การดูแลเด็กในช่วงเรียน online

ความรู้เด็ก   ลงวันที่

การดูแลเด็กในช่วงเรียน online

โดย แพทย์หญิงพิชยา พูลสวัสดิ์ กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนที่เหมาะกับเด็กมากที่สุดคือการเรียนที่โรงเรียน แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การเรียน online เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก สำหรับผู้ปกครองนับเป็นความท้าทายในการช่วยเหลือลูกในด้านการเรียน แต่หมอเชื่อว่าผู้ปกครองทุกท่านสามารถให้ความเชื่อเหลือลูกๆได้ดีที่สุดเท่าที่พ่อแม่จะทำได้ในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ หมอจึงอยากแชร์และอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทบทวนการดูแลลูก ๆ ในช่วงที่ต้องเรียน online เพื่อให้การเรียนของเด็ก ๆ ได้ผลดีขึ้นและทุกคนในครอบครัวมีความสุขมากขึ้นค่ะ

  1. สถานที่

สถานที่เรียน online ควรเป็นมุมสงบ ไม่มีเสียงดัง ไม่มีสิ่งเร้ารบกวน ไม่ควรมีจอทีวีหรือจออื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียน ถ้ามีพี่น้องควรจัดที่นั่งแยกกันหรือแยกห้องเพื่อไม่ให้เด็กกวนกัน

  1. จัดตารางเวลา

ควรจัดกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลา พยายามให้คล้ายกับเวลาที่ไปโรงเรียนให้มากที่สุด เช่น เวลาตื่นนอน อาบน้ำ กินข้าว เวลาเข้านอน เวลาทำการบ้าน หรือเวลาเล่น เป็นต้น การจัดตารางเวลาที่ดีและสม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กมีวินัย ฝึกความรับผิดชอบ และช่วยลดความขัดแย้งเวลาเด็กไม่ยอมทำงานหรือมีข้อต่อรองเพราะติดเล่นได้ค่ะ

  1. พักสายตา

การจ้องหน้าจอนานทำให้ตาอ่อนล้า ตาแห้ง อาจมีตามัวได้ เด็ก ๆ ควรพักสายตาเป็นระยะโดยใช้หลัก 20/20/20 คือ พักสายตาจากจอทุก 20 นาที มองสิ่งของไกล 20 ฟุต นาน 20 วินาที และอย่าลืมกระพริบตาเป็นระยะเพื่อช่วยลดการเกิดตาแห้ง

นอกจากนี้ ตำแหน่งจอ ก็มีความสำคัญ โดยจะใช้หลัก 1/2/10 ตำแหน่งมือถือควรห่างจากตัวเรา 1 ฟุต คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุค 2 ฟุต และ ทีวี 10 ฟุต

  1. ขยับร่างกาย

เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป ควรมีกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายผ่านการเล่นหรือกีฬาอย่างน้อยวันละ 60 นาที นอกจากช่วยลดความอ้วนยังช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย

  1. กิจกรรมออฟไลน์

ไม่ควรละเลยกิจกรรมออฟไลน์ เช่น การอ่านนิทาน การเล่นบอร์ดเกม ออกกำลังกาย ทำงานศิลปะ ทำงานบ้าน เป็นต้น

  1. กฎกติกาในการออนไลน์

ควรติดตามการใช้จอของเด็ก เลือกรายการที่เหมาะสม ตั้งกฎกติกาให้ชัดเจน เวลาใดที่ดูได้ และดูได้กี่ชั่วโมง โดยแนะนำไม่ควรดูจอเกิน  1 ชั่วโมงต่อวันในเด็กอายุ 2 – 5 ปี และควรเป็นรายการที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อวัย สำหรับเด็กโต ควรรักษาสมดุลของการใช้สื่อกับกิจกรรมอื่น ๆ ในครอบครัว เช่น การทำงานบ้าน การเล่นบอร์ดเกม การออกกำลังกาย การทำการบ้าน รวมถึงกิจวัตรประจำวันอื่น ๆ

สำหรับรายการที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละช่วงสามารถดูได้เพิ่มเติมทาง

https://www.commonsensemedia.org

– https://pbskids.org

– สำหรับ youtube ในเด็กน้อยกว่า 13 ปี แนะนำให้ใช้ https://www.youtubekids.com แทน youtube ของผู้ใหญ่

นอกจากนี้ยังมี application ที่ช่วยคุณพ่อคุณแม่ดูแลการใช้มือถือของลูก เช่น google family link, net care เป็นต้น นอกจากนี้ใน ios ยังสามารถดูระยะเวลาการใช้งาน application ต่าง ๆ ได้ที่ screen time ใน setting

  1. ชมเชย ให้กำลังใจกันและกัน

อย่าลืมให้คำชมเด็ก ๆ ที่ร่วมมือเรียนออนไลน์หรือทำตามกติกาที่ตั้งไว้ หมั่นถามความรู้สึกหรือความเครียดของเด็ก เปิดใจและพูดคุยกัน สำหรับผู้ปกครอง ควรให้กำลังใจกันและกัน หมั่นสำรวจอารมณ์และความเครียดของตนเอง หากพบว่าเกิดความเครียด ผู้ปกครองควรหาทางช่วยเหลือ เช่น จากครู โรงเรียน หรือสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ควรหาเวลาพักผ่อนและหากิจกรรมคลายเครียด เพราะหากผู้ปกครองมีความเครียดแล้วไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับลูกได้

แหล่งอ้างอิง

AAP, ราชวิทยาลัยกุมารเวชศาสตร์ และชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]