วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ

วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ

พญ. เมธาวี อุฬารวงศ์ (สูตินารีแพทย์)

            ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆหลายชนิด สำหรับวัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับในช่วงที่ฝากครรภ์ เพื่อป้องการอันตรายของมารดา และทารกในครรภ์ ประกอบด้วย

1. วัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (TdaP, Tdap) หรือ วัคซีนป้องกันไอกรนชนิดเดี่ยว (acellular Pertussis; aP)

โรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน เป็นโรคติดเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะไอกรนที่ทารกมักจะติดเชื้อจากมารดาหรือคนในครอบครัว มีคำแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนรวมป้องกันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Tdap, TdaP) หรือ วัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดเดี่ยว (aP) ในช่วงอายุครรภ์ 27 ถึง 36 สัปดาห์ หากเคยได้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (tetanus vaccine) ครบถ้วนในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี

ดังนั้น แพทย์มักแนะนำวัคซีนดังกล่าวให้กับคุณแม่ที่มาฝากครรภ์ในช่วงท้ายไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 โดยฉีดจำนวน 1 เข็ม ทั้งนี้ หากคุณแม่มีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักไม่ครบถ้วน แพทย์จะพิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยักชนิดเดี่ยวเพิ่มเป็นรายๆค่ะ

2. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนสายพันธุ์อย่างสม่ำเสมอทุกปี และก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากกว่าในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจทำให้ปอดบวม มีภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 1 เข็ม ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง และแนะนำที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 14 สัปดาห์เป็นต้นไป

3. วัคซีนป้องกัน COVID-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีการแพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2019 โรคนี้ก่อให้เกิดอาการของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักรุนแรงกว่าในผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เหมาะสม นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด

ในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในหญิงตั้งครรภ์ทุกราย โดยสามารถฉีดได้ทุกอายุครรภ์ หรือเริ่มฉีดที่อายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดคือ mRNA vaccines ได้แก่ Pfizer และ Moderna ค่ะ

 

โดยทั่วไป สูติแพทย์จะแนะนำการฉีดวัคซีนที่จำเป็นสำหรับอายุครรภ์เหมาะสมเมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลค่ะ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีบริการคลินิกรับการฝากครรภ์และบริการฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ โดยเปิดรับฝากครรภ์ทุกวัน จันทร์ อังคาร และศุกร์ เวลา 09.00-15.00 น.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกรับฝากครรภ์ (ANC)

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]