วัคซีนรวม

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

วัคซีนรวม

ปัจจุบันมีโรคติดเชื้อหลายโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ถ้าเราใช้วัคซีนเดี่ยวแยกฉีดป้องกันโรคแต่ละชนิด จะมีเด็กบางคนได้รับการฉีดวัคซีนหลายเข็มในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะในขวบปีแรกของชีวิต การใช้วัคซีนรวมเป็นทางเลือกหนึ่งในการแก้ปัญหาของการฉีดวัคซีนหลายๆเข็มในเวลาเดียวกัน ประโยชน์ของวัคซีนรวม นอกจากจะทำให้เด็กเจ็บตัวน้อยลง ยังทำให้สะดวก พ่อแม่ไม่ต้องเสียเวลาพาเด็กมาพบแพทย์บ่อย ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดความยุ่งยากในการจดจำ ไม่เปลืองที่ในการเก็บวัคซีนนอกจากนี้ยังทำให้มีโอกาสได้วัคซีนครบมากขึ้น อย่างไรก็ตามวัคซีนรวมยังมีข้อจำกัด ที่ต้องคำนึง

จำนวนโด๊สของวัคซีนที่ได้รับ

การใช้วัคซีนรวมอาจทำให้ได้รับวัคซีนบางชนิดมากกว่าที่แนะนำ เช่นหากใช้ DTwP+HepB 3 โด๊ส ที่อายุ2, 4 และ 6เดือน จะทำให้ได้ HepB มากเกินไป 1 โด๊สโดยหลักการแล้วแอนติเจนบางชนิด เช่น ท็อกซอยด์ของเชื้อคอตีบ และบาดทะยัก จะเกิดผลข้างเคียงมากขึ้นหากให้ฉีดจำนวนครั้งมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น แต่แอนติเจนหรือวัคซีนชนิดอื่นๆ มักไม่มีปัญหา หากให้จำนวนโด๊สมากกว่าที่แนะนำ10 โดยเฉพาะวัคซีน Hib, IPV, และ HepB เป็นวัคซีนที่มีปฏิกิริยาต่ำอยู่แล้ว จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำแม้จะให้จำนวนโด๊สมากขึ้น

ประสิทธิภาพของวัคซีนรวมในการป้องกันโรค

ส่วนประกอบในวัคซีนชนิดหนึ่งอาจทำให้วัคซีนอีกชนิดหนึ่งสูญเสียประสิทธิภาพได้ การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า วัคซีน DTwP สามารถรวมกับวัคซีน Hib ชนิดPRP-T และ Haemophilus b oligosaccharide conjugatevaccine (HbOC) ได้โดยไม่มีปัญหา2-5 แต่เมื่อนำวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ (DTaP) มารวมกับHib ชนิด PRP-T ทำให้ภูมิคุ้มกันต่อ Hib ลดลง อย่างไรก็ตามระดับภูมิคุ้มกันยังสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ส่วนวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (HepB) เมื่อนำมารวมกับ DTaPและวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด (IPV) พบว่าระดัภูมิคุ้มกันต่อHepB อาจลดลง แต่แม้จะลดลงยังคงมีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงกว่าระดับป้องกันโรคได้เป็นร้อยเท่า7 วัคซีนรวม HepAและ HepB สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่ไม่ต่างไปจากการให้แบบแยกเข็มกัน8 มีประโยชน์ในการฉีดเด็กโตที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อทั้งสองโรค

ราคาของวัคซีนรวม

วัคซีนรวมมักมีราคาสูงขึ้นกว่าวัคซีนเดี่ยว แต่ค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจน้อยกว่า ไม่ต้องมาพบแพทย์บ่อย และช่วยลดควมเจ็บปวดจากการที่ต้องฉีดหลายเข็มได้วัคซีนรวมที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย

ความปลอดภัย

วัคซีนรวมโดยทั่วไปมีความปลอดภัยสูง อย่างไรก็ตามวัคซีนรวมบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงมากกว่าการฉีดแยกเข็มได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]