กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง

กินอย่างไรเมื่อเป็นมะเร็ง

โดย นพ. วรเศรษฐ์ สายฝน

Q: อาหารในผู้ป่วยมะเร็งสำคัญอย่างไร ?

A: การรักษามะเร็ง ทั้งการผ่าตัด ฉายแสง หรือการใช้ยา มักมีการอักเสบหรือการสูญเสียเนื้อเยื่อเกิดขึ้น ผู้ป่วยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย ผู้ป่วยที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจส่งผลให้ร่างกายฟื้นตัวช้าและทำให้การรักษามะเร็งไม่ได้ผลที่ดีตามควร ดังนั้นอาหารจึงเป็นส่วนเสริมที่สำคัญเพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถรับการรักษามะเร็งจนครบได้

Q: อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยมะเร็งควรกิน ?

A: ควรกินอาหาร

  • สุก สะอาด มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่

เน้นโปรตีนทั้งจากพืช และสัตว์

  • ผัก ผลไม้ ต้องปอกเปลือกและล้างให้สะอาด
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

Q: อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง ?

A: หลีกเลี่ยง

  • อาหารหมักดอง อาหารไม่สด ไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน
  • ในช่วงได้รับการรักษา งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบางที่กินทั้งเปลือก เช่น องุ่น ชมพู่
  • เลิกแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่

Q: ผู้ป่วยมะเร็งกินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ ?

A:  

  • ความเชื่อที่ว่าการกินเนื้อสัตว์ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากมะเร็งไม่ได้เลือกว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ เนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน  ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ไม่ติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด
  • ผู้ป่วยสามารถกินอาหารทะเลที่ปรุงสุกแล้วได้
  • ผู้ป่วยที่กินมังสวิรัติ ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นม เพิ่มเติม

Q: จริงหรือไม่ว่าการกิน เต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว ?

A:  เต้าหู้ น้ำมะพร้าว มีสาร phytoestrogen ในปริมาณน้อย ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้

Q: จะทราบได้อย่างไรว่าระหว่างได้รับการรักษากินอาหารได้เพียงพอ ?

A:

  • หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนได้เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยไม่ควรจะลดลงระหว่างการรักษา
  • มีการศึกษาชัดเจนว่าการที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักลดลง จะส่งผลเสียต่อการรักษา ดังนั้น หากผู้ป่วยไม่สามารถกินอาหารได้เพียงพอ แนะนำให้กินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกโรคมะเร็ง

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2632-2633

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]