หนูน้อยภูมิแพ้…กับการดูแลสุขภาพในหน้าหนาว

ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้แนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย จากการศึกษาในเด็กนั้น โรคภูมิแพ้ถือจัดเป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับเด็กในอันดับต้นๆ โดยเด็กหลายคนมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้และอาการจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก ถ้าพ่อหรือแม่มีประสัติการเป็นภูมิแพ้มาก่อน ซึ่งโรคภูมิแพ้จะส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจและด้านคุณภาพชีวิตของตัวเด็กเองและของผู้ปกครองอีกด้วย

โรคภูมิแพ้ในเด็ก แบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

1. โรคแพ้อาหาร

พบได้ตั้งแต่อายุน้อย โดยอาหารที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้มากที่สุด ได้แก่ นมวัว นมถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี ไข่ และอาหารทะเล

2. โรคผิวหนังอักเสบจากภูิมแพ้

เป็นโรคที่มีอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง โดยตำแหน่งของผื่นมักขึ้นอยู่กับช่วงอายุ

  • ระยะเด็กเล็ก  ผื่นมักจะพบที่แก้ม หน้าผาก หนังศีรษะ ข้อศอก หัวเข่า
  • ระยะเด็กโต  พบผื่นที่บริเวณข้อพับแขน ขา ข้อเท้า รวมถึงมือและเท้า
  • ระยะผู้ใหญ่  พบผื่นที่ข้อพับ หน้า คอ มือและเท้า

* ผู้ป่วยจะมีผื่นคันมากขึ้นเมื่อได้รับสิ่งกระตุ้น ซึ่งโดยทั่วไปในเด็กเล็กสิ่งที่กระตุ้น คือ “อาหารที่แพ้”

3. โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้

ผู้ป่วยที่มีอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล และแน่นจมูก โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการมากในช่วงเช้าหรือเมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้

4. โรคหอบหืด

ถ้าเป็นไม่มาก อาจเริ่มมีอาการไอในช่วงกลางคืน เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายแล้วเหนื่อย และถ้ายิ่งได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ หรือ สารระคายเคืองต่างๆ จะทำให้มีอาการหอบหืด หายใจดังเสียงวี้ดๆ

* โดยทั่วไปเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ชนดใดชนิดหนึ่งจะมีโอกาสสูงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่นร่วมด้วย

ในช่วงอากาศหนาวๆ อย่างนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการภูมิแพ้ต่างๆ จะกำเริบซะแล้ว มีวิธีสังเกตดังนี้

  • อาการแพ้ทางผิวหนัง ผิวจะแห้งมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการคัน เด็กจะเกาจนส่งผลให้ลุกลามมากขึ้น
  • จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ จะเป็นหวัดมากขึ้น มีอาการจาม น้ำมูกไหล คันจมูกและคัดจมูก ซึ่งอาการเหล่านี้พบได้ในเด็กที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว และหากติดเชื้อซ้ำเติมก็จะทำให้มีอาการเพิ่มมากขึ้น จนอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ไซนัสอักเสบ หูอักเสบได้
  • โรคหอบหืด นอกจากจะเป็นหวัดง่าย  และกระตุ้นให้เกิดอาการหอบแล้ว ในกลุ่มที่มีอาการหอบสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย จะมีอาการได้ง่ายขึ้นในช่วงอากาศเย็นด้วย อาการที่สังเกตได้ คือ ไอช่วงกลางคืน หรือไอภายหลังจากออกกำลังกาย บางครั้งอาจหายใจมีเสียงวี้ดๆ และมีอาการหอบ

โรคภูมิแพ้ทุกชนิดเราป้องกันไม่ให้อาการมากขึ้นในฤดูหนาวโดย

  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะกลุ่มเชื้อรา โดยปิดหน้าต่างเมื่อมีลมแรง หมั่น กำจัดใบไม้ร่วงที่ทับถมบนพื้นดิน รวมถึงเศษหญ้าชื้นแฉะในสนามทั่วไป และควรสวมหน้ากาก ถ้าต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงกับการฟุ้งกระจายของเชื้อรา เช่น กวาดใบไม้หรือดูดฝุ่น ส่วนที่แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดอื่น ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่แพ้อย่างเคร่งครัด
  2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการหวัด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้ร่างกายอบอุ่น
  3. ควรใช้ยาควบคุมอาการเป็นประจำและสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยาในช่วงนี้ สำหรับการดูแลเฉพาะโรคนั้นอาจมีเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ได้แก่
    • โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้  ควรดูแลไม่ให้ผิวแห้ง โดยหมั่นทาโลชั่นทุกวัน เช้า – เย็น
    • โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  ถ้าเริ่มมีน้ำมูกควรล้างจมูกทุกวัน
    • โรคหอบหืด ก่อนออกกำลังกาย ควรมีการอบอุ่นร่ากายเสมอ และในรายที่มีอาการหอบในช่วงออกกำลังกาย อาจป้องกันโดยชใช้ ยาพ่นขยายหลอดลม ก่อนออกกำลังกายประมาณ 15-30 นาที และควรพกยาขยายหลอดลมติดตัวเสมอ

* ที่สำคัญ ผู้ป่วยภูมิแพ้ทุกชนิด หากสังเกตว่าร่างกายเริ่มมีอาการผิดปกติมากขึ้นแล้ว ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

โดยทั่วไป สารก่อภูมิแพ้ที่เป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้นั้น พบว่า “ไรฝุ่น” เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยที่สุดในเด็กไทย มีผลการวินิจฉัยพบว่าไรฝั่นมักจะเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส จึงทำให้พบไรฝั่นตามที่นอน หมอน ผ้าห่ม รวมถึงตุ๊กตาที่อยู่บนเตียงนอน ถึงแม้ว่ายังไม่เคยมีการศึกษาว่าตุ๊กตาขนปุยจะมีฝุ่นสะสมมากกว่าตุ๊กตาจากผ้าชนิดอื่นๆ หรือไม่ แต่การที่มีขนปุยนั้น ก็น่าจะเป็นแหล่งสะสมของไรฝั่นได้ง่ายกว่า และทางที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่แพ้ไรฝุ่น ควรหลีกเลี่ยงตุ๊กตาทุกชนิด

อย่างไรก็ตาม โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในตัวโรค และมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักาานอกจากจะใช้ยาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังจะต้องกำจัดสิ่งกระตุ้นซึ่งการรักษานอกจากจะเป็นการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังจะต้องกำจัดสิ่งกระตุ้น รวมถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมอาการของโรคได้ และยิ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกมีอาการภูมิแพ้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งจะเป็นผลดีกับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น เพราะจะได้หาวิทธีป้องกัน ซึ่งจะช่วยลดการขาดเรียนและการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยๆ ของคุณหนูๆ ได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดการลางานของคุณพ่อคุณแม่เองอีกด้วยค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]