• Home
  • Blog
  • ความรู้ทั่วไป
  • วิธีการล้างและการเลือกซื้อผักและผลไม้ ให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง

วิธีการล้างและการเลือกซื้อผักและผลไม้ ให้ปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ ใยอาหารและสารพฤกษเคมีต่างๆ แม้ว่าผักและผลไม้จะเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคกังวลก็คือสารเคมีกำจัดแมลงที่ตกค้างอยู่ในผักและผลไม้ สารพิษนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดไม่สามารถคาดคะเนด้วยสายตาได้ ซึ่งการได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายอาจก่อให้เกิดโทษและโรคร้ายแรงได้ ดังนั้น เราควรรู้จักวิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้ รวมถึงวิธีการล้างให้ปลอดภัยจากการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

วิธีการเลือกซื้อผักและผลไม้ ให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้าง

มีดังนี้

  • เลือกซื้อผักและผลไม้ที่มีสีสันตามธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด ไม่มีคราบดินหรือคราบสีขาวของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่มีจุดราดำหรือเชื้อราต่างๆ รวมถึงกลิ่นที่ฉุนผิดปกติ
  • เลือกซื้อผักสดที่มีรูเจาะ มีรอยกัดแทะของหนอนหรือแมลงอยู่บ้าง หรือควรเลือกผักและผลไม้ที่มีตัวหนอนอยู่บ้าง หรือมีแมลงเดินอยู่เล็กน้อย เช่น มด เพลี้ย เป็นต้น เพราะเนื่องจากในปัจจุบันมีการทำรอยสัตว์กัดแทะ หนอนเจาะเทียม โดยการนำเอาทรายร้อนๆไปกลิ้งบนกระทะ จากนั้นนำสาดใส่ผัก ให้มีลักษณะเหมือนรอยเจาะของหนอน นั่นเอง
  • ถ้าเป็นผักและผลไม้ในห้างสรรพสินค้า ควรเลือกซื้อที่มีการแสดงฉลากที่ถูกต้อง เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของผักและผลไม้ได้ เช่น ตรวจสอบจากเลขสถานที่ผลิต หรือนำเข้าอาหารได้
  • เลือกซื้อผักและผลไม้ตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมีและปุ๋ยลง
  • เลือกซื้อผักพื้นบ้าน ตามถิ่นที่อยู่อาศัยนั้นๆ หรือกินผักที่ปลูกเองได้ง่ายๆ เช่น กะเพรา ผักชี ผักบุ้ง ต้นหอม เป็นต้น
  • ไม่ซื้อผักชนิดใดชนิดหนึ่งมากินเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษหรือสารเคมีสะสม
  • บริโภคผักและผลไม้ที่ได้รับการรับรองจากทางราชการ เช่น ตลาดเกษตรกรประจำจังหวัด ตลาดผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ และตลาดสดที่มีการตรวจจากเจ้าหน้าที่ทางราชการเป็นประจำ เป็นต้น เนื่องจากมีการควบคุมการใช้สารเคมีไม่ให้มากเกินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

นอกจากเทคนิคเลือกซื้อแล้ว การล้างผักและผลไม้สดก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยลดการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงได้

 

5 วิธี การล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารตกค้างของสารเคมีและยาฆ่าแมลง

วิธีที่ 1 การใช้ผงฟู (baking soda)

  • ใช้ผงฟู (baking soda) ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ 1 กะละมัง หรือ ปริมาตร 20 ลิตร
  • แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 15 นาที
  • ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
  • วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 80 – 95%

 

วิธีที่ 2 การใช้น้ำไหลผ่าน

  • เด็ดผักออกเป็นใบๆ
  • ล้างด้วยน้ำสะอาดไหลผ่านอย่างต่อเนื่อง และใช้มือถูเบาๆ
  • วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 54 – 63%

 

วิธีที่ 3 การใช้ด่างทับทิม

  • ใช้ด่างทับทิมปริมาณ 20 – 30 เกล็ด ละลายในน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร
  • แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
  • ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
  • วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 35 – 45%

 

วิธีที่ 4 การใช้น้ำส้มสายชู

 

  • ใช้น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร
  • แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
  • ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
  • วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 29 – 38%

วิธีที่ 5 การใช้เกลือ

 

  • ใช้เกลือป่นปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุณหภูมิปกติ ปริมาตร 4 ลิตร
  • แช่ผักและผลไม้ทิ้งไว้ เป็นระยะเวลา 10 นาที
  • ล้างผักและผลไม้ออกด้วยน้ำสะอาด
  • วิธีนี้จะช่วยลดปริมาณสารเคมีตกค้างได้ 27 – 38%

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]