• Home
  • Blog
  • เคล็ด (ไม่) ลับ รู้ก่อนใคร ห่างไกลมะเร็ง

เคล็ด (ไม่) ลับ รู้ก่อนใคร ห่างไกลมะเร็ง

   ลงวันที่

เคล็ด (ไม่) ลับ รู้ก่อนใคร ห่างไกลมะเร็ง

 

 

โรคมะเร็งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศของไทยโดยที่มีปัจจัยเสี่ยงทั้งจากภายนอกและภายในร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม การได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย พยาธิบางชนิด ความผิดปกติทางพันธุกรรมของร่างกายและความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เกิด ระยะการดำเนินโรค สภาพร่างกายและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วย

อาหารเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอาหารที่มีราสีเขียว – สีเหลืองขึ้น  อาหารที่มีไขมันสูง  อาหารเค็มจัด  ส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่างและรมควัน  อาหารแปรรูป และ/หรือ ถนอมอาหารด้วยเกลือและดินประสิว ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารเหล่านี้ก็อาจจะเป็นทางหนึ่งในการลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ โดยหลักของการรับประทานอาหารเพื่อต้านมะเร็งหรือลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งนั้น มีดังนี้

  • รับประทานผักให้หลากสีเพื่อความหลากหลายทางคุณค่าอาหาร
  • รับประทานผลไม้เป็นประจำเพราะมีวิตามิน เกลือแร่และเส้นใยอาหารที่ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย
  • รับประทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีให้น้อยที่สุดเพื่อให้คงคุณค่าทางโภชนาการไว้และเส้นใยจากธัญพืชจะช่วยพาสารที่เป็นโทษต่อร่างกายออกไปเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทางเดินอาหารและมะเร็งในลำไส้ใหญ่
  • เพิ่มการใช้เครื่องเทศในอาหารเพื่อให้ได้รับแร่ธาตุ วิตามิน และสารประกอบอื่นๆ
  • ปรุงอาหารให้ถูกวิธี เช่น ไม่ปิ้ง ย่าง อาหารประเภทเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด และไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆครั้ง เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทั้งจากพืชและจากสัตว์
  • ลดการบริโภคเนื้อแดงเพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง
  • ลดการบริโภคอาหารหมักดองเพราะอาจทำให้ได้รับโซเดียมมากเกินไป

ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ถูกตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งอยู่นั้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

 

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. อาหารต้านมะเร็ง. เข้าถึงโดย :

                http://www.nci.go.th/th/Knowledge/downloads/9k.pdf

     กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

                อาหารต้านมะเร็ง. เข้าถึงโดย : http://pca.fda.moph.go.th/public_media_ detail.php

                ?id=6&cat=62&content_id=1373

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]