ท่าบริหารสำหรับคนปวดสะโพก (Exercise for hip pain)

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

ปัจจุบันอาการปวดสะโพกเป็นเรื่องที่กระทบกับชีวิตประจำวันมาก ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ข้อต่อสะโพกและกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกทั้งสิ้น เหตุนี้เองระยะเวลาในการรักษาอาการปวดสะโพกจึงได้ยาวนานกว่าบางโรค ผู้ป่วยน้อยคนที่จะหายสนิทจากอาการปวดสะโพกนี้ กล่าวคือ หลังจากรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวด  คลายกล้ามเนื้อ อาการก็ทุเลาลงเล็กน้อยพอให้ใช้งานได้ในแต่ละวัน แต่พอหมดฤทธิ์ยาอาการก็จะกลับมาไม่มากก็น้อย เหตุนี้เองการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อกระดูกสะโพกให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงจะช่วยให้เราห่างไกลจากอาการเหล่านี้ ท่าบริหารนี้ได้ดัดแปลงมาจากท่าฤๅษีดัดตนที่ปลอดภัยต่อผู้ที่มีอาการปวดสะโพก แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่มีอาการข้อสะโพกเสื่อมและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ฉะนั้นมาศึกษาและทำท่าบริหารไปพร้อมกันได้เลยครับ

ส่วนประกอบของสะโพก

  1. กระดูกสะโพก (Hip bone) เดิมเกิดจากกระดูก 3 ชิ้นมาเชื่อมต่อกันคือ Ilium, Pubis และ Ischium แล้วต่อมาจะติดกันเป็นชิ้นเดียวที่บริเวณ Acetabulum
  2. เส้นประสาทไขสันหลังระดับสะโพก(Sacral spinal nerves) จำนวน 5 คู่
  3. กล้ามเนื้อลาย
    • Gluteus maximus ทำหน้าที่เหยียดข้อสะโพและหมุนขาออกด้านนอก
    • Gluteus medius ทำหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน
    • Gluteus minimus ทำหน้าที่กางขาและหมุนขาเข้าด้านใน

สาเหตุที่พบบ่อยของการปวดสะโพก

  1. การใช้งานเกินกำลัง เช่นยกของหนัก ออกกำลังกายเกินกำลัง
  2. การใช้งานในอิริยาบถเดิมนาน ๆ เช่น นั่งนาน ยืนนาน เดินนาน
  3. การใช้งานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งไหลๆเอนๆ กึ่งนั่งกึ่งนอน นั่งหมิ่นเก้าอี้ ยืนทิ้งน้ำหนักขาข้างเดียว
  4. อุบัติเหตุ เช่นการหกล้มก้นกระแทก เข่ากระแทก อุบัติเหตุจากรถยนต์ รถจักรยานยนต์
  5. ความเสื่อมของร่างกาย เช่นข้อสะโพกเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อมและทรุด

 

ท่าบริหารสำหรับคนปวดสะโพก

ท่าที่ 1 ดำรงกายอายุยืน

ประโยชน์

  • บริหารกล้ามเนื้อขาและหลัง
  • แก้อาการปวดขา ปวดเข่า ปวดสะโพก

ท่าเตรียม

วิธีทำ : ยืนแยกขาออกจากกันประมาณช่วงหัวไหล่พร้อมทั้งแบะปลายเท้าออกไปด้านข้างให้ได้มากที่สุด มือสองข้างกำหลวมระดับหน้าอก

ท่าบริหาร

ย่อเข่าลงพอประมาณ หน้ามองตรง
แขม่วท้อง ขมิบก้น และนิ่งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วกลับไปท่าเตรียม
ทำซ้ำข้อ 1-2 ประมาณ 3-5 รอบ

ท่าที่ 2 แก้เส้นมหาสนุกระงับ

ประโยชน์

  • แก้อาการปวดขา ปวดเข่า ปวดสะโพก
  • แก้ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ
  • แก้เส้นมหาสนุก

ท่าเตรียม

วิธีทำ : นั่งเหยียดขาขวาออกมาด้านข้าง วางมือซ้ายไว้ที่ต้นขาซ้ายเหนือหัวเข่า งอข้อศอกเล็กน้อย มือขวาเหยียดตรงวางไว้ตรงหน้าแข้งข้างขวา

ท่าบริหาร

โน้มตัวยื่นมือขวาไปจับปลายเท้าขวา พร้อมกับออกแรงกดที่มือซ้ายเล็กน้อย
ดึงปลายเท้าขวาเข้าหาลำตัวพร้อมยืดตัวแหงนหน้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาทีกลับไปอยู่ท่าเตรียม
สลับทำข้างซ้าย
ทำซ้ำข้อ 1-3 ประมาณ 3-5 รอบ

ท่าที่ 3 แก้กล่อน

ประโยชน์

  • แก้ปวดสะโพก
  • แก้กษัยลม
  • แก้กษัยกล่อน

ท่าเตรียม

วิธีทำ : นั่งเหยียดขาตรงทั้งสองข้าง หลังตรง มือทั้งสองข้างวางบนหัวเข่า

ท่าบริหาร

โน้มตัวไปด้านหน้าเหยียดแขนตรงแตะปลายเท้า
กระดกข้อเท้าทั้งสองข้างขึ้น พร้อมกับเชิดหน้าขึ้น
ค้างไว้ 10 วินาที แล้วกลับไปท่าเตรียม
ทำซ้ำข้อ 1-3 ประมาณ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 4 แก้ตะโพกสลักเพชร

ประโยชน์

  • บรรเทาอาการปวดเมื่อยและชาบริเวณสะโพก สลักเพชร
  • ยืดกล้ามเนื้อหลัง สะบัก แขน

ท่าเตรียม

วิธีทำ : ยืนแยกขาออกจากกันประมาณช่วงหัวไหล่พร้อมทั้งแบะปลายเท้าออกไปด้านข้างให้ได้มากที่สุด มือทั้งสองข้างเท้าเอวปลายนิ้วชี้มาทงด้านหน้า นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้น

ท่าบริหาร

ค่อย ๆ ย่อตัวลงพอประมาณ ใช้ส้นมือออกแรงกดที่สะโพกให้ได้มากที่สุด ยืดหลังตรง หน้ามองตรง
ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วกลับท่าเตรียม
ทำซ้ำข้อ 1-2 ประมาณ 3-5 รอบ

ท่าที่ 5 แก้เข่า แก้ขา

ประโยชน์

  • แก้ปวดเข่า แก้ขัดขา แก้ปวดสะโพก
  • แก้ขัดไหล่

ท่าเตรียม

วิธีทำ : ก้าวขาออกไปด้านหน้าประมาณ 2 ฝ่าเท้า บิดปลายเท้าออกด้านข้างประมาณ 45 องศา วางฝ่ามือขวาไว้ที่หัวเข่า วางฝ่ามือซ้ายไว้ที่สะโพก ปลายนิ้วชี้ลง

ท่าบริหาร

ค่อยๆย่อเข่าทั้งสองข้างลง ออกแรงกดที่มือทั้งสองข้าง แขนตึง
บิดลำตัวและหัวหน้าไปทางซ้ายให้ได้มากที่สุด ค้างไว้ 10 วินาที กลับไปท่าเตรียม
ทำซ้ำข้อ 1-2 แต่สลับข้างซ้าย
ทำซ้ำข้อ 1-3 ประมาณ 3-5 รอบ

 

ข้อควรระวัง ในรายที่มีอาการปวดสะโพกจากอุบัติเหตุหรือมีอายุมากแล้วแนะนำให้ปรึกษาแพทย์แผนไทยประยุกต์ก่อนทำท่าบริหาร

แหล่งอ้างอิง

โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กายบริหารแบบฤๅษีดัดตน. 2 เล่ม. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; 2554.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]