การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร

ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย

แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย

ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย

เบื้องต้นให้มองโรคทั้งหมดเป็นชีวิต มองชีวิตว่าเป็นโรคที่ต้องเยียวยา แต่ว่า “โรค” นั้นเยียวยาได้ ซึ่งหมายถึง ร่างกายนี้เป็นรังของโรค แต่โรคนั้นแก้ไขได้ จุดหมายคือการแก้ไขความไม่สบายหรือโรคของชีวิตนั่นเอง

กายานามัย คืออะไร

กายานามัย หรือ Healthy body เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางกายด้วยการออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การเดิน เป็นต้น แต่ต้องเหมาะแก่วัยและสภาพร่างกายของบุคคล เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดและมีการเสี่ยงอันตรายน้อยที่สุด นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่ดีและการพักผ่อนอย่างเพียงพอจัดอยู่ในการส่งเสริมสุขภาพทางกายด้วย สำหรับแพทย์แผนไทยมีวิธีส่งเสริมสุขภาพโดยกายบริหารด้วยท่าฤาษีดัดตน ก้าวตา-ก้าวเต้น การนวดไทย และการรับประทานอาหารตามธาตุ ฯลฯ

กายานามัยเป็นหลักปฏิบัติเพื่อป้องกันก่อนที่จะเจ็บป่วย โดยศาสตราจารย์นายแพทย์ อวย เกตุสิงห์ กล่าวว่า ผู้ที่มีอายุ  30 ปีขึ้นไป ในทางการแพทย์แผนไทยถือว่า “ปัจฉิมวัย” ตามคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ธาตุทั้ง 4 (ดิน น้ำ ลม ไฟ) จะเริ่มทำงานเสื่อมลง เมื่อธาตุทั้ง 4 ทำงานไม่สมดุลกัน จะก่อให้เกิดโรคขึ้นได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท คือ การดูแลร่างกายในเรื่องการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

หลักการบริโภคอาหารตามหลักกายานามัย คือ เน้นการบริโภคอาหารให้ถูกกับธาตุและโรค มีการปรับธาตุด้วยรสชาติต่าง ๆ ที่มีในตามธรรมชาติ เช่น การรับประทานอาหารรสร้อน ในผู้ที่มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น

หลักการออกกำลังกายตามหลักกายานามัย เริ่มจากการปรับท่วงท่าหรืออิริยาบถของร่างกายในขณะหยุดนิ่งและเคลื่อนไหวให้เหมาะสม เพื่อบุคลิกภาพภายนอกที่ดีและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยตามมา แล้วจึงออกกำลังกายโดยวิธีต่าง ๆ ให้เหมาะสมและสม่ำเสมอในแต่ละบุคคล เช่น ผู้ที่มีเข่าเสื่อมจะไม่เหมาะกับการออกกำลังกายที่มีการกระแทกหรือการย่อตัวลงนั่งที่มากเกินไป เป็นต้น

จิตตานามัย คืออะไร

         จิตตานามัย หรือ Healthy mind เป็นการส่งเสริมสุขภาพทางใจด้วยการปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาตามหลักพุทธธรรม หรือตามหลักศาสนาที่นับถืออยู่ เพื่อสร้างพื้นฐานจิตให้มั่นคง ไม่กวัดแกว่งไปตามกิเลส ไม่เครียด กล่าวง่าย ๆ คือ การพูดดี คิดดี ทำดี ตระหนักรู้และมีสติในทุกการกระทำ การปฏิบัติเพื่อฝึกจิตให้มั่นคง สามารถทำได้หลายวิธีไม่ว่าจะเป็น การเดินจงกรม การนั่งสมาธิตามหลักศาสนาพุทธ การนั่งสมาธิแบบคริสต์ตามแบบ WCCM (World community for Christian Meditation) ตามหลักศาสนาคริสต์ การละหมาดตามหลักศาสนาอิสลาม เป็นต้น

สำหรับทางการแพทย์แผนไทย “ธาตุเจ้าเรือน” มีส่วนในการกำหนดวุฒิภาวะและอารมณ์ไม่มากก็น้อย เช่น คนที่มีธาตุไฟเป็นธาตุเจ้าเรือน มักจะเป็นคนรุ่มร้อน ใจร้อน กล้าหาญ หรือคนที่มีธาตุลมเป็นธาตุเจ้าเรือน มักจะเป็นคนใจโลเล โกรธง่ายหายเร็ว เป็นต้น หากเราเข้าใจ รู้จักจิตใจตัวเองดี จะทำให้เราสามารถควบคุมความคิดและความรู้สึกขณะรับกระทบอารมณ์ได้ดีด้วย และเมื่อควบคุมอารมณ์และความคิดได้ดีก็จะสามารถควบคุมพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อนให้เหมาะสม (กายานามัย) รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมการดำรงชีวิตอื่น ๆ (ชีวิตานามัย) ได้ดีเช่นกัน ดั่งสำนวนที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว”

ชีวิตานามัย คืออะไร

         ชีวิตานามัย หรือ Healthy behavior เป็นการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักอนามัย มีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตประจำวันที่ดี เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและครอบครัว ควบคุมพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเสียดุลยภาพของชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง มีประโยชน์ การจัดที่พักอาศัยให้สะอาด การละเว้นสิ่งเสพติดทั้งหลาย การดำเนินชีวิตอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติให้มาก หลีกเลี่ยงมลภาวะ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตตามหลักชีวิตานามัย เป็นต้น

การดำเนินชีวิตอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นการปรับธาตุ 4 ภายนอก ด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น การปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ผล หรือผักที่รับประทานได้ เพื่อนำมาประกอบอาหาร หรือควรปลูกต้นไม้เพื่อสร้างบรรยากาศ ความชุ่มชื่น ร่มเย็น รวมถึงการดูแลความสะอาดของบ้านเรือน และเครื่องแต่งกายที่สะอาดด้วย

หลักธรรมนามัยเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพแบบบูรณาการ ร่วมกับการดำเนินชีวิตว่าด้วยหลักธรรมชาติของกายและจิตที่เคลื่อนไหวไปตามกาลเวลาและการกระทำสิ่งที่ดีและชั่ว โดยองค์ประกอบของหลักธรรมานามัยทั้ง 3 ประการนั้น ย่อมมีผลต่อกัน ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง หากผู้ที่ปฏิบัติดีก็จะส่งผลให้สุขภาพกาย ใจ และสิ่งแวดล้อมดีไปด้วย ถ้าหากปฏิบัติชั่วก็จะส่งผลไปในทางด้านตรงข้ามเช่นกัน

อ้างอิง

การนั่งสมาธิแบบคริสต์ ตามแบบ WCCM (WCCM Christian Meditation) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.layapostlebkk.com/layarticle01/art033/art033.html

การละหมาดหรือการนมาซ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2549 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.lib.ru.ac.th/journal/prayer1.html

คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาธรรมานามัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ธรรมานามัย. ครั้งที่ 1, นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2547.

สุกรี กาเดร์. การดูแลสุขภาพด้วยหลักธรรมานามัย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1352

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]

แก้ปวดท้องประจำเดือนกับแพทย์แผนไทย

ประจำเดือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของเพศหญิง โดยมีรอบเฉลี่ยของคนปกติคือ 28 วัน ในช่วงวัยรุ่นมักพบอาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยประมาณ 25-90%(1) และมักมีอาการมากในช่วง 2 วันแรกของการมีประจำเดือน(1)  สาเหตุการปวดประจำเดือนที่พบได้บ่อยคือ เยื่อบุโพรงมดลูกสร้างสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป ซึ่งสารนี้ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว เกิดอาการปวดบีบที่ท้องน้อย(2)  นอกจากนี้อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆได้ เช่น ปวดขา ปวดหลัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน(1) ตามคัมภีร์มหาโชตรัตน์ ของแพทย์แผนไทยเรียกอาการผิดปกติเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นได้ในทุกเดือนของการมีประจำเดือนว่า “โลหิตปกติโทษ” หากหมดระดูอาการจะหายไป อาจเกิดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการถูกกระทบของธาตุ แต่ละคนจะมีอาการแสดงไม่เหมือนกัน เช่น ปวดท้อง/ปวดหลัง/ปวดขา (ธาตุลมอโธคมาวาตา) สะบัดร้อนสะบัดหนาว(ธาตุไฟสันตัปปัคคี), กังวล/หงุดหงิด (ธาตุลมหทัยวาตะ) ปวดศีรษะ(ธาตุลมอุทธังคมาวาตา) สาเหตุของอาการเหล่านี้มักเกิดจากธาตุไฟในร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้ธาตุลมในร่างกายไม่สมดุล สาเหตุตามคัมภีร์ที่กล่าวไว้ มีดังนี้ รับประทานอาหารเผ็ดร้อน หรือเผ็ดจัดบ่อย ถูกทำร้ายหรือเกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทก เล่นกีฬามากเกินไป ความเครียด หรือหมกมุ่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป หมกมุ่นในกามอารมณ์ กลไกทางแผนไทย ซึ่งหากมีอาการปวดไม่มากเราสามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น ประคบร้อน(3) ออกกำลังกาย เล่นโยคะ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น ชาคาโมมายด์ หรือดื่มน้ำสมุนไพรรสเผ็ดร้อนเพื่อทำให้ธาตุลมในร่างกายเดินสะดวกขึ้น เช่น […]