อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน

อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน (Exccessive Daytime Sleepiness)

โดย นพ.นพดล ตรีประทีปศิลป์

อาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวันคือ อาการที่คนเราไม่สามารถตื่นหรือตื่นตัวได้ระหว่างวันในสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่สำคัญส่งผลให้ไม่สามารถระงับการนอนหลับ หรือภาวะง่วงนอนได้แม้อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงที่เรียกว่า โรคลมหลับ ซึ่งหมายถึง การมีอาการง่วงนอนที่ไม่สามารถต้านทานได้จนหลับไปแบบทันทีทันใดไม่ทันรู้สึกตัว

อาการร่วม : อ่อนเพลีย สมองเฉื่อยชา มึนงง

สาเหตุหลัก ๆ :

  1. จำนวนช่วงโมงที่นอนไม่เพียงพอ
  2. คุณภาพการนอนที่ไม่ดี ทำให้หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นบ่อย เช่น อาจจะเกิดจากภาวะนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ  หรือ ภาวะขาอยู่ไม่สุขขณะหลับ
  3. ปัจจัยอื่น ๆ เช่น จากยาบางตัวที่ทำให้ง่วง, โรคทางกาย เช่น ภาวะบกพร่องฮอร์โมน ไทรอยด์ หรืออาการเจ็บป่วยทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคจากการหลับ เช่น ภาวะลมหลับ

เมื่อใดควรพบแพทย์ :

  1. เมื่อรู้สึกความง่วงระหว่างวันนั้นมีปัญหารบกวนกับคุณภาพชีวิตหรือการทำงาน
  2. หากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาที่รีบด่วน เช่น งีบหลับหรือหลับในขณะขับรถจนเกือบเกิดอันตราย หรือไม่สามารถ ทำางานระหว่างวันได้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์

———————————————————————————————————–

คลินิกโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ (ENT) ให้บริการวินิจฉัยและรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับหู คอ จมูก ได้แก่ โรคในช่องปาก ลำคอ ทอมซิลอักเสบ เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก ไทรอยด์ โรคภูมิแพ้ทางจมูก หวัดเรื้อรัง จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคทางหู หูอื้อ หูน้ำหนวก หูอักเสบ รูหน้าใบหู โรคเวียนศีรษะจากน้ำในหูไม่เท่ากัน รวมถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดทอมซิล ไทรอยด์ ก้อนบริเวณหูและคอ และการตรวจรักษาในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินด้วยเครื่องมือพิเศษ OAE, Audiogram, Tympanometry, ABR

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่

-ในเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.00 น. โทร 02-849-6600 ต่อ 2571-2574

 

ศูนย์ตรวจการนอนหลับกาญจนาภิเษก ให้บริการตรวจวิเคราะห์ และวินิจฉัยโรคต่าง ๆ แก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการนอนหลับ และบริการให้คำปรึกษา และคำแนะนำการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) เพื่อใช้รักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA)
เปิดให้บริการทุกวัน 8.00 – 20.00 น. โทร 0613849154 หรือไลน์แอด @sleeplabgj

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]