ลูกนอนกรน หายใจเสียงดังเวลานอน มีอันตรายหรือไม่ ?

ภาวะการนอนกรนเป็นการหายใจเสียงดัง ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ พบได้ในทุกเพศทุกวัย จากการศึกษาพบว่าเด็กประมาณ 3-12 เปอร์เซ็นต์นอนกรน การนอนกรนพบบ่อยเป็นพิเศษในช่วงอายุก่อนวัยเรียน (Preschool) หรือช่วงระดับชั้นอนุบาล เนื่องจากขนาดของต่อมอดีนอยด์ และทอนซิล ที่มักโตเมื่อเทียบกับขนาดของทางเดินหายใจเด็ก

การนอนกรนมีอันตรายหรือไม่ ?

การนอนกรนอาจ เป็นอันตรายได้ หากเกิดร่วมกับภาวะการหายใจที่ลดลง หรือหยุดหายใจในขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง เด็กเมื่อนอนแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน ก็จะนอนกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ, นอนหลับได้ไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต และการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก

Obstructive Sleep Apnea Syndrome (OSAS)

คือ ความผิดปกติของการหายใจที่เกิดขึ้นในขณะหลับ เกิดจากทางเดินหายใจที่มีการอุดกั้นบางส่วน หรืออุดกั้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ขณะหลับ ทำให้เกิดการรบกวนต่อระบบการระบายลมหายใจ และระบบการนอนหลับ

อัตราการเกิดพบประมาณ 2% ของประชากร พบในเด็กผู้หญิงพอ ๆ กับเด็กผู้ชาย จะเห็นได้ว่าลักษณะแบบไม่เป็นอันตรายพบได้บ่อยกว่ามาก อย่างไรก็ตามแพทย์มีความจำเป็นจะต้องตรวจวินิจฉัยเด็กที่ในลักษณะแบบมีอันตราย หรือมีความผิดปกติของการหายใจ และให้การรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยง (OSAS) ได้แก่

– มีต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอดีนอยด์โต

–  เด็กที่อ้วนมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
–  มีความผิดปกติของโครงสร้างของระบบทางเดินหายใจ เช่น มีกรามเล็ก, มีขนาดทางเดินหายใจแคบกว่าปกติ

–  มีความผิดปกติของสมองที่ทำให้การคุมการทำงานของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจผิดปกติ เช่น Cerebral Palsy

–  เด็กที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากสาเหตุต่าง ๆ

–  เด็กที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

–  เด็กที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง

อาการที่น่าสงสัย

  มีอาการหายใจติดขัด, หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ นอนกระสับ กระส่าย, เหงื่อออกมากเวลานอน, ตื่นนอนกลางดึกบ่อย ๆ

– ปัสสาวะรดที่นอนทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน

– อ้าปากหายใจ มีปัญหาด้านการเรียน, เรียนได้ไม่ดี

–  มีปัญหาทางพฤติกรรม, สมาธิสั้น, อยู่นิ่งเฉยไม่ได้

–  ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ

–  ง่วงเหงาหาวนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน

– มีความดันโลหิตสูง

การวินิจฉัยทำอย่างไร

ในปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาภาวะของการเกิดโรคได้ โดยการทดสอบการนอนหลับ (Pneumogram) การทดสอบการนอนหลับที่เป็นมาตรฐานเป็นการทดสอบข้ามคืนใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง เด็กจะมานอนค้างคืนที่ห้องทำการทดสอบที่จัดเตรียมไว้ ผู้ปกครองสามารถมาอยู่เฝ้าได้

การรักษา

หากพบว่าเด็กมีภาวะของโรคที่เป็นอันตรายก็จำเป็นต้องมีการรักษา การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ

การตัดต่อม Adenoid และ Tonsils ในรายที่มีต่อม Adenoid และ/หรือ Tonsils โต การตัดต่อมออกพบว่าช่วยรักษาการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับได้ถึง 75-100% จึงถือเป็นการรักษาหลังในผู้ป่วยกลุ่มนี้

ในผู้ป่วย ซึ่งมีการอุดตันของทางเดินหายใจขณะหลับเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดตันตอนหายใจเข้า หรือในผู้ป่วยที่ตัดต่อมทอนซิลแล้วยังมีปัญหา หรือในรายที่มีปัญหาสุขภาพทางด้านอื่น ไม่สามารถผ่าตัดได้จำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจในขณะหลับ (CPAP หรือ BiPAP)

การรักษาโดย การผ่าตัด เพื่อแก้ความผิดปกติของโครงสร้างของทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบกว่าปกติเป็น การทำ Craniofacial Surgery, Uvulopharyngopalatoplasty.

การรักษาอาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นปัจจัยร่วมให้เกิดปัญหาการหายใจที่ผิดปกติขณะหลับเป็นโรคภูมิแพ้, การควบคุมน้ำหนัก

ภาวะแทรกซ้อน

มีชนิดที่มีการอุดกั้นของทางเดิน หายใจร่วมด้วยในขณะหลับ ทำให้มีออกซิเจนในเลือดลดลง ดังที่กล่าวมาแล้ว หากมิได้รับการรักษา หรือแก้ไขอย่างทันท่วงทีจะทำให้เด็กมีสติปัญญาต่ำ, ระดับการเรียนรู้ต่ำลง, มีสมาธิสั้น, Active มากไม่อยู่นิ่ง, ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน, ปัสสาวะรดที่นอน, ความดันโลหิตสูง, ความดันเลือดในปอดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล Office Syndrome คืออะไร เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษา เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  […]

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้

มะเร็งตับทุกระยะ…เราดูแลให้ โดย ทีมแพทย์ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มะเร็งตับ (Hepatocellular Carcinoma) จัดเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับต้น ๆ ถือเป็นภัยร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยไปไม่น้อยในแต่ละปี ซึ่งในระยะแรก อาจไม่มีอาการใด แต่พบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพประจำปี ไปจนถึงอาการปวดจุกแน่นท้อง คลำได้ก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา หรือรุนแรงจนตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต ขาบวมในระยะท้าย แม้ฟังดูอาจเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เรามีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับทุกระยะ ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขา บุคลากรสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยและเทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้เราพร้อมดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวมในทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การตรวจคัดกรองในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง อาทิ ผู้ป่วยตับแข็งหรือมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยใช้อัลตราซาวน์และเจาะเลือดตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ หากมีความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจละเอียดเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) นอกจากนี้ หากผลตรวจยังไม่ชัดเจน อาจมีการเจาะชิ้นเนื้อตับส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษา ในส่วนของการรักษานั้น จะแบ่งตามความรุนแรง ระยะต้น สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตับและทางเดินน้ำดี (HPB surgeons) หรือจะเป็นการจี้ก้อนด้วยเข็มความร้อน (Radiofrequency ablation; RFA, Microwave ablation; MWA), เข็มความเย็น […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 28

GJ E-Magazine ฉบับที่ 28 (เดือนกรกฎาคม 2567) “โรคผิวหนัง” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่  

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่