ทดสอบว่าเชื้อโควิดลงปอดหรือไม่

ความรู้ COVID19   ลงวันที่

ภาวะเชื้อไวรัสลงปอด ถือเป็นปัญหาน่ากังวลของโรค COVID-19 สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรักษาตัวที่บ้าน หรืออยู่ในระหว่างการรอเตียงจากสถานพยาบาล 😷 การสังเกตตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ นะคะ หากมีอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเลยว่า เชื้อไวรัสอาจลงปอดแล้ว วันนี้ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีสังเกตอาการตัวเองอย่างง่าย ๆ และการปฏิบัติตัวหากสงสัยว่าเชื้อเริ่มลงปอด เพื่อประคับประคองอาการได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงมือแพทย์ค่ะ

ลองมาทดสอบตัวเองเบื้องต้นกันก่อนนะคะ ว่ามีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดหรือไม่

เลือกวิธีใดวิธีหนึ่งเลยค่ะ ทำง่าย ๆ ในห้องนอนของตัวเองได้เลย หากรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ หมายความว่าเชื้อไวรัสอาจลงปอดได้ค่ะ

หากค่อนข้างแน่ใจว่าเชื้ออาจลงปอดแล้ว ให้รีบแจ้งสถานพยาบาล และจัดท่านอนในระหว่างรอเตียงในลักษณะดังนี้ค่ะ

แนะนำว่าควรทานอาหารตามปกติ แม้อาจจะรู้สึกไม่ค่อยอยากทาน และอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันด้วยค่ะ

สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและต้องกินยาต่าง ๆ อาจต้องสังเกตอาการตัวเองมากขึ้น และงดยาบางชนิด ทั้งนี้ อาจปรึกษาแพทย์ที่ดูแลเพิ่มเติมได้นะคะ

ในภาวะออกซิเจนต่ำ หากปวดท้อง ต้องการถ่ายหนัก ห้ามเข้าห้องน้ำโดยลำพังและล็อกประตูเด็ดขาดนะคะ เพราะอาจเกิดภาวะหน้ามืดเป็นลมได้ ปลอดภัยที่สุดคือเตรียมอุปกรณ์ขับถ่ายไว้ใกล้ตัว อาจรู้สึกแปลก ๆ หน่อย แต่ช่วยให้ปลอดภัยขึ้นค่ะ

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกรณีทารกเกิดจากมารดาที่เป็น COVID-19 และ PUI ที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางนมแม่ และองค์กรทางสาธารณสุขต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถให้น้ำนมแม่แก่ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ COVID -19 ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร สถานที่  และครุภัณฑ์ในการเก็บตุนน้ำนม ตลอดจนความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสขณะขนส่งน้ำนมจากมารดามายังทารก ดังนั้นทารกจะได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเท่านั้น   สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแนะนำมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) ปั๊มน้ำนมทิ้งจนกว่าจะทราบผลตรวจเป็น Undetectable และ ในมารดาที่ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ปั๊มนมทิ้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นให้นั้นนมแม่แก่ทารกได้ตามปกติ   หากมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) หรือยืนยันการติด COVID-19 มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะเก็บตุนน้ำนมได้และยืนยันจะเก็บตุนนม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการปฏิบัติของกรมอนามัย […]

วัคซีนcovid-19 ในหญิงตั้งครรภ์ /ให้นมบุตร

โดย พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)        เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก พบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกร่วมด้วย  การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงของวัคซีน โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และหญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ ซึ่งวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันได้แก่ Sinovac และ Astraseneca  ในอนาคตที่มีการนำเข้าวัคซีน mRNA ได้แก่ pfizer และ  moderna จากการศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่พบรายงานภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และพบระดับภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในอนาคต ควรติดตามข่าวสารหรือสอบถามแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรับวัคซีน