นอนตื่นสายทำลายสุขภาพ

ความรู้แผนจีน   ลงวันที่

ในช่วงเช้าเวลา 05.00-07.00 น. ศาสตร์การแพทย์แผนจีนถือว่าเป็นช่วงที่ลำไส้ใหญ่ทำงานและพร้อมจะบีบตัวเพื่อขับของเสียที่ผ่านการทำลายออกจากร่างกายผ่านทางการขับอุจจาระและปัสสาวะเพราะฉะนั้นถ้าตื่นสายโดยเฉพาะหลังจาก 09.00น. จนถึงเที่ยงหรือบ่าย ที่บางคนมองว่าเป็นการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และสามารถชดเชยการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอในวันก่อนๆได้ ที่จริงแล้วเป็นการเข้าใจที่ผิด

ผลเสียที่จะตามมา หากนอนดึก และตื่นสาย

การตื่นสายโดยเฉพาะหลัง 09.00 น. ถึงเที่ยงหรือบ่ายจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังนี้

  1. ขาดการกินอาหารมื้อเช้า อาหารมื้อเช้ามีความสำคัญที่สุด ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในการสะสมทุนให้กับร่างกายด้วยการกินอาหารเช้า เพราะร่างกายจะย่อยและดูดซึมได้ดีแล้ว อาหารตกค้างหรือสะสมจึงมีน้อย โอกาสที่ทำให้เกิดโรคอ้วนก็ลดลง
  2. ช่วงเช้าเป็นช่วงที่บรรยากาศเป็นพิษมากที่สุด โดยเฉพาะในห้องนอน เนื่องจากห้องนอนปิดทึบ ฝุ่น หรือมลพิษจึงลอยอยู่ในห้องซึ่งเป็นภาวะยิน ฉะนั้นช่วงเช้าเราจึงควรให้แสงอาทิตย์ส่องเข้าไปทำลาย และเปิดหน้าต่างเพื่อระบายมลพิษต่างๆออกจากห้องนอน เพื่อป้องกันภาวะภูมิแพ้ หรือต้นเหตุปัจจัยทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ
  3. คนที่ทำงานมากจนถึงดึกดื่น ควรจะทำอย่างไรแนะนำให้นอนก่อน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

หยิน-หยาง

หยิน-หยาง พจ.ลดาวรรณ โชติกุลวรพฤกษ์ :  ผู้แปลและเรียบเรียง หากพูดถึงการแพทย์แผนจีน หลายคนนอกจากจะนึกถึงการฝังเข็มแล้ว ยังอาจจะนึกถึงสัญลักษณ์หยิน-หยาง หรือสัญลักษณ์รูปร่างกลมที่มีสีขาวและสีดำนั้นเอง ความหมายและความสำคัญของหยิน-หยาง หยินและหยาง (阴阳Yin-Yang) เป็นแนวคิดปรัชญาของชาวจีนที่มีมาแต่โบราณกาล ได้จากการสังเกตและค้นพบลักษณะที่สำคัญของธรรมชาติ ว่าสิ่งต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 ด้าน ซึ่งขัดแย้งกัน ต่อสู้กัน พึ่งพากัน แยกจากกันไม่ได้  โดย สีดำแทนหยิน สีขาวแทนหยาง มีการกล่าวถึง หยิน-หยาง เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกบันทึกในคัมภีร์อี้จิง《易经》ในสมัยโบราณหยินและหยาง จึงถูกนำมาใช้ในวิชาการ เช่น การพยากรณ์อากาศ ภูมิศาสตร์-ฮวงจุ้ย ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และหมายรวมถึงการแพทย์แผนจีนด้วย บทความนี้จะกล่าวถึงหนึ่งในการดูแลสุขภาพตามหลักการแพทย์แผนจีน นั้นคือการรับประทานอาหาร หรืออาหารเป็นยาได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องเช็คร่างกายเราก่อนว่ามีลักษณะเป็นไปในทางหยิน หรือ หยาง ?จากนั้นเราก็จะสามารถเลือกอาหารหยินหรืออาหารหยางได้ว่าเราควรทานอาหารลักษณะแบบไหน ลักษณะร่างกายหยิน พูดเสียงเบา ตกใจง่าย ค่อนข้างเก็บตัว หายใจเบา ชีพจรเต้นช้า หน้าซีดขาว ขี้หนาว แขนฝ่ามือ ฝ่าเท้าและขาเย็น กินอาหารได้น้อยไม่ค่อยเจริญอาหาร ท้องอืดง่ายหรือระบบย่อยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยกระหายน้ำ […]

การนวดทุยหนา

การนวดทุยหนา (TUINA) โดย พจ. รณกร โลหะฐานัส การนวดทุยหนา เป็นการปรับสมดุลลมปราณภายในร่างกาย เพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด และความเมื่อยล้า ลมปราณที่ติดขัด หรือเลือดที่หมุนเวียนไม่สะดวก การนวด จะนวดตามเส้นลมปราณ หรือจุดฝังเข็ม โดยการใช้ศอก มือ และส่วนต่าง ๆ ของมือแทนการใช้เข็ม การรักษาด้วยวิธีนวดทุยหนา จะเน้นด้านเทคนิค ฝีมือการพลิกแพลง ใช้เทคนิคการนวดด้วยมือหลายรูปแบบในการรักษา เช่น การทุบ ตบ คลึงกล้ามเนื้อ กดจุด บีบ บิด โยก หมุน รวมไปถึงการจัดเส้นเอ็น กระดูก คลายประสาท กระตุ้นให้เลือดหมุนเวียน เลือดลมเดินสะดวก คลายเส้น ปรับสมดุลหยิน-หยาง รักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เป็นต้น ทั้งนี้ แพทย์ผู้ทำการนวดทุยหนาจะต้องมีทักษะและผ่านการฝึกอบรม การนวดทุยหนาจะใช้เวลาประมาณ 20– 30 นาที   ขั้นตอนในการนวดทุยหนา ขั้นแรก นวดเพื่อกระตุ้น : เป็นการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ […]

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก

โรคภูมิแพ้กับแพทย์ทางเลือก พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล   โรคภูมิแพ้(hypersensitivity)โรคที่เกิดจาการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารเกิดภูมิแพ้ เช่นอาหาร ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดการตอบสนองอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาการที่พบได้เช่นภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก จาม ไอ หอบหืด หรือผื่นคันตามตัว คันตา คันจมูก ข้อควรทำ4 ข้อ คือ หลีกเลี่ยง กำจัด รักษา ป้องกัน หลีกเลี่ยงสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น หลีกเลี่ยง อาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ควันบุหรี่ หรือช่วงเวลาที่มีการฟุ้งกระจายของละอองเกสรดอกไม้ กำจัดสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ผ้าปูที่นอนก็ควรนำไปซักน้ำอุ่นทุกอาทิตย์ การรักษา ในทางของการแพทย์แผนปัจจุบัน จะพิจารณาให้ยาแก้แพ้ (antihistamine) หรือยากลุ่ม สเตียรอยด์ได้ ในรูปแบบของการกิน ทาผิว หรือพ่นจมูกได้ ซึ่งในมุมของแพทย์แผนจีนโรคภูมิแพ้เกิดได้จากสาเหตุ ลมเย็น หรือความชื้นทำให้อวัยวะภายในเสียสมดุลได้แก่ ปอด ม้าม ไต การรักษาของทางแพทย์แผนจีน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น 1.การฝังเข็มซึ่งจุดที่เลือกใช้ได้แก่ […]

การฝังเข็มเลิกบุหรี่

จากการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลการสูบบุหรี่ในประเทศไทย พบว่า ผลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากรในปี 2564 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 57 ล้านคน พบว่า ผู้สูบบุหรี่ 9.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบจากปี 2560 ซึ่งสูงถึงร้อยละ 19.1(กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค) ถึงแม้ว่าการเสพติดบุหรี่ เป็นปัญหาที่สำคัญทางสังคมและการแพทย์ ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมนุษย์ เนื่องจากบุหรี่มีสารพิษมากกว่า100ชนิดที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายจากการสูบบุหรี่ ทั้งนี้บุหรี่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคปอดอักเสบ โรคมะเร็ง อายุขัยสั้นลง เกิดความพิการของทารกในครรภ์ ฯลฯ นอกจากนี้ควันบุหรี่มีผลกับสมองและระบบประสาทซึ่งในควันบุหรี่มีสารนิโคตินที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท สารนี้สามารถผ่านไปสู่สมองภายในเวลา10-20วินาที หลังจากดูดบุหรี่แต่ละครั้งปริมาณนิโคตินในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งสารนิโคตินมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) ที่ควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเคลิ้มสุข(Euphoria) ความรู้สึกสุขสบายนี้จะเกิดขึ้นในการสูบบุหรี่ครั้งแรก ๆ เมื่อสูบบุหรี่ติดต่อไปในระยะหนึ่งจะเกิดการดื้อทำให้แม้ผู้สูบจะสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานก็ไม่เกิดความรู้สึกสุขสบายจากการสูบบุหรี่แต่ต้องสูบบุหรี่เพื่อระงับภาวะถอนยา หรือภาวะอยากยาทางจิต (Psychological Withdrawal Syndrome) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้แก่ เครียด หงุดหงิด ฉุนเฉียว กระวนกระวาย […]