โภชนาการสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

โภชนาการสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

การให้นมลูกเป็นสิ่งที่สำคัญ หน้าที่ของแม่นอกจากจะอุ้มท้องลูกถึง 9 เดือนแล้ว เมื่อลูกออกมาลืมตาดูโลก แม่ก็ยังคงดำเนินหน้าที่อยู่อย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ “การให้นม” น้ำนมบริสุทธิ์ที่เต็มไปด้วยสายใยรักและสารอาหารที่คุณค่าสำหรับลูก ซึ่งรู้หรือไม่ว่า การที่คุณแม่จะผลิตน้ำนมที่ทรงคุณค่านี้ได้ ร่างกายของแม่ต้องพร้อมทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ ดังนั้นภาวะโภชนาการของแม่เป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่หลายคนที่มีความกังวลกับการให้นมลูก และการกินอาหารของตัวเอง เพราะแน่นอนว่าอาหารที่กินเข้าไปมีผลต่อน้ำนมที่ลูกกิน เนื่องจากถ้าแม่มีโภชนาการที่ดี ลูกน้อยก็จะแข็งแรง สมบูรณ์ ดื่มนมจากอกของแม่ อาหารที่ดีของลูก เริ่มต้นที่น้ำนมของแม่ ดังนั้นเนื่องด้วยเดือนสิงหาคมของทุกปี เปรียบเสมือนเป็นเดือนของแม่ ทางงานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีแนวทางกินอย่างไรให้น้ำนมแม่มีคุณภาพและมีปริมารที่เพียงพอกับความต้องการของลูกมาฝากคุณผู้อ่านกันดังนี้

ช่วงหลังคลอดคุณแม่ต้องการสารอาหารมากกว่าตอนตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้สำหรับผลิตน้ำนม  จึงควรกินอาหารให้ครบถ้วนทั้ง  5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง วันละ 10-12 ทัพพี  กลุ่มผัก วันละ 6 ทัพพี  กลุ่มผลไม้ วันละ 6 ส่วน   กลุ่มเนื้อสัตว์ 12-14 ช้อนกินข้าว และกลุ่มนม วันละ 2-3 แก้ว  แต่ละกลุ่มให้กินในปริมาณที่เพียงพอและหลากหลาย แต่สำหรับไขมัน เกลือ และเครื่องปรุงต่างๆ ควรใช้น้อยๆเท่าที่จำเป็น และไม่กินอาหารรสหวาน

 

กลุ่มอาหาร หน่วย ปริมาณ
ข้าวแป้ง ทัพพี 10 – 12
เนื้อสัตว์ ช้อนกินข้าว 12 – 14

ผัก

ทัพพี 6
ผลไม้ ส่วน 6
นม แก้ว 2 – 3
ไขมัน น้ำตาล เกลือ น้อย ๆ เท่าที่จำเป็น

 

หญิงให้นมบุตรต้องกินยาเม็ดเสริมไอโอดีน ธาตุเหล็กและโฟลิกทุกวัน เพื่อให้น้ำนมแม่มีคุณภาพและสารหารที่ครบถ้วนสำหรับลูกน้อย และสำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน ไม่ควรกินอาหารอื่นรวมทั้งน้ำนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งแม่ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือหิวน้ำ เนื่องจากในนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วน และน้ำอยู่แล้ว และยังช่วยป้องกันทารกจากเจ็บป่วยได้อีกด้วย

ดังนั้นหากคุณแม่เตรียมร่างกายให้พร้อม เลือกกินอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอ และมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมแม่ ทำให้ลูกเจริญเติบโตแข็งแรง สมส่วนกับวัยของลูกนั่นเอง

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

 

ขอบคุณข้อมูลจากกองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตเขตสุขภาพที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มส่งเสริมโภชนาการสตรีและเด็กปฐมวัย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]