• Home
  • Blog
  • ความรู้ COVID19
  • คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

ความรู้ COVID19, ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

คำแนะนำการปฏิบัติระหว่างการแยกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการที่บ้าน (Home Quarantine) สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน โควิด-19

 

โรคโควิด-19 (COVID-19)

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในตระกูลโคโรนาไวรัส สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยการหายใจเอาละอองฝอยน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ที่ติดเชื้อเข้าไปจากการไอ จาม และพูดคุยกัน เชื้อยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก จมูก และตา ผ่านมือที่ปนเปื้อนเชื้อจากการสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้ออยู่

 

ผู้ที่ติดเชื้อนี้อาจมีอาการป่วยหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ อาการของโรค โควิด-19 มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนถึงอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้อาการที่พบได้บ่อย เช่น ไข้น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป หายใจหอบเหนื่อย เป็นต้น

 

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง โรคอ้วน โรคมะเร็งโรคไตเรื้อรัง กลุ่มอาการดาวน์ โรคธาลัสซีเมีย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ระยะฟักตัวของโรค (ระยะเวลาหลังจากที่รับเชื้อแล้วแสดงอาการหรือตรวจพบเชื้อ) ประมาณ 2-14 วัน

 

ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรค โควิด-19 และยังไม่มีอาการจึงมีความจำเป็นต้องแยกกักตัวเพื่อสังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลา 14 วันนับจากวันสุดท้ายที่สัมผัสโรค เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น หากเกิดการติดเชื้อ ยกตัวอย่างเช่น วันสุดท้ายที่สัมผัสผู้ป่วย โควิด-19 คือ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้น

 

วิธีการสังเกตอาการที่บ้านในช่วงแยกกักตัว 14 วัน

สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจทุกวันโดยแนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกาย

  • อาการไข้ ได้แก่ เมื่อวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปหรือมีอาการตัวร้อนหนาวสั่นปวดเมื่อยตัว
  • อาการระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไปหายใจหอบเหนื่อย

 

หากมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบไปพบแพทย์โดยใช้รถส่วนตัว ผู้ป่วยและผู้ร่วมเดินทางทุกคนใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากเป็นรถยนต์ให้เปิดหน้าต่างรถไว้เสมอ

 

การปฎิบัติตัวระหว่างแยกกักตัวระหว่างแยกกับตัว 14 วันที่บ้านที่พักเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น ๆ

  1. ให้หยุดอยู่บ้าน ไม่เดินทางออกนอกบ้าน หรือเข้าไปในสถานที่แออัดที่มีคนจำนวนมาก
  2. ควรนอนแยกห้องเดี่ยว
  3. สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่น ๆ ในบ้านโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อย 2 ช่วงแขน
  4. รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น
  5. ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้าผ้าเช็ดตัว ช้อนส้อม แก้วน้ำ เป็นต้น
  6. สำหรับห้องน้ำ หากเป็นไปได้ควรใช้ห้องน้ำแยกกัน หรือถ้ามีห้องน้ำเพียงห้องเดียว แนะนำให้ใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้ายและปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำทิ้ง
  7. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีก็รณีไม่มีน้ำและสบู่ สามารถล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  8. การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ใส่ถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และทำความสะอาดมือถือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  9. เมื่อไอจามควรไอใส่ต้นแขน หรือใช้กระดาษทิชชู่ปิดจมูกและปากถึงคาง แล้วทิ้งในถุงพลาสติกและปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง หลังจากนั้นทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือน้ำและสบู่ทันที
  10. ทำความสะอาดบริเวณที่พัก เช่น เตียง โต๊ะ บริเวณของใช้รอบตัว รวมถึงห้องน้ำด้วยน้ำยาฟอกขาว 5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ (น้ำยาฟอกขาวหนึ่งส่วนต่อน้ำสะอาด 99 ส่วนน้ำยาฟอกขาว 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร
  11. ทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ด้วยสบู่หรือผงซักฟอกธรรมดาและน้ำ

 

*****************************

การปฏิบัติตัวของผู้อยู่อาศัยร่วมบ้านของผู้ที่แยกกักตัว 14 วันและการทำลายเชื้อในสิ่งแวดล้อมในบ้าน

  1. ทุกคนในบ้านควรสวมหน้ากากอนามัย
  2. ควรล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน หรือมีการปนเปื้อน รวมถึงล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อลดการรับและแพร่เชื้อ โดยใช้น้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70%
  3. เฝ้าระวังอาการเจ็บป่วยของผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือสมาชิกในบ้าน ภายในระยะเวลา 14 วัน หลังสัมผัสผู้ป่วย
  4. ควรนอนแยกห้องกับผู้ที่ต้องสังเกตอาการหรือห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร และปิดหน้าต่าง
  5. ไม่รับประทานอาหารและใช้ของส่วนตัวร่วมกัน

 

**หากมีอาการเจ็บป่วยภายใน 14 วันหลังสัมผัสโรคหรือมีข้อสงสัยสามารถโทร 02-8496600**

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]