Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล

Office Syndrome คืออะไร

เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

วิธีการรักษา

เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  และปรับสมดุลของฮอร์โมน เช่น endorphins  การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาที ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกตึง ๆ หน่วง ๆ บริเวณจุดที่ฝังเข็มได้ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีการติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหรือให้โคมร้อนเพื่อให้เข็มอุ่นขึ้นร่วมด้วย แล้วหลังจากนั้นก็จะทำการเอาเข็มออก

ระยะเวลา การรักษา

โดยปกติเราจะรักษาต่อเนื่อง อาทิตย์ละ หนึ่งถึงสองครั้งต่อสีปดาห์ ต่อเนื่องสิบครั้ง

 

การฝังเข็ม มีข้อดี – ข้อเสีย อย่างไรบ้าง?

ข้อดี : ลดการปริมาณยาที่ใช้ เช่นยาแก้ปวด หรือคนไข้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคไต เนื่องจากรักษาด้วยการกระตุ้นกลไกของร่างกายลงไปลึกได้ถึงต้นเหตุอาการปวด ได้แม่นยำ

ข้อเสีย : อาจมีระบม หรือรอยช้ำ หลังการรักษา 2-3 วัน

 

การเตรียมตัวก่อนการฝังเข็ม

  1. ควรทานอาหารก่อนเข้ารับการฝังเข็ม 1-2 ชม. เพราะถ้าฝังเข็มในช่วงผู้ป่วยอ่อนเพลีย หิว หรือแน่นท้องมากจะมีโอกาสเมาเข็ม เวียนหัว หน้ามืด
  2. ทำใจผ่อนคลาย พักผ่อน นอนหลับอย่างเพียงพอ ในคืนก่อนมารับการฝังเข็ม
  3. สวมใส่เสื้อผ้าสบายๆ ไม่รัดแน่นเกินไป

 

ข้อควรระวัง

ภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการฝังเข็ม เช่น

  • อาการเจ็บ ช้ำ หรือมีเลือดออกในจุดที่ฝังเข็ม โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือผู้ที่รับประทานยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (Warfarin) จะมีความเสี่ยงสูงกว่า
  • การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือเชื้อไวรัสเอชไอวี อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการใช้เข็มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรือใช้เข็มซ้ำ
  • อวัยวะภายในได้รับบาดเจ็บ โดยเฉพาะปอด อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีการฝังเข็มลึกเกินไป แต่มักพบได้น้อยมากในแพทย์ที่มีประสบการณ์
  • เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพราะในการฝังเข็มอาจมีการกระตุ้นไฟฟ้าร่วมด้วย ทำให้อาจไปแทรกการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • เกิดผลกระทบต่อผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะการฝังเข็มบางรูปแบบอาจไปกระตุ้นครรภ์มารดา และส่งผลต่อการคลอดบุตรได้

แต่ที่สำคัญก็ควรทำการรักษาในโรงพยาบาลหรือคลินิกถูกหลักและได้รับมาตรฐานโดยแพทย์เพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของตัวคนไข้เอง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกแพทย์แผนจีน

  • โทร 02 849 6600 ต่อ ต่อ 4018

บทความที่เกี่ยวข้อง

การฝังเข็มความงาม

การฝังเข็มความงาม (美容针灸) โดย แพทย์จีนมาลีนา บุนนาค ลู่ ศาสตร์การฝังเข็มไม่เพียงแต่เป็นการรักษาโรคเท่านั้น หากยังมีการฝังเข็มความงามใบหน้าด้วย  เมื่อการไหลเวียนโลหิต และการหมุนเวียนของพลังชี่บริเวณใบหน้าไม่ดีพอ อาจทำให้เกิดใบหน้าหมองคล้ำ ซีดเซียว หย่อนยาน ขอบตาดำคล้ำ การแสดงออกทางสีหน้าด้วยอารมณ็ต่างๆ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดสิว ผิวหน้าของเราได้รับสัมผัสกับสิ่งภายนอกตลอดปี และมีความไวต่อมลภาวะในอากาศเป็นพิเศษ ผิวหน้านั้นต้องการการดูแลอย่างอ่อนโยน การฝังเข็มความงามใบหน้า จะใช้เข็มบางขนาดเล็ก เป็นเข็มสเตอร์ไรด์ และบางกว่าเข็มรักษาโรค ใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีความปลอดภัยสูง และได้ผลดี เนื่องจากการฝังเข็มความงามใบหน้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตบริเวณใบหน้า เร่งการเผาผลาญของเสียในเซลล์ จึงช่วยให้ใบหน้ากระจ่างใส ลดริ้วรอย ฝ้า กระ สิวและรอยสิวได้ การฝังเข็มความงามใบหน้า หากต้องการเห็นผลเร็ว สามารถทำวัน เว้นวัน  โดยทั่วไปควรทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 2 ครั้ง หรืออย่างน้อยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (20 ครั้งเป็น 1 รอบการบำรุง) สำหรับผลลัพธ์แต่ละคนอาจแตกต่างกันไป ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลายอย่าง แต่สามารถทำได้เรื่อยๆ เพราะถือเป็นการบำรุงผิวหน้าอย่างหนึ่ง ถึงแม้การฝังเข็มความงามใบหน้า […]

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง (Ptosis) นพ. เอกชัย เลาวเลิศ กล้ามเนื้อเปิดเปลือกตาอ่อนแรง เกิดขึ้นได้โดยกำเนิด หรือพบในภายหลัง ทุกวัย โดยระดับความรุนแรงมากน้อยต่างกัน ส่งผลทำให้ตาดูง่วง และไม่สดใส ยังส่งผลถึงการมองเห็น ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นแคบลงด้วย (ตาขี้เกียจ) ตาปรือ ทำให้ดำเนินชีวิตลำบาก ทั้งภาพลักษณ์ บุคลิกภาพ และการใช้งานด้านการมองเห็น หนังตาตกหย่อนคล้อย ดูเศร้า ไม่สดชื่น เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย กล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรง ดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เปลือกตาบดบังทัศนวิสัย   ผ่าตัด “แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เพื่ออะไร สามารถเปิดหนังตาให้ตาดำดูโต ช่วยให้ตาแลดูสดใส มีชั้นตาชัดเจน ส่งเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น เพิ่มทัศนวิสัยในการมองเห็น จากกล้ามเนื้อเปลือกตาอ่อนแรงที่ได้รับการแก้ไข ลดความตึงเครียดจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) ซึ่งส่งผลต่ออาการปวดล้าหน้าผาก (Overuse) จนปวดศีรษะ (Headache) และลดริ้วรอยที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อได้ ช่วยเสริมบุคลิกภาพ ไม่ให้ดูเป็นคนเครียดที่ย่นหน้าผากตลอดเวลา รอยย่นที่หน้าผากจากการใช้กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle) เพื่อดึงเปลือกตาแทนกล้ามเนื้อยกเปลือกตาที่อ่อนแรง กล้ามเนื้อยกหน้าผาก (Frontalis Muscle)   ผ่าตัด […]

เบื่อไหมสายจมูก

การทำสายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Gastrostomy: PEG) โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล ประโยชน์ของการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) การให้อาหารและของเหลว: PEG ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหารทางปากได้รับสารอาหารและของเหลวที่จำเป็นผ่านทางท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร การบริหารยา: สามารถใช้เพื่อการบริหารยาที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับยาทางปากได้ ลดความเสี่ยงของการสำลัก: ช่วยลดความเสี่ยงของการสำลักอาหารและของเหลวเข้าปอด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต: ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหาร ทำให้สามารถรับสารอาหารและของเหลวได้อย่างเพียงพอ ระยะเวลาการใช้ที่ยาวนาน: เป็นวิธีการที่มีความทนทานและสามารถใช้งานได้นาน เมื่อเทียบกับการให้อาหารผ่านท่อชั่วคราว ความสะดวกสบายและปลอดภัย: PEG มีความปลอดภัยและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ป่วย เมื่อเทียบกับวิธีการให้อาหารอื่นๆ เช่น การให้อาหารทางสายยางจมูก (NG tube)   กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืน: เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดอาหารตีบ (Esophageal Stricture) หรือภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลัง: เช่น ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลังที่ส่งผลต่อการกลืน ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก คอ หรือหลอดอาหาร: […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 29

GJ E-Magazine ฉบับที่ 29 (เดือนตุลาคม 2567) “โรคระบบทางเดินปัสสาวะ” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่