โรคภูมิแพ้ ให้แผนไทย ช่วยดูแล

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

ปัจจุบันโรคภูมิแพ้เป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังของประชากรทั่วโลกตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (Lai et al., 2012) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ขยะ น้ำเน่าเสีย สารพิษ ย่อมกระตุ้นให้มีอาการของโรคหนักขึ้นมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม (Diana and Martin, 2016)

โรคภูมิแพ้ หรือ โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากการแพ้ (allergic rhinitis) เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ (allergen) แล้วมีการปล่อยสารเคมี เช่น ฮิสตามีน (histamine) พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) ไซโตไคน์ (cytokine) เป็นต้น โดยสารเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดกลไกการอักเสบที่บริเวณโพรงจมูก ทำให้มีอาการแสดง ได้แก่ จาม น้ำมูกใส คันในจมูก หายใจลำบาก ในรายที่เป็นมากอาจส่งผลต่อการนอนหลับ อ่อนเพลีย สมาธิสั้น ตามมาด้วย ปัจจุบันมีวิธีการรักษาโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากการแพ้ เริ่มจากสังเกตตัวเองว่าแพ้อะไร แล้วพยายามหลีกเลี่ยง หมั่นทำความสะอาดบ้านและเครื่องปรับอากาศ อีกทั้งควรพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมภูมิต้านทานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ หากมีอาการน้ำมูกไหลมากขึ้นหรือไอจนเหนื่อย แนะนำให้ใช้ยารับประทาน ได้แก่ ยาต้านฮิสทามีน (antihistamines) รุ่นแรก เช่น คลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine) หรือไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางให้เกิดการง่วง และมียาต้านฮิสทามีนรุ่นใหม่ที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายารุ่นแรก เช่น ลอราทาดีน (loratadine) (Diana and Martin, 2016)

สำหรับทางการแพทย์แผนไทย โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มอาการทางธาตุน้ำ อันมาจากการควบคุมของศอเสมหะ หมายถึง เสมหะหรือเสลดบริเวณลำคอ ถ้าศอเสมหะกำเริบโดยมากจะเกิดช่วงเช้า ก่อให้เกิดอาการ คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล โดยยาปราบชมพูทวีป เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีข้อบ่งใช้เพื่อบรรเทาอาการหวัดระยะแรก และอาการที่เกิดจากภูมิแพ้อากาศ เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติแต่ละตัวยาของตำรับยาปราบชมพูทวีปทั้ง 23 ชนิด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรรสร้อน ช่วยลดการกำเริบของธาตุน้ำ  ช่วยลดการอักเสบ รวมถึงฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (Limpaphayom and Laohakunjit, 2014) จากรายงานการศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้ยาปราบชมพูทวีปขนาด 500 มิลลิกรัม รับประทานทุกวันวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 2 แคปซูล กับยาลอราทาดีนขนาด 10 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด ติดต่อกัน 7 วัน ในผู้ป่วยภูมิแพ้ 62 คน (เพศชาย 17 คน เพศหญิง 45 คน) พบว่ายาปราบชมพูทวีปให้ประสิทธิผลการรักษาไม่แตกต่างจากยาลอราทาดีน (P>0.01) (Onthong et al., 2019) จึงมีความเป็นไปได้ว่า สามารถใช้ทดแทนกันได้ตามความต้องการของผู้ป่วย สำหรับการอบไอน้ำสมุนไพร นับเป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาที่ได้รับความนิยม มีการศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการอบสมุนไพร ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้อากาศจำนวน 64 ราย โดยให้กลุ่มตัวอย่างรับการอบสมุนไพรวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ และประเมินระดับความรุนแรงของอาการภูมิแพ้ด้วย visual analog scale พบว่า ผู้ป่วยมีอาการของโรคภูมิแพ้อากาศลดลงและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น (Tungsukruthai et al., 2017)

อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจนนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์ตรวจหาสาเหตุ เพื่อการดูแลตัวเองให้เหมาะสม

 

บรรณานุกรม

Diana, S.C., and Martin, K.C. 2016. Allergic rhinitis: impact, diagnosis, treatment and
management. The pharmaceutical journal 8; 8.
Lai, J., Clark, M., Parkes, R., and Blum, H. 2012. Pharmaceuticals for beginners. European

Pharmaceuticals: 195-196.

Limpaphayom, V., and Laohakunjit, N. 2014. Chemical Compositions and Antioxidant Activity
          of Zingiber officinale Roscoe Essential oils. KMUTT Research and Development
          Journal 37; 3: 297-312.

Martin, K.C., and Diana, S.C. 2013. Pharmacology of Antihistamines. Indian Journal of
          Dermatology 58; 3: 219-24.
Onthong, N., Chonpatathip, U., Rajanivat, Y., Patthananurak, K., Sangvichien, S., and

          Kamoltham, T. 2019. A Comparative Study on the Effects of Prabchompoothaweep
          Remedy and Loratadine in Treatment of Patients with Allergic Rhinitis and Upper
          Respiratory tract Infections at Pathumtani Hospital. Journal of Health Education 42; 1:
          135-145.
Tungsukruthai, P., Nootim, P., Wiwatpanich, W., and Tabtong, N. 2017. Efficacy and safety of
          herbal hot steam bath in allergic rhinitis: a randomized controlled trial. Journal of
          integrative medicine 16; 1: 39-44.

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]