คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสัญญี

โดย พญ. พิมพ์สิริ ตั้งกิจโชติ วิสัญญีแพทย์

1.ถ้าผู้ป่วยใช้กัญชาต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ตอบ : กัญชามีผลต่อยาระงับความรู้สึกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด ทั้งในระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ และการควบคุมอุณหภูมิกาย ควรแจ้งแพทย์ถ้าใช้กัญชา และต้องงดการใช้กัญชา 72 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

2.ทำไมถึงต้องงดทาเล็บเมื่อมาระงับความรู้สึก

ตอบ : ระหว่างระงับความรู้สึกต้องมีการตรวจวัดค่าออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วย โดยวิธียิงแสงผ่านปลายนิ้ว ซึ่งการทาเล็บทำให้การวัดค่าออกซิเจนคลาดเคลื่อน

3.การงดน้ำงดอาหารก่อนให้การระงับความรู้สึก งดอย่างไร งดกี่ชั่วโมง

ตอบ :

1.งดอาหารมื้อหลัก เช่น ข้าวผัด 8 ชั่วโมง

2.งดอาหารมื้อเบา เช่น โจ๊ก และเครื่องดื่มที่ผสมนมหรือมีกากใย 6 ชั่วโมง

3.งดนมแม่ 4 ชั่วโมง

4.งดน้ำเปล่าและเครื่องดื่มใส ไม่มีกากใย 2 ชั่วโมง

4.ยาสมุนไพรอะไรบ้างที่ต้องงดก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : น้ำมันปลา(fish oil), วิตามินอี, กระเทียม ,โสม ,ขิง ,แปะก๊วย ต้องงดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพราะมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยควรนำยารวมไปถึงสมุนไพรที่ทานมาให้วิสัญญีแพทย์และแพทย์ผ่าตัดดูเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

5.ต้องเตรียมตัวอะไรบ้างก่อนมาผ่าตัด

ตอบ : ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และทำให้จิตใจให้ผ่อนคลายค่ะ

6.ถ้าเข้ารับการผ่าตัดที่ไม่ต้องดมยาสลบ ทำไมต้องงดน้ำงดอาหารด้วย

ตอบ : การระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนอาจทำให้ไม่สมบูรณ์ หรือการผ่าตัดอาจจะยากและนาน ทำให้ยาชาหมดฤทธิ์ไปก่อน จึงต้องเปลี่ยนวิธีระงับความรู้สึกไปเป็นแบบดมยาสลบ รวมไปถึงหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นระหว่างการผ่าตัด และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการสูดสำลักอาหารเข้าปอดหากไม่ได้งดน้ำงดอาหาร

7.ระหว่างดมยาสลบมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ตอบ : ในขณะที่มีการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะอยู่กับคนไข้ตลอดเวลา เพื่อให้คนไข้ไม่รู้สึกตัวระหว่างผ่าตัดและไม่เจ็บปวด รวมถึงเฝ้าระวังสัญญาณชีพต่าง ๆ ให้ปกติ จนเสร็จสิ้นการผ่าตัด

8.ระหว่างที่ดมยาสลบจะมีตื่นขึ้นมาเจ็บปวดระหว่างผ่าตัดหรือไม่

ตอบ : แทบเป็นไปไม่ได้เลย ขณะดมยาสลบมีวิสัญญีแพทย์หรือพยาบาลดูแลตลอดเวลา กรณีที่อาจเจอตามข่าวหรือที่ต่างประเทศ อาจจะเจอบ้างในกรณีพิเศษ เช่น คนไข้มีการเสียเลือดเยอะ ความดันต่ำ หรือหัวใจหยุดเต้นทำให้ต้องลดระดับการสลบลง เพื่อรักษาชีวิต วิสัญญีแพทย์จะต้องดูแลชีวิตเป็นสำคัญ ตรงนี้ผู้ป่วยอาจรู้สึกตัวขึ้นมาในช่วงของการช่วยเหลือชีวิต

9.กลัวว่าดมยาสลบไปแล้วจะไม่ฟื้น

ตอบ : ตื่นค่ะ พอหมอผ่าตัดผ่าเสร็จ ปิดแผล ทางวิสัญญีจะปลุกคนไข้ตื่น คนไข้จะตื่นและทำตามคำสั่งได้ แต่คนไข้อาจจะจำไม่ได้ มาจำได้อีกทีที่ห้องพักฟื้นหรือที่หอผู้ป่วย

10.หลังผ่าตัดเสร็จกลับบ้านได้เลยหรือไม่

ตอบ : ขึ้นอยู่กับชนิดการผ่าตัดที่คนไข้ได้รับ ปัจจุบันมีการผ่าตัดที่สามารถทำแล้วกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การผ่าตัดไส้เลื่อนที่ขาหนีบ และการผ่าตัดรักษากระดูกหักที่ข้อมือ เป็นต้น เนื่องจากมีการพัฒนาเรื่องยาที่ใช้ในการระงับความรู้สึก ยาแก้ปวด เทคนิคในการระงับความรู้สึกแบบเฉพาะส่วน(บล็อกเส้นประสาท) และเทคนิคในการผ่าตัด

11.สามารถขับรถกลับบ้านเองได้หรือไม่หลังผ่าตัดและได้ยาระงับความรู้สึก

ตอบ : เพื่อความปลอดภัยควรงดขับรถภายใน 24 ชั่วโมงหลังระงับความรู้สึก เนื่องจากอาจมีฤทธิ์ของยาสลบตกค้างอยู่ ต้องมีผู้ติดตามพากลับบ้าน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 28

GJ E-Magazine ฉบับที่ 28 (เดือนกรกฎาคม 2567) “โรคผิวหนัง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่  

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่