• Home
  • Blog
  • ความรู้ COVID19
  • คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19)

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19)

ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

 

 

คำแนะนำการปฏิบัติการแยกตัวที่บ้าน (Home Isolation) สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 (COVID-19)

 

 

คำแนะนำในการสังเกตอาการตนเอง

– ให้สังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิและ oxygen saturation  ทุกวัน

หากมีอาการแย่ลง คือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้เช่นหอบเหนื่อยไข้สูงลอยไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ให้รีบโทรติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่

– เมื่อจะต้องเดินทางไป โรงพยาบาลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวหรือรถที่โรงพยาบาลมารับไม่ใช้รถสาธารณะให้ทุกคนในรถใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่เดินทางหากมีผู้ร่วมยานพาหนะมาด้วยให้เปิดหน้าต่างรถเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ

 

โรคโควิด-19

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลายของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการ ไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่ ดังนั้นผู้ที่เป็นโควิด-19 ที่ไม่ได้อยู่ในโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องแยกตัวเองจากผู้อื่นขณะอยู่ที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มป่วย เพื่อลดการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นหลังจากนั้นอาจไม่ต้องแยกตัวเองแต่ แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและระมัดระวังสุขอนามัย ส่วนบุคคลเป็นพิเศษต่อจนครบ 1 เดือน

 

ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลหรืออยู่โรงพยาบาลเพียงระยะสั้นๆ แล้วไปพักฟื้นต่อที่บ้านหรือสถานพักฟื้น ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการน้อยส่วนใหญ่จะค่อยๆ ดีขึ้นจนหายสนิท อย่างไรก็ตามในช่วงปลายสัปดาห์แรก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการมากขึ้นได้ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตนเองเมื่อไม่แน่ใจสามารถโทรศัพท์ปรึกษาหรือเข้าไปรับการตรวจประเมินได้โดยติดต่อไปยังโรงพยาบาลก่อนจะทำให้ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมได้

 

ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมาะสม

“บ้านหรือที่พักอาศัยของผู้เป็นโควิด-19 ในช่วงที่ต้องแยกตัวควรจะต้องมีลักษณะดังนี้  มิฉะนั้นอาจต้องหาสถานที่อื่นที่เหมาะสม

 

– มีผู้จัดหาอาหารและของใช้จำเป็นให้ได้ไม่ต้องออกไปจัดหานอกบ้านด้วยตนเอง

– อยู่อาศัยตามลำพังหรือ ร่วมกับผู้อื่นโดยมีห้องส่วนตัว

– ผู้ที่อยู่อาศัยร่วมบ้านสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเรื่องสุขอนามัยและการแยกจากผู้ป่วยได้

– สามารถติดต่อกับโรงพยาบาลได้และเดินทางมาโรงพยาบาลได้สะดวก

 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระหว่างแยกตัวควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดดังนี้

  1. ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยมที่บ้านระหว่างแยกตัวและงดการออกจากบ้าน
  2. อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในที่พักอาศัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ หากยังมีอาการไอ จาม ต้องสวมหน้ากากอนามัย แม้ขณะอยู่ในห้องส่วนตัว โดยแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยไม่ให้ใช้หน้ากากผ้า
  3. หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่นต้องสวมหน้ากากอนามัยได้อยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร หรือประมาณ 1 ช่วงแขนหากไอ จาม ไม่ควรเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ห่างอย่างน้อย 2 เมตรและให้หันหน้าไปยังทิศทางตรงข้ามกับตำแหน่งที่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
  4. หากไอจาม ขณะที่สวมหน้ากากอนามัยไม่ต้องเอามือมาปิดปากและไม่ต้องถอดหน้ากากอนามัยออกเนื่องจากมืออาจเปรอะเปื้อน หาก ไอ จาม ขณะที่ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก
  5. ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ (หากมือเปรอะเปื้อนให้ล้างด้วยสบู่และน้ำ)​ โดยเฉพาะภายหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ขณะไอ จาม หรือหลังจากถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ และก่อนสัมผัสจุดเสี่ยงที่มีผู้อื่นในบ้านใช้ร่วมกัน เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได มือจับตู้เย็น ฯลฯ
  6. กรณีที่เป็นมารดาให้นมบุตร ยังสามารถให้นมบุตรได้ เนื่องจากยังไม่มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่มารดาควรสวมหน้ากากอนามัย และล้างมืออย่างเคร่งครัดทุกครั้ง ก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
  7. ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ให้ใช้เป็นคนสุดท้าย ให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ
  8. การทำความสะอาดห้องน้ำและพื้นผิว ควรทำความสะอาดโถสุขภัณฑ์หรือพื้นที่ที่อาจปนเปื้อนเสมหะ น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ หรือสารคัดหลั่งด้วยน้ำและน้ำยาฟอกผ้าขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (เช่น ไฮเตอร์, คลอรอกซ์)​โดยใช้ 5% โซเดียมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อน้ำ 99 ส่วน หรือ 0.5% (น้ำยาฟอกขาว 1 ส่วน ต่อ น้ำ 9 ส่วน)​
  9. แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ด ตัวโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์
  10. ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรให้ผู้อื่นจัดหาอาหารมาให้แล้วแยกรับประทานคนเดียว ถ้าเป็นอาหารที่สั่งมาและต้องเป็นผู้รับอาหารนั้น ควรให้ผู้ส่งอาหารวางอาหารไว้ ณ จุดที่สะดวกแล้วไปนำอาหารเข้าบ้าน ไม่รับอาหารโดยตรงจากผู้ส่งอาหาร
  11. ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่หรือผงซักฟอกตามปกติ หากใช้เครื่องซักผ้าให้ใช้ผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มได้
  12. การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วและขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งขยะที่ฝาปิดมิดชิด ทำความสะอาดมือด้วยอลกอฮอล์ หรือน้ำ และสบู่ทันที

 

การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน

  1. ทุกคนในบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย
  2. ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน หรือมีการปนเปื้อน รวมถึงล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ความเข้มข้นอย่างน้อย 70 %
  3. เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิด หรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วันหลังสัมผัสผู้ป่วย
  4. ควรนอนแยกห้องกับผู้ป่วย
  5. ไม่รับประทานอาหารและใช้ของส่วนตัวร่วมกัน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]