ยาสมุนไพร ปลอดภัย เมื่อใช้ถูกหลัก

ความรู้แผนไทย   ลงวันที่

“สมุนไพร” ทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรคทั้งในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เป็นกระแสนิยมของคนทั่วไปในปัจจุบันและเมื่อกล่าวถึง “สมุนไพร” ก็อาจจะคิดว่าเป็นเพียงพืชหรือต้นไม้ที่มาจากธรรมชาติเท่านั้น ทำให้รู้สึกปลอดภัยในการเลือกใช้ ทำให้พบปัญหาจากการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ถูกวิธี จนทำให้เกิดโทษต่อตัวของผู้ใช้ โดยพบรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สมุนไพรที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่นำไปใช้สำหรับเป็นยารักษาโรค ซึ่งในความจริงแล้วตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ให้ความหมายของ “สมุนไพร” หมายความว่า ผลิตผลธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ จุลชีพ หรือแร่ ที่ใช้ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ“ผลิตภัณฑ์สมุนไพร” หมายความว่า (1) ยาจากสมุนไพร และให้หมายความรวมถึงยาแผนไทย ยาพัฒนาจากสมุนไพร ยาแผนโบราณที่ใช้กับมนุษย์ตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือกตามที่ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการประกาศกำหนด เพื่อการบำบัด รักษา และบรรเทาความเจ็บป่วยของมนุษย์ หรือการป้องกันโรค (2) ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบสำคัญที่เป็นหรือแปรสภาพ จากสมุนไพร ซึ่งพร้อมที่จะนำไปใช้แก่มนุษย์เพื่อให้เกิดผลต่อสุขภาพหรือการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น เสริมสร้างโครงสร้างหรือการทำงานของร่างกาย หรือลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค และนอกจากนี้หากประสงค์ที่จะการเลือกใช้ยาสมุนไพรเพื่อมุ่งประโยชน์ทางด้านการรักษาต้องอาศัยความรู้และความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถตั้งตำรับยาหรือวิธีการบริหารยาที่ถูกต้องเหมาะสมที่เฉพาะกับบุคคลและอาการของโรคอีกด้วย

การได้รับข้อมูลที่ไปไม่ครบถ้วนหรือการแชร์ข้อมูลปากต่อปาก จนอาจทำให้ละเลยเรื่องความปลอดภัยของการเลือกใช้ ขนาด และวิธีการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสมดังที่ยังพบเห็นได้บ่อยของรายงานหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ อาการข้างเคียงของการใช้สมุนไพร ตัวอย่างเช่น กรณีของกระแสการใช้ “หนานเฉาเหว่ย (Vernonia amygdalina) หรือ ป่าช้าเหงา”ในการรักษาโรคเบาหวานหรือลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่กลับพบว่าการนำไปใช้แบบผิดวิธีส่งผลทำให้ค่าการทำงานของตับและไตสูงเพิ่มขึ้น จนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หรือกระแสข่าวโซเชียลของการป้องกันโรคไวรัสโควิด-19 ด้วยการรับประทานฟ้าทะลายโจร โดยข้อเท็จจริงนั้น ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่ได้รับการศึกษาว่ามีฤทธิ์ในการรักษาไข้หวัดธรรมดา (common cold) อาการไอ เจ็บคอในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจและมีแค่เพียงการศึกษาฤทธิ์ในการต้านไวรัสกลุ่มไข้หวัดเฉพาะในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองเท่านั้น และไม่แนะนำให้นำมารับประทานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับประทานติดต่อกันเกิน7 วัน สำหรับอันตรายที่เกิดจากการใช้สมุนไพรนั้นจากข้อมูลการศึกษาที่มีหลักฐานชัดเจน จากข้อมูลที่อ้างอิงจากการทดลองหรือกรณีศึกษา การแบ่งจำแนกเป็น 7 กลุ่ม โดยที่สมุนไพร 1 ชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม ได้แก่

  1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
  2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions) เช่น สมุนไพรที่เกิดความเป็นพิษต่อตับจากรายงานการใช้สมุนไพรใบขี้เหล็ก ในปี พ.ศ.2542 ในรูปแบบยาเม็ด (ยาเดี่ยว) ก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบเฉียบพลัน หรือ สมุนไพรที่เกิดความเป็นพิษต่อไต ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต เช่น ชะเอมเทศ มะขามแขก น้ำลูกยอ มะเฟือง เป็นต้น
  3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects) คือ การใช้สมุนไพรบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ที่สัมพันธ์และไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ เช่น กระทียม แปะก๊วยก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เกิดเลือดออกได้ง่าย เป็นต้น
  4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions) 2 รูปแบบ คือ ปฏิกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การกระจายตัว เมแทบอลิซึม (Metabolism) และการกำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณของยาหรือสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง และ ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ (Pharmacodynamic interactions) โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะเป้าหมาย ทำให้ยาหรือสมุนไพรแสดงฤทธิ์เพิ่มขึ้น (Synergistic effects) หรือลดลง (Antagonist effects) เช่น การเกิดเลือดออกง่ายหรือเลือดไหลไม่หยุด จากการรับประทานสมุนไพร เช่น แปะก๊วย เก๋ากี้ กระเทียม ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือดหรือต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin Warfarin หรือการรับประทานชาหรือชาเขียวร่วมกับยา Warfarin จะส่งผลยับยั้งประสิทธิภาพในการรักษาของยาเป็นต้น
  5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation) ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชนิดของสมุนไพรที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และมีความคล้ายคลึงกับพืชมีพิษบางอย่าง และจากการใช้สมุนไพรไม่ถูกชนิดได้ รวมทั้งการนำมาใช้โดยผิดวิธีเช่น การใช้ผิดส่วน การนำมาปรุงยาแบบผิดวิธี
  6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination) ได้แก่ สารโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือเชื้อจุลินทรีย์ที่เกินปริมาณที่กำหนดมากับตัวสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ โดยอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน และสารบางอย่างอาจมีการสะสมและก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว
  7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants) สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น มีการกล่าวอ้างว่าสามารถรักษาโรคได้หลายชนิด หรือรักษาโรคได้หายรวดเร็วทันใจ ซึ่งจากการตรวจสอบหลายตัวอย่างจะพบการปนปลอมของสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและส่งผลต่อการรรักษา เช่น ยาสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกต้อง

 

ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้สมุนไพรมีความเข้าใจและสามารถใช้สมุนไพรได้ถูกต้องและปลอดภัยนอกจากการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรนั้น ๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ และรู้ถึงการใช้อย่างถูกต้อง หรือมีหลักในการเลือกใช้ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร (หลัก 5 ถูก) ดังนี้

  1. ถูกต้นเนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกัน ชื่อเฉพาะท้องถิ่น ที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันทั้ง ที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน หรือบางครั้งชื่อเหมือนกันแต่เป็นพืชคนละชนิด เพราะฉะนั้นจะใช้สมุนไพรอะไรก็ต้องใช้ให้ถูกต้นจริง โดยอาจใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชแต่ละชนิดเป็นชื่อเรียกเพื่อป้องกันความสับสน และตรวจสอบเอกลักษณ์พืชโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชที่อยู่ในสวนพฤกษศาสตร์หรือในหนังสือพฤกษศาสตร์ที่เชื่อถือได้
  2. ถูกส่วนส่วนของพืชสมุนไพรแต่ละส่วนราก ดอก ใบ เปลือก ผล หรือเมล็ด หรือความสุก แก่ อ่อน ดิบของสมุนไพร อาจมีองค์ประกอบทางเคมีหรือสารสำคัญที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดส่วนต่าง ๆของพืชอาจมีสารสำคัญที่เหมือนกันแต่มีปริมาณแตกต่างกัน จึงทำให้ความแรงหรือประสิทธิภาพในการรักษาแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดบางส่วนใช้เป็นยา บางส่วนมีพิษ
  3. ถูกขนาด คือ แม้ว่ายาสมุนไพรหลายชนิดจะไม่อันตราย แต่ปริมาณ/ขนาดของการใช้ที่มากเกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้หรือผลการรักษา โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีความทนต่อยาน้อยกว่าผู้ใหญ่ และระยะเวลาการใช้ ที่ไม่ให้ใช้ติดต่อกันนานเกินกว่าคำแนะนำที่กำหนดควรหยุดยาเพื่อให้ร่างกายได้พักและกำจัดยาออกจากร่างกาย หากจำเป็นหรือมีความประสงค์ที่จะใช้สมุนไพรเป็นเวลานาน ควรมีการตรวจร่างกายทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สมุนไพรเป็นระยะ ๆ ได้แก่ ตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
  4. ถูกวิธีวิธีการใช้ยาหรือการนำสมุนไพรมาปรุงประกอบยาให้ถูกต้องถูกตามหลัก เช่น บางชนิดต้องใช้ต้นสด คั้นน้ำ ต้มเคี่ยว ต้มกับน้ำ หรือดองเหล้า เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นที่แตกต่างจากวิธีโบราณหรือดั้งเดิม จำเป็นต้องศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนจะใช้จริง เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในพืชแต่ละชนิดมีความหลากหลาย การเปลี่ยนวิธีเตรียมยาอาจทำให้สารที่ถูกสกัดออกมาแตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดอันตรายได้
  5. ถูกโรคเช่น หากต้องการบรรเทาอาการท้องผูก ก็ต้องใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ช่วยระบาย ถ้าไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดจะทำให้ท้องยิ่งผูกมากขึ้นหรือถ้าหากจะใช้ร่วมกับการรักษาโรค หรือมุ่งหวังผลเพื่อการรักษาโดยตรง แนะนำให้หรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์แผนไทยประยุกต์ แพทย์แผนไทย หรือเภสัชกร เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุด

นอกจากหลักการพิจารณาดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักในการพิจารณาและข้อแนะนำก่อนการพิจารณาเลือกใช้ หรือขณะใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร  เช่น

  1. ควรศึกษาว่าผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรชนิดใดหรือมีส่วนประกอบของสมุนไพรใด หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด และเก็บข้อมูลในการระวังการใช้ต่อไป
  2. หมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพรหากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้สมุนไพร ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  3. หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพรสามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้

 

เอกสารอ้างอิง
1. ยุวดี วงษ์กระจ่าง, วสุ ศุภรัตนสิทธิ. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: ข้อควรระวังการใช้สมุนไพร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเเมื่อ 31มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก. https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/270/

  1. ยุวดี วงษ์กระจ่าง, วสุ ศุภรัตนสิทธิ. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน: สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันกินด้วยกันดีมั้ย[อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเเมื่อ 31 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก.

https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/209/

  1. รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล, สมภพ ประธานธุรารักษ์, วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล และจุฑาธิป เขียววงศ์จันทร์. สมุนไพรและตำรับยาไทย : การเลือกใช้ตามหลักวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: หจก.สามลดา จำกัด, 2555.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID

ศาสตร์การแพทย์ทางเลือกกับการฟื้นฟูรักษาอาการ Long COVID โดย พท.ป. วรรณดี ชิตเจริญธรรม พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล และพจ. ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ กลุ่มอาการ ภาวะลองโควิด (Long COVID) ตามนิยามของ WHO ในปี 2021 กล่าวไว้ว่า เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการการติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด (COVID – 2019) อาการลองโควิดโดยส่วนใหญ่เริ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวจากการติดเชื้อโควิด 19 แบบรุนแรงเฉียบพลัน มีความสัมพันธ์กับอาการป่วยที่รุนแรงจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นก่อนหน้า ระยะเวลาของอาการส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน และกลุ่มอาการมีความหลากหลายและกระทบกับหลายระบบในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพจิต โดยมักพบมีอาการภายหลังการติดเชื้อ 4-12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบสามารถดีขึ้นหรือแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป และ/หรือมีการกลับเป็นซ้ำใหม่ได้ ลักษณะอาการลองโควิดที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย ไอ นอนไม่หลับ […]

การดำรงชีวิตด้วยหลักธรรมานามัย

หลักธรรมานามัย หมายถึงอะไร ประกอบด้วย 2 คำ คือ คำว่า “ธรรมะ” หมายถึง ธรรมชาติ และ “อนามัย” หมายถึง การมีสุขภาพที่ดี เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายว่า การสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยวิถีทางธรรมชาติ (Healthy by natural method) ซึ่งจะให้ความสำคัญแก่สิ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ที่ช่วยให้มีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจสงบ ตระหนักรู้คิด สามารถช่วยเหลือตนเองและสังคมได้ โดยเป็นแนวคิดของศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ซึ่งเป็นหนึ่งบุคคลที่ช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขของไทย แนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทยมองสุขภาวะแบบองค์รวม มองชีวิตคนเป็นนามรูป โดยรวมกายและใจเป็นเอกพจน์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องรวมกันเป็นหนึ่ง ไม่แยกออกจากกัน เพราะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยง เป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มาเกี่ยวข้องอิงอาศัยกัน มี 3 ส่วน คือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย ความหมายของสุขภาพในการแพทย์แผนไทย คือ สุขภาพกาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติตามหลักพุทธธรรม ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของหลักธรรมานามัยในการแพทย์แผนไทย […]

บรรเทาอาการเข่าเสื่อมด้วยการพอกยาสมุนไพร

สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวมากขึ้นอัตราการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุชาวไทยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าประเทศในแถบตะวันตก เนื่องจากการใช้งานในวิถีชีวิตประจำวัน เช่น นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่าไหว้พระ อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม             อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) จะค่อยๆเป็นทีละน้อย โดยเริ่มมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานข้อเข่า บางครั้งมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว มีอาการข้อตึงหรือข้อติดเวลาใช้งานนานๆ และเมื่อเป็นมากจนกระดูกผิวข้อสึกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และอาจพบว่า ข้อเข่าผิดรูปได้ ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด อาชีพหรือลักษณะงานที่ต้องเดินหรือยืนนานๆ เมื่อผู้ป่วยใช้งานข้อเข่ามากกว่าปกติเป็นระยะเวลานานจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดและทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่าได้เร็วขึ้น การเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ทันที ต้องใช้เวลาเตรียมตัวสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ส่วนในรายที่ข้อเข่าเสื่อมมากอาจทำให้เดินไม่ไหว การนั่งยองหรือการคุกเข่า จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และถ้าผู้ป่วยข้อเสื่อมมากมักจะนั่งยองหรือคุกเข่าไม่ได้เลย เพราะพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อเข่าถูกจำกัด ทำให้งอเข่าได้ไม่สุดหรือเหยียดเข่าไม่ได้ สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนในข้อเข่าทำให้กระดูกข้อเข่าชิดกันเกินไป โดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน(Articular cartilage) ที่คลุมผิวข้อนิ่มกว่าปกติ หรือ ผิวข้อแตกเป็นร่อง และอาจมีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นและการควบคุมปลายประสาทเสียไป หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆที่นำไปสู่การเกิดข้อเข่าเสื่อมร่วมด้วย ได้แก่ อายุและเพศ โดยผู้ที่สูงอายุจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าวัยหนุ่มสาว และผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่มักเป็นเพศหญิงที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าเพศชาย การใช้ข้อผิดวิธี เช่น การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆการออกกำลังกายผิดวิธี การขึ้นลงบันไดมากเกิน การนั่งพับเพียบหรือนั่งขัดสมาธิเป็นประจำส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น การได้รับบาดเจ็บ […]

อาหารสำหรับมารดาตั้งครรภ์ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

การตั้งครรภ์ทางการแพทย์แผนไทยนั้นได้มีการอธิบายไว้ในหัวข้อ “กุมารปฏิสนธิ” จากคัมภีร์ประถมจินดา กล่าวไว้ว่า “อันว่าสตรีทั้งหลายเมื่อจะตั้งอนุโลมปฏิสนธินั้น พร้อมด้วยบิดามารดากับธาตุทั้ง ๔ ก็บริบูรณ์พร้อม คือปถวีธาตุ ๒๐ อาโปธาตุ ๑๒ เตโชธาตุ ๔ วาโยธาตุ ๖ ระคนกันเข้า” คือเกิดเพราะโลหิตบิดามารดาผสมรวมกันโดยสมบูรณ์พร้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ แพทย์สามารถสังเกตโดย ๑ เอ็นผ่านเส้นหน้าอกนั้นเขียว ๒ หัวนมนั้นคล้ำดำเข้า แล้วตั้งขึ้นเป็นเม็ดครอบหัวนม ซึ่งคนท้องส่วนมากจะมีอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายในแต่ละเดือนที่ตั้งครรภ์แตกต่างกัน จึงสมควรกินอาหารที่เหมาะสมกับอาการเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุครรภ์และอาหารที่แนะนำ เริ่มตั้งครรภ์ แพทย์แผนไทย เมื่อตั้งครรภ์ ๑๕ – ๓๐ วันจะแสดงอาการให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว  คือจะมีเอ็นเขียวผ่านหน้าอก หัวนมนั้นคล้ำดำขึ้นและมีเม็ดรอบหัวนม แพทย์แผนปัจจุบัน ผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์จาก Estrogen กระตุ้นให้มีการสะสม Melanin pigment ในเนื้อเยื่อทำให้สีผิวบริเวณส่วนต่าง ๆ เช่นที่ลานนม อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และบริเวณเส้นกลางลำตัวจากลิ้นปี่ถึงหัวเหน่า (Linea nigra) กระตุ้นการทำงานของท่อน้ำนม ต่อมน้ำนมและหัวนม ทำให้เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้นและคัดตึง เดือนที่ ๑ […]