วัคซีนตามช่วงอายุ

วัคซีนที่เปิดให้บริการ

**หมายเหตุ: ราคาดังกล่าวเป็นราคาต่อ 1 เข็ม ยังไม่รวมค่าบริการผู้ป่วยนอก ในเวลาราชการ 100 บาท และค่าฉีดวัคซีน 30 บาท/เข็ม
**ราคาวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลง ณ วันที่ฉีด กรุณาตรวจสอบอีกครั้ง**

ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีน

รวมสื่อโปสเตอร์ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนต่างๆ ที่เปิดให้บริการ

วัคซีนนอกสถานที่

ติดต่อนัดหมาย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และประสานงานนัดหมายวัคซีนนอกสถานที่
โทร. 02-849-6600 ต่อเบอร์ภายใน 1059 หรือ 2307
ในวันและเวลาทำการ

ช่องทางติดตามข่าวสารวัคซีน

LINE
ศูนย์วัคซีน

Facebook
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ในวันและเวลาทำการ
โทร. 02-849-6600
ต่อเบอร์ภายใน 2307, 1059

ประเมินความเสี่ยงโควิด-19

ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19

หลังฉีดวัคซีนเด็ก ๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

โดย พญ.ปิยนันท์ โฆษิดาพันธุ์ (กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ) หลังฉีดวัคซีนเด็ก ๆ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร แนะนำให้งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลัง จากการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ทั้งโด๊สที่ 1 และ 2 ควรงดการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัคซีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บ แน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือ หายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืดเป็นลมควรรีบไปพบแพทย์โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติดตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โควิด-19 ในอนาคตต่อไป ในการให้คำแนะนำด้านการฉีดวัคซีนแก่เด็กและวัยรุ่น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จะมุ่งให้ เกิดประโยชน์แก่ตัวของเด็กและวัยรุ่น โดยชั่งน้ำหนักระหว่างผลเสียที่อาจเกิดขึ้น และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจาก วัคซีน ทั้งนี้จะให้น้ำหนักแก่ของความปลอดภัยแก่เด็กเป็นสิ่งสำคัญ […]

ปรับไลฟ์สไตล์หลังหายป่วยโควิด-19

การดูแลร่างกายหลังหายป่วยจากโรค COVID-19 เป็นเรื่องสำคัญมากนะคะ ซึ่งอาการข้างเคียงหลังจากหายก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการเชื้อลงปอดและรักษาจนหายดีแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ คือการดูแลสุขภาพตัวเองให้มากยิ่งขึ้น และอาจต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เพื่อค่อย ๆ ฟื้นฟูปอดและสภาพร่างกายให้แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ 

ทดสอบว่าเชื้อโควิดลงปอดหรือไม่

ภาวะเชื้อไวรัสลงปอด ถือเป็นปัญหาน่ากังวลของโรค COVID-19 สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวที่บ้าน หรืออยู่ในระหว่างการรอเตียงจากสถานพยาบาล การสังเกตตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ นะคะ หากมีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่า เชื้อไวรัสอาจลงปอดแล้ว วันนี้ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการตัวเองอย่างง่าย ๆ และการปฏิบัติตัวหากสงสัยว่าเชื้อเริ่มลงปอด เพื่อประคับประคองอาการได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงมือแพทย์ค่ะ ลองมาทดสอบตัวเองเบื้องต้นกันก่อนนะคะ ว่ามีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดหรือไม่ เลือกวิธีใดวิธีหนึ่งเลยค่ะ ทำง่าย ๆ ในห้องนอนของตัวเองได้เลย หากรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ หมายความว่าเชื้อไวรัสอาจลงปอดได้ค่ะ หากค่อนข้างแน่ใจว่าเชื้ออาจลงปอดแล้ว ให้รีบแจ้งสถานพยาบาล และจัดท่านอนในระหว่างรอเตียงในลักษณะดังนี้ค่ะ แนะนำว่าควรทานอาหารตามปกติ แม้อาจจะรู้สึกไม่ค่อยอยากทาน และอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันด้วยค่ะ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่าง ๆ อาจต้องสังเกตอาการตัวเองมากขึ้น และงดยาบางชนิด ทั้งนี้ อาจปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพิ่มเติมได้นะคะ ในภาวะออกซิเจนต่ำ หากปวดท้อง ต้องการถ่ายหนัก ห้ามเข้าห้องน้ำโดยลำพังและล็อกประตูเด็ดขาดนะคะ เพราะอาจเกิดภาวะหน้ามืดเป็นลมได้ ปลอดภัยที่สุดคือเตรียมอุปกรณ์ขับถ่ายไว้ใกล้ตัว อาจรู้สึกแปลก ๆ หน่อย แต่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้นค่ะ    

จัดการขยะติดเชื้ออย่างไรให้ปลอดภัยจากผู้อื่น

อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมากในช่วงเวลานี้ คือการทิ้งขยะ  โดยเฉพาะขยะติดเชื้อจากสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำมูก เสมหะ น้ำลาย หรือเลือด ไม่สามารถทิ้งรวมกับขยะทั่วไปได้ จึงไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาด เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อเจ้าหน้าที่จัดการขยะ ซึ่งขยะติดเชื้อจะต้องได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีค่ะ สำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาตัวแบบ Home isolation  ควรเคร่งครัดกับการทิ้งขยะที่ต้องแยกประเภทชัดเจน ใส่ถุงปิดปากให้มิดชิด และติดป้ายทำสัญลักษณ์บนถุงทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยค่ะ 

สิ่งจำเป็นขาดไม่ได้ของผู้ป่วย COVID-19 ที่รักษาตัวที่บ้าน

การรักษาตัวที่บ้าน หรือ Home isolation  นอกจากต้องระมัดระวังสูงสุดในทุกขั้นตอนแล้ว สิ่งของและอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมให้พร้อมเสมอก็สำคัญมากเช่นกันค่ะ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ ช่วยประเมินอาการและความเสี่ยงในระหว่างรักษาตัว หรือระหว่างรอเตียง ก่อนอื่น อย่าลืมแยกสิ่งของและของใช้ส่วนตัวทั้งหมดนะคะ เพื่อให้การรักษาตัวที่บ้านเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยค่ะ 

ใช้ห้องน้ำร่วมกันอย่างเคร่งครัด ป้องกันการแพร่เชื้อ COVID-19 ในบ้าน

การทำ Home isolation จำเป็นต้องระมัดระวังสูงสุดในทุกขั้นตอนนะคะ  เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อภายในครอบครัว โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้ป่วยโควิดอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ และมีความจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน  ตรงนี้ถือเป็นจุดเสี่ยงสูงสุดที่ต้องระมัดระวังและป้องกันอย่างเข้มงวด เพื่อให้การอยู่ร่วมกันระหว่างรักษาตัวเป็นไปอย่างปลอดภัยที่สุดค่ะ

การฝึกหายใจและขับเสมหะ

โรค COVID-19 ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง ดังนั้นผู้ที่มีภาวะการติดเชื้อทางเดินหายใจและปอด ควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยฝึกหายใจอย่างเหมาะสมควบคู่กันไปด้วยค่ะ เพื่อช่วยป้องกัน และบรรเทาภาวะการหายใจลำบาก และยังช่วยเรื่องการระบายเสมหะได้ดีขึ้นด้วย และนี่คือวิธีง่าย ๆ เบื้องต้นในการฝึกหายใจ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home isolation เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ค่ะ โดยวิธีนี้สามารถทำได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยเท่านั้นนะคะ การฝึกหายใจ • ฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก (Breathing control) โดยสูดลมหายใจเข้าทางจมูก และเป่าออกทางปาก สลับกันช้าๆ• ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม (Deep breathing exercise) วางมือตรงหน้าท้องและหน้าอก หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง เป่าลมออกทางปากท้องยุบ >ทำ 5 ครั้งต่อรอบ วันละ 3-4 ครั้ง การฝึกหายใจร่วมกับเพิ่มความเคลื่อนไหวของทรวงอก (Chest Trunk Mobilization)• ท่าที่ 1 ไขว้มือข้างหน้า สูดหายใจเข้าพร้อมกางแขนออกและยกแขนขึ้น หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปาก พร้อมลดแขนลง ทำช้า […]

อาหารแบบไหนเหมาะกับผู้ป่วย COVID-19 กรณี Home Isolation

การเลือกกินอาหารคือสิ่งสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพโดยตรงค่ะ โดยเฉพาะผู้ป่วย COVID-19 ยิ่งต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ สำหรับผู้ป่วยที่รักษาตัวโดยการทำ Home Isolation ที่บ้าน ญาติและผู้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย อาจต้องเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด และปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้การรักษาตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และกลับมาแข็งแรงได้โดยเร็วค่ะ

ตอบข้อสงสัย COVID-19 ในผู้ป่วยเด็ก

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัส COVID-19 ส่วนใหญ่จะพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แต่เด็กก็สามารถติด COVID-19 ด้วยเช่นกัน พ่อแม่ผู้ปกครองหลายท่านคงมีความกังวลเป็นอย่างมากเมื่อลูกน้อยติด COVID-19 ทางศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกจึงขอตอบข้อสงสัยเมื่อลูกน้อย ติด COVID-19 เพื่อให้ผู้ปกครองดูแลลูกน้อยของท่านให้ปลอดภัยต่อไปค่ะ

การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย COVID-19 ที่ทำ Home isolation ที่บ้าน

การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สำหรับผู้ที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วย COVID-19 ที่ทำ Home isolation ที่บ้านนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในเวลานี้ ศิริราช-กาญจนาจึงขอมาเน้นย้ำกับ “ข้อห้าม” ต่าง ๆ ที่สำคัญและต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัวค่ะ