นอนกรน… อันตรายแค่ไหน

นอนกรน… อันตรายแค่ไหน

โดย นพ.นพดล ตรีประทีปศิลป์

นอนกรนเป็นอาการที่พบบ่อยมาก และเกิดขึ้นได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แท้จริงแล้วเสียงกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่จมูก ช่องลำคอ โคนลิ้น หรือบางส่วนของกล่องเสียงซึ่งเกิดจากการหย่อนตัวลงในขณะหลับ จนทำให้เมื่อลมหายใจผ่านเนื้อเยื่อดังกล่าว เกิดการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังขึ้น หากบางครั้งเกิดการตีบแคบมากขึ้นจนอุดกลั้นลมหายใจทั้งหมด ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้เป็นระยะ ๆ ซึ่งเราเรียกลักษณะดังกล่าวว่า “โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA)” หรือ “ โรคหยุดหายใจขณะหลับ”

โรคหยุดหายใจขณะหลับทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้หลายอย่าง เช่น เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์และอัมพาต ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุอันเนื่องมาจากความง่วงนอนมากผิดปกติ เสี่ยงต่อความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง หรือความจำถดถอย หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้นอนร่วมห้อง และหากมีการหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก อาจทำให้มีความผิดปกติของพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสติปัญญา เกิดพฤติกรรมซุกซนก้าวร้าว ปัสสาวะรดที่นอน มีผลการเรียนที่แย่ลง หรือมีปัญหาสังคมสำหรับเด็กได้

“โรคหยุดหายใจขณะหลับ” ในประเทศไทยคาดว่า พบไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ในเพศชายหรือร้อยละ 2 ในเพศหญิง และยังพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของเด็กก่อนวัยเรียนและช่วงประถม

อาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ

  • นอนกรนดังมากเป็นประจำ จนเกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมห้อง
  • รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นบ่อย มีอาการไม่สดชื่น
  • คอแห้ง
  • ปวดศีรษะเป็นประจำตอนเช้า
  • ง่วงวนอนมากผิดปกติในระหว่างวัน
  • หงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดี
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • มีผู้อื่นสังเกตเห็นว่าหายใจม่สม่ำเสมอและมีเสียงกรนดังแต่หยุดเป็นช่วง ๆ

การตรวจวินิจฉัย

  1. การซักประวัติเกี่ยวกับสุขภาพการนอน รวมไปถึงการซักถามอาการและปัจจัยอื่น ๆ
  2. การตรวจร่างกายหาความผิดปกติศีรษะ ใบหน้า คอ จมูก และช่องปากอย่างละเอียดเพื่อประเมินลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้น รวมไปถึงการตรวจร่างกายทั่วไป หรือ ระบบ อื่น ๆ เช่น ปอด หัวใจที่เกี่ยวข้อง
  3. การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องตรวจการนอนหลับ (polysomnography) เพื่อดูว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่ และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด

แนวทางการรักษา

  1. การดูและและปฏิบัติตัวเบื้องต้น ได้แก่ การปรับสุขอนามัยการนอน งดเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนนอน หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาคลายกล้ามเนื้อ
  2. ในรายที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก ควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. การรักษาจำเพาะแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ
    • การรักษาด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) โดยมีหลักการคือเครื่องจะเป่าลมและใช้แรงดันลมเป็นตัวพยุง ด้วยแรงดันพอที่จะเปิดช่องทางเดินหายใจส่วนบนไว้ตลอดเวลาขณะหลับ
    • การใช้เครื่องมือทันตกรรม เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ
    • การรักษาด้วยการผ่าตัด

—————————————————————————————-

คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ (ENT) ให้บริการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก ได้แก่ โรคในช่องปาก ลำคอ ทอมซิลอักเสบ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก ไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ทางจมูก หวัดเรื้อรัง จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคทางหู หูอื้อ หูน้ำหนวก หูอักเสบ รูหน้าใบหู โรคเวียนศีรษะจากน้ำในหูไม่เท่ากัน รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอมซิล ไทรอยด์ ก้อนบริเวณหูและคอ และการตรวจรักษาในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ OAE, Audiogram, Tympanometry, ABR

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

-ในเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. โทร 02-849-6600 ต่อ 2571-2574

 

ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก ให้บริการตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการนอนหลับ และบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)
เปิดให้บริการทุกวัน 8.00 – 20.00 น. โทร 0613849154 หรือไลน์แอด @sleeplabgj

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]