ผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

ความรู้ COVID19, ความรู้เด็ก   ลงวันที่

ผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19

พญ.พิมพิกา หาญวัฒนานุกุล (กุมารแพทย์ทั่วไป)

ในสถานการณ์วิกฤตฉุกเฉิน เด็ก ๆ จะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจเมื่อได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต ฉุกเฉิน รุนแรง ในรูปแบบแตกต่างกันไป อาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ หรือไม่จดจ่อ เป็นอาการสำคัญที่พบได้บ่อยมากขึ้น เด็กส่วนใหญ่ที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจเพียงพอ จะสามารถปรับตัวและเรียนรู้การจัดการอารมณ์ได้เมื่อได้รับการดูแลที่เหมาะสมจากพ่อแม่ เพื่อนและคนรอบตัว อย่างไรก็ตาม มีเด็กบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะมีปฏิกิริยาทางด้านจิตใจที่รุนแรง เช่น วิตกกังวลมาก ซึมเศร้า หรือมีความคิดฆ่าตัวตายได้ โดยความเสี่ยงของเด็กในกลุ่มนี้ ได้แก่ การมีปัญหาทางสุขภาพจิตอยู่เดิม เคยมีประสบการณ์ที่ถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ครอบครัวไม่มั่นคง หรือมีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กสามารถสังเกตเห็นและมองหาเด็ก ๆ ที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยสังเกตจากสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ตามพัฒนาการตามวัยของเด็ก ดังต่อไปนี้

  1. วัย 0-5 ปี

– ติดพ่อแม่หรือผู้ดูแลมาก

– พฤติกรรมถดถอยไปจากช่วงวัยปกติ เช่น ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน

– เปลี่ยนพฤติกรรมการกินการนอน

– กลัวความมืดหรือกลัวในสิ่งที่ไม่เคยกลัวมาก่อน

– ร้องไห้งอแงและหงุดหงิด

– หยุดพูด

– ไม่เล่นหรือเล่นแค่อย่างซ้ำ ๆ

  1. วัย 6-12 ปี

– หงุดหงิดหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว

– ฝันร้าย

– พูดถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ

– แยกตัวไม่เข้าสังคมหรือไม่อยากรวมกลุ่ม

– ไม่อยากไปโรงเรียน

– รู้สึกและแสดงออกถึงความกลัว

– ไม่จดจ่อ ไม่มีสมาธิ

  1. วัย 13-18 ปี

– อยู่ไม่นิ่ง

– ไม่จดจ่อ ไม่มีสมาธิ

– แยกตัว ซึมเศร้า

– มีพฤติกรรมเสี่ยง ก้าวร้าว รุนแรง ต่อต้านสังคมเพิ่มขึ้น

– ท้าทายต่ออำนาจต่างๆมากขึ้น เช่น ต่อพ่อแม่ ครู

– ติดหรือพึ่งพิงกลุ่มเพื่อนมาก หรือติดพึ่งพิงบางอย่างมากขึ้น

– เปลี่ยนพฤติกรรมการกินการนอน

หากผู้ปกครองสังเกตเห็นเด็ก ๆ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเป็นระยะเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ ควรพาไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ได้ที่สถานพยาบาลต่าง ๆ นอกจากนั้น ผู้ปกครองเองควรดูแลสุขภาพจิตตนเองอย่างใกล้ชิด จัดการอารมณ์ตนเองอย่างเหมาะสม สร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีภายในครอบครัวเพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย

อ้างอิง: UNICEF, สสส.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยงที่มีขน

สัตว์เลี้ยงที่มีขน สัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข กระต่าย หนูตะเภา หนูแฮมสเตอร์ เป็นต้น  มีสารก่อภูมิแพ้ที่มาจากรังแค ขน หรือสิ่งขับถ่ายของสัตว์ สารก่อภูมิแพ้จากแมวและสุนัขมีขนาดเล็ก ทำให้ลอยอยู่ในอากาศได้นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการของโรคภูมิแพ้หลังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่มีแมวและสุนัข แม้ว่าจะไม่ได้สัมผัสโดยตรง สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้มีลักษณะเหนียว จึงสามารถติดตามพื้นผิวเฟอร์นิเจอร์ เบาะผ้า ผ้าม่าน ที่นอน และเสื้อผ้าได้ง่าย   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากขน รังแคสัตว์ หากมีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ควรงดเลี้ยงสัตว์ หรือนำสัตว์เลี้ยงออกจากบ้าน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงไว้ภายในบ้าน ควรอาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ทำความสะอาดพรม และเฟอร์นิเจอร์ที่เก็บฝุ่นให้สะอาด เพราะเป็นแหล่งสะสมของสารก่อภูมิแพ้ ใช้เครื่องฟอกอากาศชนิดพิเศษแบบ HEPA fitter จะช่วยลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ จากสัตว์เลี้ยงที่มีขนได้

วิธีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

อาการคัดจมูกและมีน้ำมูกมาก จะพบได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้และเป็นโรคโพรงไซนัสอักเสบ อาการดังกล่าวสามารถที่จะรักษาได้ โดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  น้ำเกลือที่ผ่านเข้าไปในจมูกจะชะล้างน้ำมูก หนอง และสารที่ไม่ต้องการออกจากโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้นและหายจากโรคได้เร็วขึ้น           วิธีการ เตรียมน้ำเกลือโดยใช้น้ำต้มสุก หรือน้ำสะอาดสำหรับดื่มปริมาณ 500 ซีซี ใส่เกลือสะอาดประมาณ 1 ช้อนชา เขย่าผสมเข้ากันให้หรือ ใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 9% หรือน้ำเกลือของสำหรับล้างจมูก ซึ่งหาซื้อได้จากโรงพยาบาลหรือตามร้านขายยา เทน้ำเกลือที่ผสมแล้วลงในแก้วสะอาดแล้วใช้กระบอกฉีดยาขนาด 10-20 ซีซี ดูดน้ำเกลือเข้าไปให้เต็ม ยืนใกล้อ่างน้ำ ก้มหน้าเล็กน้อยสอดกระบอกฉีดยาเข้าไปในรูจมูก พ่นน้ำเกลือเข้าในจมูกขณะที่กลั้นหายใจ น้ำเกลือจะถูกพ่นเข้าไปสู่โพรงจมูกแล้วไหลออกมาข้างเดียวกัน หรือออกมาจากรูจมูกอีกข้างหนึ่งหรืออาจจะไหลลงคอ บางครั้งอาจจะมีหนองไหลออกมาด้วย ทำทั้ง 2 ข้างล้างจนกว่าไม่มีน้ำมูกเหลือค้างในจมูกอาจจะแสบจมูกเล็กน้อย   หมายเหตุ หลังจากที่ล้างจมูกแล้ว ผู้ป่วยอาจจะจาม และมีน้ำมูกไหลออกมาอีกได้ ให้สั่งน้ำมูกให้หมด (หรือล้างจมูกอีกครั้งหนึ่ง) แล้วพ่นยา พ่นจมูก ตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรชะล้างจมูกในช่วงที่จมูกมีเลือดออกได้ง่าย หรือในกรณีที่แพทย์ไม่แนะนำให้ล้างจมูก

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช

ละอองเกสรจากหญ้าต้นไม้ และ วัชพืช สารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรจากหญ้า ต้นไม้ และวัชพืชสามารถก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ เช่น โรคหืด โรคเยื่อจมูกและตาอักเสบจากภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งละอองเกสรเหล่านี้จะมีอนุภาคขนาดเล็ก สามารถปลิวได้ใกลหลายกิโลเมตร ทำให้เกิดอาการในผู้ที่แพ้ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ปลูกต้นไม้ หรือหญ้าไว้ในบ้านก็ตาม โดยชนิดและปริมาณของละอองเกสรจะแตกต่างกันตามฤดูกาลและภูมิประเทศ   ละอองเกสรพืชที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ในประเทศไทย ได้แก่ เกสรหญ้าแพรก (Bermuda grass) เกสรหญ้าพง (Johnson grass) เกสรวัชพืช เช่น ผักโขม (Careless weed) สปอร์ของเฟิร์นต่างๆ เกสรพืชยืนต้น เช่น กระดินณรงค์ (Acacia) กระถิ่นณรงค์ (Acacia)   การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสร ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำสระผม เมื่อสัมผัสหรือกลับจากบริเวณที่มีละอองเกสรหญ้า วัชพืช และต้นไม้ ควรปิดประตูหน้าต่าง ในช่วงฤดูที่มีการกระจายของละอองเกสรโดยเฉพาะเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ของทุกปี เพราะจะมีการกระจายของละอองเกสร มากในประเทศไทย การติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศระบบ HEPA filter อาจช่วย ลดสารก่อภูมิแพ้จากละอองเกสรได้ […]