การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตในยุคโควิด-19

ความรู้ COVID19   ลงวันที่

การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไตในยุคโควิด-19

รับชมวิดีโอ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ

ภาวะ Long Covid กับอาการ ไอ เหนื่อยหอบ พจ.มาลีนา บุนนาค ลู่ ปอด ในทางทฤษฎีการแพทย์แผนจีน เป็นอวัยวะที่ควบคุมพลังชี่ และการไหลเวียนลมปรานชี่ และของเหลวในร่างกาย โดยปกติปอดจะไม่ชอบความชื้น  เมื่อร่างกายรับเชื้อโควิดลงสู่ปอด ปอดติดเชื้อก่อให้เกิดการอักเสบ เกิดเสมหะอุดกั้น ทำให้การกระจายชี่ของปอดไม่สมบูรณ์ เกิดอาการหอบเหนื่อย หายใจติดขัด และการที่ชี่จากปอดไหลย้อนกลับ จะก่อให้เกิดอาการไอ เมื่อยังมีการอักเสบอยู่ การทำงานของปอดจึงยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ จึงทำให้เกิดการไอเรื้อรังได้ อาการ Post Covid Syndrome หรือ Long Covid คืออาการที่ผิดปกติของร่างกายในขณะที่ติดเชื้อโควิด แม้จะครบ 1 เดือน หายดีกลับบ้านได้แล้ว แต่อาจยังหลงเหลืออาการอยู่ หากพบว่ามีอาการผิดปกตินานกว่า 2 เดือน เช่น  ไอ หายใจติดขัด เหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด ซึ่งอาจเกิดจากภาวะ Long Covid   เกิดจากการติดเชื้อโรคอื่น หรือโรคที่เกิดขึ้นใหม่ก็เป็นได้ อาการที่อาจหลงเหลืออยู่ […]

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่

มารดาที่เป็น COVID–19 สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้หรือไม่ พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกรณีทารกเกิดจากมารดาที่เป็น COVID-19 และ PUI ที่มีความเสี่ยงสูง ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกผ่านทางนมแม่ และองค์กรทางสาธารณสุขต่าง ๆ แนะนำว่าสามารถให้น้ำนมแม่แก่ทารกที่เกิดจากมารดาติดเชื้อ COVID -19 ได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านบุคลากร สถานที่  และครุภัณฑ์ในการเก็บตุนน้ำนม ตลอดจนความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อไวรัสขณะขนส่งน้ำนมจากมารดามายังทารก ดังนั้นทารกจะได้รับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเท่านั้น   สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแนะนำมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) ปั๊มน้ำนมทิ้งจนกว่าจะทราบผลตรวจเป็น Undetectable และ ในมารดาที่ยืนยันการติดเชื้อ COVID-19 ให้ปั๊มนมทิ้ง เป็นระยะเวลา 14 วัน หลังจากนั้นให้นั้นนมแม่แก่ทารกได้ตามปกติ   หากมารดาที่มีประวัติสัมผัส COVID -19 ความเสี่ยงสูง (PUI) หรือยืนยันการติด COVID-19 มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะเก็บตุนน้ำนมได้และยืนยันจะเก็บตุนนม ให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำการปฏิบัติของกรมอนามัย […]

วัคซีนcovid-19 ในหญิงตั้งครรภ์ /ให้นมบุตร

โดย พญ สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล (กุมารแพทย์)        เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก พบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต และใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพิ่มโอกาสของการคลอดก่อนกำหนด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกร่วมด้วย  การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จึงมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงของวัคซีน โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป และหญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนป้องกันโควิด 19 ได้ ซึ่งวัคซีนที่มีใช้ในประเทศไทย ปัจจุบันได้แก่ Sinovac และ Astraseneca  ในอนาคตที่มีการนำเข้าวัคซีน mRNA ได้แก่ pfizer และ  moderna จากการศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่พบรายงานภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และพบระดับภูมิคุ้มกันขึ้นไม่ต่างจากกลุ่มที่ไม่ตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการติดตามถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนในอนาคต ควรติดตามข่าวสารหรือสอบถามแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรับวัคซีน  

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว

แนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่น ในสถานการณ์การติดเชื้อโรค COVID-19 ในครอบครัว โดย พญ.พิมพิกา หาญวัฒนานุกุล (กุมารแพทย์ทั่วไป) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มากขึ้น โดยมีทั้งผู้ปกครองและเด็กในหลายครอบครัวติดเชื้อโรคโควิด 19 และต้องไปรับการรักษาตัวในสถานพยาบาลหรือถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้ต้องเกิดการแยกจากกันระหว่างผู้ปกครองและเด็ก ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวลต่อตัวเด็กและวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละครอบครัวควรเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าหากเกิดสถานการณ์การติดเชื้อเช่นนี้ในครอบครัว ซึ่งแนวทางการดูแลจิตใจเด็กและวัยรุ่นที่เหมาะสมในสถานการณ์การติดเชื้อในครอบครัวนั้น ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถปฏิบัติตามได้ดังนี้ 1. บอกเล่าเหตุการณ์ให้เด็กฟังอย่างตรงไปตรงมา เช่น เหตุการณ์ติดเชื้อโควิดของสมาชิกในบ้าน ทำให้ไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้ชั่วคราวเพราะอาจติดเชื้อกันได้ โดยมีการแนะนำว่าใครต้องไปอยู่ที่สถานที่ใด ระยะเวลานานประมาณเท่าใด 2. ให้เด็กสามารถสื่อสารกับผู้ปกครองได้อย่างสม่ำเสมอ โดยระหว่างที่แยกกันให้มีช่องทางที่สามารถติดต่อทางออนไลน์หรือโทรศัพท์ได้เสมอ 3. พยายามสอบถามถึงความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าและสามารถควบคุมอะไรบางอย่างได้ เช่น ของที่ต้องการนำติดตัวไปด้วย เลือกช่วงเวลาที่จะติดต่อกันเป็นประจำ หรือตารางกิจกรรมประจำวัน 4. แสดงความเข้าอกเข้าใจถึงอารมณ์และการแสดงออกของเด็ก โดยเด็กจะมีการตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตหรือการแยกจากแตกต่างกันออกไป ผู้ปกครองควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ต่อว่า และไม่ด่วนตัดสิน 5. ช่วยเหลือเด็กให้รู้จักและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวเอง เช่น กลัว กังวล เศร้า และให้เด็กลองคิดกิจกรรมที่ช่วยจัดการอารมณ์ได้ด้วยตนเอง 6. ช่วยให้เด็กสามารถคงกิจวัตรประจำวันคล้ายเดิมได้มากที่สุด เพื่อลดความรู้สึกถึงสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป […]