มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่

พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกรณีทารกเกิดจากมารดาที่เป็น COVID-19 และ PUI ที่มีความเสี่ยงสูง

  1. ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางนมแม่ และองค์กรทางสาธารณสุขต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถให้น้ำนมแม่แก่ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ COVID -19 ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร สถานที่  และครุภัณฑ์ในการเก็บตุนน้ำนม ตลอดจนความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสขณะขนส่งน้ำนมจากมารดามายังทารก ดังนั้นทารกจะได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเท่านั้น

 

  1. สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแนะนำมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) ปั๊มน้ำนมทิ้งจนกว่าจะทราบผลตรวจเป็น Undetectable และ ในมารดาที่ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ปั๊มนมทิ้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นให้นั้นนมแม่แก่ทารกได้ตามปกติ

 

  1. หากมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) หรือยืนยันการติด COVID-19 มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะเก็บตุนน้ำนมได้และยืนยันจะเก็บตุนนม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการปฏิบัติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์หลังคลอดและทารกแรกเกิด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีนาคม 2563 ดังนี้

 

ข้อแนะนำการปฏิบัติในการปั๊มนมสำหรับมารดาที่เป็น PUI หรือยืนยันการติดเชื้อ COVID-19

  • อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำสบู่
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70% ขึ้นไป
  • สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนมและปั้มนม
  • หลังเสร็จกิจกรรมการปั๊มและเก็บน้ำนม ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เช่น ที่ปั๊มนม ด้วยน้ำยาล้างอุปกรณ์ และการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ

รวมถึงต้องทำความสะอาดด้านนอกของถุงเก็บน้ำนมด้วย แอลกอฮอล์ 70%  ก่อนนำนมมาส่งทุกครั้ง

  • การให้นม ควรหาผู้ช่วยเหลือ / ญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้องและต้องปฎิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด โดยวิธีการนำน้ำนมแม่มาป้อนด้วยการใช้ช้อน หรือ ถ้วยเล็ก หรือ ขวด
  • กรณีแม่อยู่ลำพัง แม่สามารถป้อนนมลูกได้เอง โดยปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการไอหรือจามขณะอุ้มทารก ล้างมือ ทำความสะอาดเต้านมก่อนและหลังสัมผัสทารกทุกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]