แก้ปวดท้องประจำเดือนกับแพทย์แผนไทย

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

ประจำเดือนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของเพศหญิง โดยมีรอบเฉลี่ยของคนปกติคือ 28 วัน ในช่วงวัยรุ่นมักพบอาการปวดประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยประมาณ 25-90%(1) และมักมีอาการมากในช่วง 2 วันแรกของการมีประจำเดือน(1)  สาเหตุการปวดประจำเดือนที่พบได้บ่อยคือ เยื่อบุโพรงมดลูกสร้างสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป ซึ่งสารนี้ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว เกิดอาการปวดบีบที่ท้องน้อย(2)  นอกจากนี้อาจเกิดอาการผิดปกติที่ไม่พึงประสงค์อื่นๆได้ เช่น ปวดขา ปวดหลัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน(1)

ตามคัมภีร์มหาโชตรัตน์ ของแพทย์แผนไทยเรียกอาการผิดปกติเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นได้ในทุกเดือนของการมีประจำเดือนว่า “โลหิตปกติโทษ” หากหมดระดูอาการจะหายไป อาจเกิดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการถูกกระทบของธาตุ แต่ละคนจะมีอาการแสดงไม่เหมือนกัน เช่น ปวดท้อง/ปวดหลัง/ปวดขา (ธาตุลมอโธคมาวาตา) สะบัดร้อนสะบัดหนาว(ธาตุไฟสันตัปปัคคี), กังวล/หงุดหงิด (ธาตุลมหทัยวาตะ) ปวดศีรษะ(ธาตุลมอุทธังคมาวาตา) สาเหตุของอาการเหล่านี้มักเกิดจากธาตุไฟในร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้ธาตุลมในร่างกายไม่สมดุล สาเหตุตามคัมภีร์ที่กล่าวไว้ มีดังนี้

  1. รับประทานอาหารเผ็ดร้อน หรือเผ็ดจัดบ่อย
  2. ถูกทำร้ายหรือเกิดอุบัติเหตุกระทบกระแทก
  3. เล่นกีฬามากเกินไป
  4. ความเครียด หรือหมกมุ่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป
  5. หมกมุ่นในกามอารมณ์

กลไกทางแผนไทย

ซึ่งหากมีอาการปวดไม่มากเราสามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง เช่น ประคบร้อน(3) ออกกำลังกาย เล่นโยคะ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำอุ่น ชาคาโมมายด์ หรือดื่มน้ำสมุนไพรรสเผ็ดร้อนเพื่อทำให้ธาตุลมในร่างกายเดินสะดวกขึ้น เช่น น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำไพล เป็นต้น

แนวทางการรักษาโดยแพทย์แผนไทย

  1. การกดนวดและประคบร้อน บริเวณบั้นเอว/ช่วงขา สามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้เดินสะดวกมากขึ้น
  2. รักษาด้วยยาสมุนไพร(4) เช่น
  • ยาขิง

    มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน เจริญไฟธาตุ 2-3 แคปซูล ขณะมีประจำเดือน
    ข้อควรระวัง

    • ควรระวังการใช้ร่วมกับสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
    • ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ยาเลือดงาม

    มีสรรพคุณ บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ฟอกเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ รับประทาน 2-4 แคปซูล
    ข้อควรระวัง

    • ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่มีไข้
  • ยาประสะไพล

    มีสรรพคุณ บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน(5) รักษาระดูที่มาน้อยกว่าปกติ หรือ ช่วยให้ระดูให้มาปกติ รับประทาน 2-4 แคปซูล ก่อนมีประจำเดือน 7 วัน หรือขณะมีประจำเดือน 2-3 วันแรก
    ข้อควรระวัง

    • กรณีระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 เดือน
  • ยาหอมเทพจิตร

    มีสรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ(หทัยวาตะ) หมายถึง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น รับประทาน 3-4 เม็ด หากมีอาการ
    ข้อห้าม

    • ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้เกสรดอกไม้

***หมายเหตุ หากสนใจยาสมุนไพรหรือมีข้อสงสัย ควรปรึกษาแพทย์แผนไทย เพื่อการใช้ยาที่มีประสิทธิผล และปลอดภัย และหากมีอาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงหรือเรื้อรัง แนะนำให้พบแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อตรวจร่างกายเพิ่มเติม และรักษาให้ถูกวิธี ***

อ้างอิง

  1. Holder A, Edmundson LD, Erogul M (2009). Dysmenorrhea. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก https://web.archive.org/web/20110222200910/http:/emedicine.medscape.com/article/795677-overview
  2. สุขุมาลย์ สว่างวารี. (2018). ปวดประจำเดือนรุนแรงระวังเสี่ยงสารพัดโรค. [บทความเผยแพร่ทางวิชาการ]. ค้นหาเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก https://www.phyathai.com/article_detail/2577/th/ปวดประจำเดือนรุนแรงระวังเสี่ยงสารพัดโรค
  3. Akin MD, Weingand KW, Hengehold DA, Goodale MB, Hinkle RT, Smith RP.( 2001). Continuous low-level topical heat in the treatment of dysmenorrhea. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จากhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11239634/
  4. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จาก http://kpo.moph.go.th/webkpo/tool/Thaimed2555.pdf
  5. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ปวดประจำเดือนกับตำรับยาประสะไพล. [บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน]. ค้นหาเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จากhttps://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/346/ยาตำรับประสะไพล-ปวดประจำเดือน/
  6. ณัฏฐินี อนันตโชค. มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะเภสัชศาสตร์. ดอกคาโมมายด์. [บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน]. ค้นหาเมื่อ 31 มีนาคม 2563, จากhttps://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/321/ดอกคาโมมายล์/
  7. P Inserra, A Brooks (2017). Getting to the Root of Chronic Inflammation: Ginger’s Antiinflammatory Properties. [ออนไลน์]. ค้นหาเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780128051863000059

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]