วัคซีนไอพีดี

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

วัคซีนไอพีดี

การติดเชื้อแบคทีเรีย  Streptococcus pneumoniae  เป็นโรคที่สามารถรุกรานและแพร่กระจาย เป็นโรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคนี้มีการติดต่อทางการหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยูในลำคอของเด็กและผู้ใหญ่ เมื่อเยื่อบุโพรงจมูกและลำคอถูกทำลายจากไวรัส เชื้อแบคทีเรียจะเริ่มลุกลามเข้าหูชั้นกลาง, ปอด, เยื่อหุ้มสมองและกระแสเลือดได้ อาการของการติดเชื้อดังกล่าวมีได้ตั้งแต่ปวดหู, หูบวม, แดงร้อน, มีน้ำหนองไหลจากหู, มีไข้,หายใจหอบเหนื่อย, ปวดศรีษะ, คอแข็ง, ชักเกร็ง และซึมหมดสติ พยาธิสภาพของโรคปอดบวมที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดพบเพียงประมาณ 25%1 แต่การดำเนินของโรครุนแรงทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอาจมีความพิการตามมาถ้าเชื้อโรคมีการกระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองเด็กจะมีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่อยูในลำคอในปริมาณที่มากกว่าผู้ใหญ่จึงทำให้การแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียเกิดได้ง่าย

เชื้อแบคทีเรีย  Streptococcus pneumoniae  มี 90 สายพันธ์ จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2 พบว่าสายพันธ์ที่พบบ่อย 5 สายพันธ์คือ 6B (13.6%), 19A (12.6%), 14 (8%), 18C (5.9%) and 6A (3.8%) อุบัติการณ์ของสายพันธ์ 19A ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นถึง 25% ในปี 2012 วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันของตนเองขึ้น ซึ่งทำให้สามารถป้องกันท่านหรือลูกของท่านจากการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆที่เกิดจากเชื้อนี้ ขณะนี้ในประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 3 ชนิด เป็นวัคซีนชนิดคอนจูเกต 2 ชนิดและเป็นวัคซีนชนิดโพลีซัคคาลายด์ 1 ชนิด วัคซีนชนิดคอนจูเกตจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าวัคซีนชนิดโพลีซัคคาลายด์

วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต 2 ชนิดมีดังต่อไปนี้

  1. วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส13 ซีโรไทป์ชนิดคอนจูเกต จะป้องกันสายพันธุ์ดังต่อไปนี้คือซีโรไทป์ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19Fและ 23F จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2,3 พบว่าวัคซีนชนิดนี้มีซีโรไทป์ที่ตรงกับสายพันธ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 73.2 – 92%
  2. วัคซีนป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส10 ซีโรไทป์ชนิดคอนจูเกต จะป้องกันสายพันธุ์ดังต่อไปนี้คือซีโรไทป์ 1, 4, 5, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19Fและ 23F จากการเก็บข้อมูลของสายพันธ์ในประเทศไทย2,3 พบว่าวัคซีนชนิดนี้มีซีโรไทป์ที่ตรงกับสายพันธ์ที่ก่อโรคในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 48.8 – 74%

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]