สมุนไพร(สตรี)วัยทอง

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

สตรีวัยทอง มักพบในช่วงอายุ 45-55 ปี(1) มักเป็นช่วงใกล้หมดประจำเดือน, ช่วงที่ไม่มีประจำเดือนต่อเนื่องกัน 1 ปี หรือพบได้ในสตรีที่มีการผ่าตัดรังไข่ออกไปทั้งสองข้าง ทำให้สตรีวัยทองเกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ฉะนั้นหากประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังเข้าสู่วัยทอง

ในทางแพทย์แผนไทยเมื่อเข้าสู่ช่วงปัจฉิมวัย คือวัยช่วงอายุ 32 ปีเป็นต้นไป (ตามคัมภีร์เวชศาสตร์) จะเป็นช่วงวัยที่มีธาตุลมในร่างกายเด่น ควรระมัดระวังไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลของธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เพราะอาจทำให้ธาตุลมในร่างกายถูกกระทบได้ง่าย และเกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ในทางแผนไทยจึงมีคำเรียกว่า “เลือดจะไป ลมจะมา” แปลความหมายได้ว่า

“เลือดจะไป” คือ ต่อมโลหิตระดูจะไม่ทำงานได้เหมือนเดิม หมายถึงการหมดประจำเดือน

“ลมจะมา” ช่วงวัยเปลี่ยน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีธาตุลมเป็นหลัก ซึ่งลมในร่างกายจะถูกกระทบได้ง่าย หากธาตุเสียสมดุล จะมีอาการแตกต่างกันไป ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ(ขี้หนาวขี้ร้อน) ท้องอืด ท้องผูก ผิวแห้งและคัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอนไม่หลับ มีการเปลี่ยนสภาพทางจิตใจ เช่น โมโหง่าย ซึมเศร้า ขี้ลืม ใจน้อย เป็นต้น

อาหาร และสมุนไพรที่เหมาะกับสตรีวัยทอง ได้แก่

 

1. น้ำมันมะพร้าว

ผิวหนังอาจแห้ง และคัน เมื่อฮอร์โมนเพศลดลง(2) สามารถบำรุงผิวด้วยสมุนไพร เช่น ทาน้ำมันมะพร้าวหลังการอาบน้ำ หรือใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ลดอาการคันที่ผิวหนัง เช่น สบู่ขมิ้นชัน สบู่เหงือกปลาหมอ

2. พืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน

เนื่องจากฮอร์โมนเพศลดลง ทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้ไม่ดีพอ ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ โดยเฉพาะกลางคืน ดังนั้นควรรับประทานพืชที่มีไฟโตรเอสโตรเจน ซึ่งคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสารไอโซฟลาโวน(isoflavone) จะช่วยทำให้อาการร้อบวูบวาบลดลง(3) เช่น เต้าหู้เหลือง เต้าเจี้ยว งา แครอท น้ำมะพร้าว

3. เครื่องดื่มสมุนไพรบำรุงร่างกาย

เครื่องดื่มสมุนไพรบำรุงร่างกาย เช่น น้ำใบเตย น้ำมะตูม น้ำฝาง ชาเกสรบัวหลวง

หรือเครื่องดื่มรสเผ็ดร้อนเพื่อทำให้ธาตุลมในร่างกายเดินได้สะดวก เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้

4. สมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง

เมื่อเข้าสู่วัยทอง โดยเฉพาะช่วงหมดประจำเดือนไปหลายปี จำมีโอกาสเสี่ยงเรื่องกระดูกบาง ดั้งนั้นควรรับประทานสมุนไพรที่มีแคลเซียมสูง เช่น ยอดแค ยอดใบขี้เหล็ก ยอดสะเดา ผักคะน้า ผักแพว ตำลึง

ยาสมุนไพร

ยาสมุนไพร ที่ช่วยปรับเลือดลม เช่น

ยาหอม

(แหล่งภาพจากบริษัทเจริญสุข ฟาร์มาซัพพลาย จำกัด)

มีสรรพคุณหลัก ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ววิงเวียน ช่วยให้เลือดลมไหวเวียนดีขึ้น ได้แก่

  1. ยาหอมเทพจิตร แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ หมายถึง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น(4)
  2. ยาหอมนวโกฐ แก้ลมวิงเวียน แก้คลื่นไส้ อาเจียน(ลมจุกแน่นในอก) ในผู้สูงอายุ(4)(5)
  3. ยาหอมอินทจักร์ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมจุกเสียด(4)(5)

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้
  • หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาหอมต่อเนื่องกันนานเกิน 5 วัน

 

ยาบำรุงเลือด

(แหล่งภาพจากบริษัทเจริญสุข ฟาร์มาซัพพลาย จำกัด)

มีสรรพคุณ บำรุงเลือด ฟอกเลือด เช่น ยาเลือดงาม, ยาบำรุงเลือด

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้ หรือผู้มีไข้
  • ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์

***หมายเหตุ การใช้ยาเป็นเพียงการบรรเทาอาการเบื้องต้น หากสนใจควรปรึกษาแพทย์แผนไทยทุกครั้ง

 

อ้างอิง

  1. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. (2559) สตรีวัยทอง วัยแห่งคุณค่า [เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ]. ค้นหาเมื่อ 24 มีนาคม 2563, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/490_49_1.pdf
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาการุณย์. ศูนย์นรีเวชวิทยา. (ไม่ปรากฏปี). วัยทองกำลังมา เช็คให้ดีคุณเข้าข่ายหรือยัง? (Menopause). [บทความเผยแพร่ทางวิชาการ]. ค้นหาเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/490_49_1.pdf
  3. 3. Franco OH, Chowdhury R, Troup J, Voortman T, Kunutsor S, Kavousi M, Oliver-Williams C, Muka T (June 2016). “Use of Plant-Based Therapies and Menopausal Symptoms: A Systematic Review and Meta-analysis”. JAMA. 315 (23): 2554–63. doi:1001/jama.2016.8012.
  4. 4. รศ.ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ยาหอม..มรดกทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์. [บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน]. ค้นหาเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/283/ยาหอม/
  5. 5. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. จะเลือกใช้ยาหอม อย่างไรจึงจะดี. [บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน].

ค้นหาเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/103/จะเลือกใช้ยาหอมอย่างไรจึงจะดี/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]