อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

 

 

วัยทารก

แรกเกิด – 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับวัยนี้ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ทารกต้องการอย่างครบถ้วน แต่ถ้าอายุครบ 6 เดือน เข้าสู้ช่วงหย่านม อาจเริ่มให้อาหารบดทีละชนิดเพื่อให้รู้จักการบดเคี้ยว ติดตามดูอาการแพ้ของอาหารชนิดต่างๆ ไม่ควรเติมเกลือ น้ำตาลและสารปรุงรสเพื่อไม่ให้เด็กติดหวานและเค็ม สามารถให้นมแม่หรือนมผงสำหรับเด็กทารกไปพร้อมกับการให้อาหารอื่นๆได้

 

วัยเด็ก

เด็กวัยก่อนเรียน อายุ 1-5 ปี ยังไม่สามารถรับประทานอาหารได้เยอะมากนัก ควรป้อนอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และของว่างที่มีประโยชน์ ฝึกให้เด็กกินผักโดยอาจจะหั่นเป็นชิ้นเล็กสอดแทรกลงไปในอาหารให้มีสีสันสวยงาม น่ารับประทาน ฝึกให้เด็กหยิบจับอาหารด้วยตัวเอง

เด็กวัยเรียน อายุ 6 – 12 ปี ควรให้ความสำคัญกับอาหารเช้า รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ วัยนี้มักจะเลือกอาหารที่เข้าถึงได้ง่ายที่มีขายอยู่ทั้งในและนอกโรงเรียน หรือใกล้ที่พักอาศัย ควรมีการให้ความรู้ทางโภชนาการและปลูกฝังพฤติกรรมทการบริโภคอาหารที่เหมาะสม

ควรให้เด็กได้บริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อให้ได้รับโปรตีนและแคลเซียม นำไปใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งนมที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือ นมครบส่วน หรือนมไขมันเต็มเพราะให้พลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ควรเป็นนมรสจืดที่ไม่ปรุงรส

 

วัยรุ่น

วัยนี้สามารถรับประทานอาหารได้มาก เพราะมีการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็ว ต้องการอาหารที่มีพลังงานสูงแต่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน วัยรุ่นมักจะให้ความสำคัญกับรูปร่างและสัดส่วนของร่างกายซึ่งไม่ควรใช้วิธีการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่ควรใช้วิธีการรับประทานอาหารให้ถูกสัดส่วนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

วัยผู้ใหญ่

อาหารสำคัญของคนวัยนี้ควรเลือกอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ข้าว/แป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลต์วีต และธัญพืชต่างๆ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนพอประมาณ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตยอง

 

ผู้สูงอายุ

วัยนี้จะมีการเสื่อมถอยของร่างกาย ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง เลือกโปรตีนคุณภาพดีจากไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เสริมสร้างกระดูกด้วยนมและผลิตภัณฑ์จากนม ปลาเล็กปลาน้อย งาดำ เต้าหู้แข็ง และผักใบสีเขียวเข้ม

 

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]