Cyberbullying

ความรู้ทั่วไป, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

Cyberbullying

เขียนโดย: พญ.พิชยา พูลสวัสดิ์ กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม

Cyberbullying คือ การกลั่นแกล้งผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และทางสื่อออนไลน์ อาจมาในรูปแบบของข้อความ รูปภาพล้อเลียน การกระจายข่าวลือผิด ๆ รวมไปถึงการไม่ให้เข้าร่วมกลุ่มหรือกิจกรรมต่าง ๆ เด็กอาจถูกกลั่นแกล้งผ่านทาง social media อีเมล แอปพลิเคชัน หรือเกมออนไลน์ก็ได้ ความน่ากลัวของ cyberbullying คือ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา หาตัวคนที่แกล้งยาก เนื่องจากอาจใช้ account ปลอมหรือนามแฝง และการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ยังแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว

ผลกระทบของ cyberbullying

  • ส่งผลกระทบต่อการเรียน เด็กขาดสมาธิในการเรียน ไม่อยากไปโรงเรียน
  • ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เด็กที่ถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์มีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล และนอนไม่หลับ เด็กยังไม่ความเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดในอนาคต

ทำอย่างไรดีเมื่อลูกถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์

  • อย่าขู่ลูกว่าจะยึดมือถือหรือจำกัดการเล่นสื่อออนไลน์ของลูก เนื่องจากลูกจะมองว่าเป็นการถูกลงโทษ ทำให้ต่อไปเด็กไม่กล้าบอกปัญหาเกี่ยวกับการถูกกลั่นแกล้งอีก
  • เก็บหลักฐานที่ถูกแกล้ง เช่น บันทึกภาพหน้าจอ
  • คุยกับลูกให้ลูกเล่าสิ่งที่ตนเองเจอ ถามความรู้สึกของลูก ฟังลูกอย่างเข้าใจ การที่ลูกมีใครสักคนที่รับฟังและให้กำลังใจจะช่วยให้เด็กจัดการปัญหาได้ดีขึ้น
  • ชวนลูกคิดวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นได้ โดยให้ลูกเสนอวิธีและลองทำดู โดยมีพ่อแม่คอยรับฟังไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
  • ในสื่อ social media ต่าง ๆ สามารถ report หรือ ร้องเรียน พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ ถ้าคนที่แกล้งเป็นเพื่อนที่โรงเรียนอาจปรึกษาทางโรงเรียนเพื่อหาแนวทางแก้ไข แต่หากการกลั่นแกล้งมีการข่มขู่ทำร้ายร่างกายควรแจ้งตำรวจ

การป้องกัน cyberbullying

  • คุยกับลูกเรื่อง “ความเป็นพลเมืองดิจิตอล (Digital citizenship)” การเคารพผู้อื่นในโลกออนไลน์และข้อความด้านลบส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร และพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้สื่อในเชิงบวก
  • ถามลูกเรื่องข้อความต่าง ๆ ที่เขาเห็น ส่ง หรือได้รับ และถามความรู้สึกของลูก
  • ตั้งกฎกติกาในการใช้สื่อออนไลน์

ที่มา: https://www.healthychildren.org/English/family-life/Media/Pages/Cyberbullying.aspx

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]