และการรักษาที่กำลังเข้าขั้นวิกฤต โดยเหมาะสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย การแยกรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วย COVID-19 มีเงื่อนไขสำคัญดังนี้ค่ะ ก่อนอื่น ขอเน้นย้ำเกี่ยวกับ Home isolation กันอีกครั้งนะคะ มาที่เงื่อนไขของผู้ที่สามารถทำ Home isolation ค่ะ ประกอบด้วย 1. ต้องมีอายุน้อยกว่า 60 ปี 2. เป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ 3. สุขภาพโดยรวมแข็งแรง ม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคอื่นตามดุลยพินิจของแพทย์ 4. ต้องไม่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวมากเกิน 90 กิโลกรัม 5. พักอาศัยคนเดียวที่บ้าน หรือมีที่พักอาศัยที่มีห้องแยกเพื่ออยู่คนเดียวได้ กรณีผู้ป่วยเด็ก ควรมีผู้ปกครองอย่างน้อย […]

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19)

    คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19)     คำแนะนำในการสังเกตอาการตนเอง – ให้สังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิและ oxygen saturation  ทุกวัน – หากมีอาการแย่ลง คือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เช่นหอบเหนื่อยไข้สูงลอยไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ – เมื่อจะต้องเดินทางไป โรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับไม่ใช้รถสาธารณะให้ทุกคนในรถใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทางหากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ   โรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการ ไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่ ดังนั้นผู้ที่เป็นโควิด-19 ที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นหลังจากนั้นอาจไม่ต้องแยกตัวเองแต่ แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัย ส่วนบุคคลเป็นพิเศษต่อจนครบ 1 เดือน   ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลหรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายสนิท อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเองเมื่อไม่แน่ใจสามารถโทรศัพท์ปรึกษาหรือเข้าไปรับการตรวจประเมินได้โดยติดต่อไปยังโรงพยาบาลก่อนจะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้   ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม “บ้านหรือที่พักอาศัยของผู้เป็นโควิด-19 […]

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19   โรคโควิด-19 (COVID-19) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่   ผู้ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการป่วยหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ อาการของโรค โควิด-19 มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้อาการที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น   ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็งโรคไตเรื้อรัง กลุ่มอาการดาวน์ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ระยะฟักตัวของโรค (ระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อ) ประมาณ […]

วิธีป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดต่อโควิด-19

การป้องกันตัวเองและสังคมจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นมาตรการที่ประชาชนทุกคนควรทำและให้ความร่วมมือ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมถึงลดการแพร่กระจายเชื้อในสังคม ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถทำได้ ดังนี้ การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การรักษาระยะห่างระหว่างตัวเองและผู้อื่น เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ ไม่ว่าจะได้สัมผัสเชื้อหรือไม่ ซึ่งรวมถึงการหลีกเลี่ยงการจับมือ เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกัน ควรอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร เลี่ยงไปในสถานที่แออัดหรือเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และสิ่งสำคัญที่สุดคือการพักอยู่บ้านหากรู้สึกไม่สบาย การเว้นระยะห่างทางสังคม จะช่วยชะลอการกระจายของไวรัส ซึ่งทำให้ทรัพยากรเพียงพอต่อผู้ที่จำเป็นต้องใช้ การล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หลังจากทำกิจกรรมต่างๆ สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด การเฝ้าระวังและสังเกตอาการตัวเองนั้น นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสแล้ว หากระหว่างสังเกตพบว่ามีอาการเข้าข่ายการติดเชื้อ ทำให้สามารถเข้ารับการตรวจและรักษาได้ทันท่วงทีอีกด้วย   มาตรการป้องกันการติดเชื้อไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ หรือประชาชนคนใดคนนึง แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำร่วมกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม   ที่มา: กรมควบคุมโรค