กระดูกข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่ทุกคนมีโอกาสเกิดขึ้นได้

กระดูกข้อเข่าเสื่อม ภาวะที่ทุกคนมีโอกาสเกิดขึ้นได้

โดย นพ.ธรรมพงษ์ คงคณิน

                ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในกลุ่มวัยกลางคน มีแนวโน้มพบได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยการใช้ชิวิตประจำวัน เช่น อาหารการกินที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายที่ไม่พอเหมาะ เป็นต้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ข้อเข่ามีผิดรูป ขาโก่ง เดินได้ไม่ปกติ มีปัญหาในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ทำให้เกิดความทุกข์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

  1. ภาวะการเสื่อมแบบ ปฐมภูมิ หรือ ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเกิดจากอายุที่มากขึ้น มักพบในกลุ่มอายุที่มากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นการเสื่อมสภาพของ กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างการรับน้ำหนัก และมีผลต่อการทำงานกระดูกข้อต่อมีปัญหา โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนัก พฤติกรรม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
  2. ภาวะการเสื่อมแบบ ทุติยภูมิ เป็นการเสื่อมที่มีสาเหตุนำมาก่อน ทั้งเกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ เป็นต้น หรือ เกิดจากการเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณกระดูกข้อเข่า ทั้งเส้นเอ็น หมอนรองกระดูก รวมทั้งอาจจะเคยมีการติดเชื้อข้อเข่ามาก่อนก็สามารถทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

สัญญาณบ่งชี้ภาวะข้อเข่าเสื่อม

  1. อาการปวดบริเวณเข่า ทั้งตอนเริ่มเคลื่อนไหวเหยียดงอเข่า มีปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก โดยเฉพาะตอนขึ้นบันได อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งพัก
  2. อาการข้อเข่าติดขัด ฝืด ในข้อเข่า มักจะพบอาการในตอนเช้าหลังตื่นนอน และเมือหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
  3. รู้สึกว่ามีเสียงในเข่า กรึบกรับ เวลาขยับข้อเข่า สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการปวด
  4. กล้ามเนื้อต้นขาลีบ เมื่อเทียบกับอีกข้าง แต่อาจจะประเมินได้ยากในกลุ่มคนไข้ที่เริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อมทั้งสองข้าง
  5. เมื่อเริ่มมีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น จะทำให้เกิดการผิดรูปของข้อเข่า ขาโก่ง/ขาฉิ่งมากขึ้น หรือมีข้อเข่าหลวมร่วมด้วยเวลาเดิน

การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม

การรักษาด้วยมีทั้ง การรักษาด้วยยา/กายภาพบำบัด หรือ การผ่าตัดภาวะข้อเข่าเสื่อม

 การรักษาทางเลือกโดยการไม่ผ่าตัด :

    • รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ หรือกลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก
      • ในปัจจุบัน จะเริ่มการรักษาด้วย ยาแก้ปวดกลุ่มพาราเซตามอล และยาต้านการอักเสบที่ไมใช่สเตียรอยด์ รวมทั้งอาจจะมียาเสริมด้วย ยากลุ่มกลูโคซามีนซัลเฟต [Glucosamine sulfate] เพื่อช่วยชะลอภาวะเสื่อม และซ่อมแซมผิวข้อ
    • การฉีด สารเข้าข้อเข่า ในปัจจุบันมีการพัฒนา เป็นสารน้ำเลี้ยงไขข้อ มีหลายรูปแบบ ที่สามารถช่วยลดอาการปวดได้
    • การทำกายภาพบำบัด เช่น การบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าให้แข็งแรง การใช้ความร้อน การฝังเข็ม

การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด ข้อเข่าเสื่อมลุกลาม เช่น การลดน้ำหนักให้เหมาะสม การออกกำลังกายเพื่อเสริม
สร้างกล้ามเนื้อรอบเข่า การใช้ชีวิตประจำวันที่เสี่ยงให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม เช่นการนั่งพับเพียบเป็นเวลานาน การนั่งคุกเข่า เป็นต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการรักษาที่ดี

การรักษาด้วยการผ่าตัด ในปัจจุบันจะแบ่งตามกลุ่มอายุ และสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย

    • ในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย ที่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือมีขาผิดรูป จะเป็นการผ่าตัดปรับแนวข้อเข่า โดยการแก้ไขแนวแรงให้กระจายไปยังจุดที่ผิวข้อมีสภาพดี เพื่อลดอาการปวด
    • ในกลุ่มผู้ป่วยอายุมากกว่า 50-60 ปี อาจจะพิจารณาการผ่าตัด เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม โดยมีทั้งแบบ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อบ่งชี้ และข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2161,3094

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]