วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้า

ความรู้เด็ก   ลงวันที่

เชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคอุจจาระร่วงในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้าพบได้ทั่วโลก ทั้งในประเทศที่กำลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ทั้งที่มีระบบบริการสาธารณสุขที่ดี เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีเกือบทุกคนจะเคยเป็นโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้ามาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โรคนี้พบมากในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น โดยทั่วไปโรคจะหายได้เอง แต่ส่วนหนึ่งต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอาการขาดน้ำ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากหรือได้รับการรักษาที่ไม่เหมาะสม อาจเกิดภาวะช็อกถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั่วโลกมีผู้ป่วยที่เป็นโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าประมาณปีละ 138 ล้านราย และมีเด็กที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า 1,205 รายต่อวัน ซึ่งพบส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

ระบาดวิทยา

โรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า พบทั้งในประเทศที่กำ ลังพัฒนาและพัฒนาแล้ว ทั้งที่มีระบบบริการ

สาธารณสุขที่ดี เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีเกือบทุกคนจะเคยเป็นโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า โดย 1 ใน 5ของเด็กที่เป็นโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าต้องเข้ารักษาตัวในคลินิก เด็ก 1 ใน 50 ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และเด็ก 1 ใน 206 ต้องเสียชีวิตลงด้วยเชื้อไวรัสดังกล่าว

ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าพบได้ตลอดปี พบมากในช่วงอากาศหนาวเย็น ในประเทศเขตร้อนจะพบโรคได้ตลอดทั้งปี ประเทศไทยพบโรคนี้มากในเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม อายุที่พบบ่อยที่สุดคือ 6เดือนถึง 2 ปี ในประเทศกำลังพัฒนาพบโรคนี้ ในเด็กที่อายุน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

ภาวะแทรกซ้อน

ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีภาวะขาดน้ำรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะพร่องเอนไซม์แลกเตสทำให้ย่อยนมไม่ได้เป็นเหตุให้มีอาการท้องเดินเรื้อรังได้ ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจมีอาการรุนแรงและเรื้อรังหรือมีการติดเชื้อนอกระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้อาจพบเอนไซม์ของตับสูงขึ้น มีรายงานการติดเชื้อไวรัสโรต้าร่วมกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ necrotizing enterocolitis ในทารกฝีในตับ กล้ามเนื้ออักเสบ โรคคาวาซากิ ภาวะชัก เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ

การป้องกัน

การป้องกันสามารถทำได้โดยการดูแลสุขอนามัยอาหารและน้ำดื่ม ควรล้างมือเป็นประจำ ควรทำความสะอาดสถานที่ ของเล่น ของใช้ และภาชนะต่างๆ หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในสถานที่แออัด อย่างไรก็ตามเชื้อทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสามารถติดมือหรือติดอยู่ตามของเล่น เสื้อผ้าและของใช้ได้เป็นเวลานาน ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรต้าจึงทำได้ไม่เต็มที่นัก วัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำมาพิจารณาใช้แก้ปัญหา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]