ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย

ชนิดของห่วงอนามัย

1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี
2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน สามารถใช้เพื่อคุมกำเนิดฉุกเฉินในกรณีมีเพศสัมพันธ์ไม่พึงประสงค์ โดยต้องใส่ห่วงอนามัย ภายใน 5 วัน หลังมีเพศสัมพันธ์ ตัวอย่างห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง ได้แก่ Multiload CU 375 สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี

ระยะเวลาที่เหมาะสมในการใส่ห่วงอนามัย

1. ขณะกำลังมีระดู หรือภายใน 7 วันแรกของระดู
2. หลังการคลอดบุตรทางช่องคลอด 6 สัปดาห์ หรือหลังผ่าตัดคลอด 8 สัปดาห์ หรือใส่ทันทีหลังการแท้งบุตร

ข้อห้ามในการใส่ห่วงอนามัย

1. ทราบหรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
2. แพ้ต่อส่วนประกอบใด ๆของห่วงอนามัย
3. มีการติดเชื้อในอวัยวะอุ้งเชิงกราน หากมีความผิด ปกติควรรรักษาให้หายปกติอย่างน้อย 3 เดือน
4. โพรงมดลูกผิดรูปอย่างรุนแรง
5. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ยังไม่ทราบสาเหตุ
6. มีภาวะแท้งติดเชื้อ (septic abortion) หรือภายในเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหลังคลอด (postpartum endometritis) ภายในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

ข้อดีของการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

1. ห่วงอนามัยคุมกำเนิดออกฤทธิ์เฉพาะที่อวัยวะภายใน จึงมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการคุมกำเนิดแบบฉีด ฝังและรับประทาน
2. สามารถคุมกำเนิด ได้นานอย่างน้อย 5 ปี
3. สามารถใช้ได้กับแม่ที่ให้นมบุตร และผู้ที่มีน้ำหนัก ตัวมาก
4. หากเกิดภาวะไม่พึงประสงค์จากห่วงอนามัยคุมกำเนิด สามารถถอดห่วงคุมกำเนิดออกได้ทันที

ข้อเสียของการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

1. ห่วงอนามัยจะต้องใส่และถอดโดยแพทย์เท่านั้น
2. ต้องตรวจภายในก่อนใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด
3. บางรายอาจมีอาการปวดเกร็งมดลูกและมีเลือดออกผิดปกติได้ มักเป็นในช่วง 3 เดือนแรกหลังใส่ห่วง
4. สายจากห่วงอนามัยคุมกำเนิดอาจรบกวนการมี เพศสัมพันธ์ได้ในผู้ป่วยบางราย

ภาวะแทรกซ้อน (พบได้น้อยมาก)

1. อาจเกิดการติดเชื้อและอักเสบในอุ้งเชิงกราน
2. มดลูกทะลุ

คำแนะนำหลังใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

1. หากมีอาการปวดเกร็งท้องน้อย สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol ได้ โดยในช่วง 2- 3 เดือนแรกอาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอยเล็กน้อยหรือมีตกขาวเพิ่มขึ้น หากมากผิดปกติ ควรมาพบแพทย์
2. งดร่วมเพศหลังใส่ห่วงประมาณ 7 วัน
3. มารับการตรวจห่วงในระยะ 1, 3, 6, 12 เดือน และปีละครั้ง
4. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศภายนอกไปตามปกติ
5. เช็คสายห่วงด้วยตนเองหลังหมดประจำเดือน 7 วัน โดยเช็คทุกเดือนและหลังร่วมเพศ โดยล้างมือให้สะอาด ตัดเล็บให้สั้น แล้วสอดนิ้วชี้เข้าไปจนสุดนิ้วจะคลำได้ปากมดลูกเป็นก้อนกลมแข็ง และคลำดูสายไนลอนเส้นเล็กๆ ที่ปากมดลูก กรณีที่คลำแล้วไม่พบสายห่วงควรรีบไปพบแพทย์

การเอาห่วงอนามัยออก

1. ครบอายุการใช้งานของห่วงอนามัยแต่ละชนิด
2. ต้องการมีบุตร
3. เมื่อต้องการเปลี่ยนไปใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น
4. ถึงวัยหมดประจำเดือน
5. หากมีเลือดระดูออกทางช่องคลอดมากหรือนานกว่าปกติ มีอาการปวดหน่วงท้องอย่างรุนแรงหรือมีไข้สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส ควรรีบมาพบแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 28

GJ E-Magazine ฉบับที่ 28 (เดือนกรกฎาคม 2567) “โรคผิวหนัง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่  

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่