วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส

ความรู้เด็ก   ลงวันที่

โรคอีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicellazoster (VZV) ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำบนผิวหนัง หรือสูดหายใจเอาละอองฝอยของสิ่งคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ โรคนี้สามารถหายได้เอง หลังจากที่ติดเชื้อจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต โดยทั่วไปในเด็กอาการจะไม่รุนแรง แต่การติดเชื้อในทารกแรกเกิดวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสเกิดโรครุนแรงและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ นอกจากนี้การติดเชื้อในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงสองไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกเกิดโรคอีสุกอีใสแต่กำเนิด (congenital varicellasyndrome) หลังจากเป็นอีสุกอีใสแล้วเชื้อ VZV ยังอยู่ใน dorsal root ganglia ของร่างกาย เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิคุ้มกันที่อ่อนแออาจได้รับการกระตุ้นเกิดเป็นโรคงูสวัด

ปฏิกิริยา

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสจัดเป็นวัคซีนที่ปลอดภัย มีปฏิกิริยาเพียงเล็กน้อยประมาณร้อยละ 5 -35 โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 20 ของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันจะมีบวมแดงร้อนได้เล็กน้อยในตำ แหน่งที่ฉีดวัคซีน

ประมาณร้อยละ 3- 5 จะมีผื่นขึ้นเฉพาะที่ และอีกร้อยละ 3- 5 จะมีผื่นแบบอีสุกอีใสขึ้นทั่วตัวโดยผื่นเหล่านี้จะมีเพียง 2-5 ตำแหน่งและอาจเป็นลักษณะของ maculopapular มากกว่าตุ่มน้ำใส โดยผื่นมักเกิดขึ้นภายในเวลา 5-26 วันหลังจากฉีดวัคซีน

ข้อพิจารณาด้านการสาธารณสุข

วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสจัดเป็นวัคซีนเผื่อเลือกไม่ได้อยู่ในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับประเทศไทย วัคซีนยังมีราคาแพง อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่า จึงยังไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนแก่เด็กไทยทุกคน วัคซีนนี้จัดอยู่ในกลุ่มวัคซีนที่อาจให้เสริม สำหรับผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดโรค สำหรับกลุ่มเสี่ยง บุคคลที่มีโอกาสไปสัมผัสหรือแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้สูงได้แก่ ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง บุคลากรทางการแพทย์ ครูหรือผู้ที่เลี้ยงเด็กจำนวนมาก รวมทั้งหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ต้องการตั้งครรภ์ วัคซีนสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุ1 ปีขึ้นไป การตรวจคัดกรองก่อนการพิจารณาให้วัคซีน ในเด็กอาศัยประวัติป่วยเป็นอีสุกอีใสที่ได้จากบิดา มารดาซึ่งเชื่อถือได้ดี ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน ถ้าเคยเป็นโรคแล้วไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่ในผู้ใหญ่ประวัติเคยเป็นโรคมาก่อนเชื่อถือได้ แต่ถ้าให้ประวัติไม่เคยเป็นอาจไม่แน่ ผลการตรวจเลือดในผู้ใหญ่ที่ให้ประวัติไม่เคยเป็นอีสุกอีใส พบว่ามีภูมิคุ้มกันโรคแล้วร้อยละ 40.59อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภูมิคุ้มกันแล้วหากฉีดวัคซีนไม่มีผลเสียใดๆนอกจากสิ้นเปลือง

ข้อห้ามและข้อควรระวัง

  1. ไม่ควรให้วัคซีนแก่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่นในรายที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง การให้วัคซีนในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่โรคสงบแล้ว ควรพิจารณาเป็นกรณีไป โดยทั่วไปอาจพิจารณาให้วัคซีนในผู้ป่วย มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง ในระยะที่โรคสงบและหยุดยาเคมีบำบัด อย่างน้อย 3 เดือนเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4+T-cells มากกว่าร้อยละ 15สามารถรับวัคซีนได้
  2. ไม่ควรให้วัคซีนแก่ผู้ที่รับประทานสเตียรอยด์ ขนาดมากกว่า 2 มก./กก./วัน หรือ 20 มก./วัน นานมากกว่า 2 สัปดาห์ ถ้าจะให้วัคซีน ควรหยุดยาสเตียรอยด์อย่างน้อย 1 เดือน
  3. ผู้ที่ได้พลาสมา อิมมูโนโกลบูลิน หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดมาไม่นาน ไม่ควรให้วัคซีนนี้ เพราะอาจรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยควรเว้นช่วงเวลาหลังจากได้รับผลิตภัณฑ์จากเลือด ก่อนจะให้วัคซีนนี้เช่นเดียวกับที่แนะนำสำหรับวัคซีน หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน ในทำนองเดียวกันคนที่ได้วัคซีนนี้ไม่ควรรับเลือด พลาสมาหรืออิมมูโนโกลบูลินในระยะ 2 สัปดาห์หลังจากได้วัคซีน
  4. ไม่ควรให้วัคซีนนี้ในหญิงตั้งครรภ์ สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนหลังจากฉีดวัคซีน ถ้าให้วัคซีนโดยไม่ทราบว่าตั้งครรภ์ ไม่ถือเป็นข้อบ่งชี้ในการทำแท้ง
  5. ผู้ที่แพ้ gelatin และ neomycin แบบ anaphylaxisควรหลีกเลี่ยงการให้วัคซีน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]