ทำบุญเข้าพรรษายุคใหม่ ตักบาตรด้วยใจ สงฆ์ไทยไกลโรค

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

ทำบุญเข้าพรรษายุคใหม่ ตักบาตรด้วยใจ สงฆ์ไทยไกลโรค

 

ใกล้ถึงช่วงเข้าพรรษาแล้ว ชาวพุทธหลายท่านคงเตรียมข้าวของ จัดสำรับอาหารไปทำบุญ ตักบาตร หรือปฏิบัติธรรมที่วัด ซึ่งวันเข้าพรรษาถือเป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา”  เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

สำหรับกิจกรรมทางศาสนาที่นิยมปฏิบัติ คือ ไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เจริญสมาธิภาวนา ถือศีลและการถวายผ้าอาบน้ำฝน ซึ่งการทำบุญ ตักบาตรสำหรับชาวพุทธในวันสำคัญเช่นนี้ เชื่อว่าทุกคนมีความตั้งใจที่จะจัดเตรียมอาหารคาว อาหารหวานอย่างประณีต เพื่อถวายแด่พระสงฆ์ แต่อาหารที่เรานำไปถวายนั้นควรใส่ใจในเรื่องของการเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้หลายคนเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ แทนการประกอบอาหารด้วยตัวเอง

การเตรียมอาหารใส่บาตรถวายพระสงฆ์นั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก นั่นคือ คุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งงานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีแนวทางการจัดอาหารใส่บาตรที่ถูกต้อง และดีต่อสุขภาพของพระสงฆ์มาบอกเล่าให้ผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติกัน

 

เทคนิคการจัดอาหารตักบาตรเพื่อสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์

  • เสริมข้าวกล้อง เลือกตักบาตรด้วยข้าวกล้อง หรืออาจสลับกับอาหารประเภทแป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวโพด เผือก มัน และธัญพืชต่างๆ
  • เสริมผัก จัดเมนูผักให้มากขึ้นและหลากหลายเพื่อให้ได้วิตามิน แร่ธาตุ และกากใยอย่างเพียงพอ
  • เสริมปลา จัดเมนูปลาให้ได้ฉันเป็นประจำ เช่น เมี่ยงปลาทู ปลานึ่งมะนาว ต้มยำปลา เป็นต้น หรืออาจเลือกอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพดี แต่มีไขมันต่ำ เช่น ไข่ อกไก่ สันในหมู และเนื้อสัตว์ต่างๆที่ไม่ติดไขมัน เป็นต้น
  • เสริมนม อาหารประเภทผัด หรือแกงที่มีส่วนประกอบของกะทิ ให้ลดกะทิลง แล้วใช้นมจืดไขมันต่ำ หรือนมไร้ไขมันแทนกะทิผสมลงไปเพราะนมมีโปรตีนและแคลเซียมสูง ลดความเสี่ยงกระดูกพรุน หรือเลือกนมเป็นน้ำปานะแทนน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม หากไม่อยากถวายนมวัว สามารถใช้นมถั่วเหลืองแทนได้แต่ควรเลือกสูตรหวานน้อยและมีแคลเซียมสูง
  • ลดหวาน เลือกผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีน้ำตาลน้อยโดยสามารถอ่านจากฉลากโภชนาการ ควรเลือกผลไม้แทนขนมยอดนิยม เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น ปลากริม ลอดช่อง ฯลฯ หากจำเป็นควรเลือกขนมที่หวานน้อย รวมถึงอาหารคาวที่ปรุงประกอบเองนั้นก็ไม่ควรปรุงรสหวานมากนัก
  • ลดไขมัน ลดการทอดและแกงกะทิลง ควรเลือกเมนูที่ใช้ไขมันน้อย เช่น ต้ม ตุ๋น ปิ้ง ย่าง นึ่ง จี่
  • ลดเค็ม ควรจำกัดปริมาณเกลือโซเดียมที่มาจากเครื่องปรุงต่างๆ ได้แก่ เกลือแกง ผงชูรส ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว รวมถึงโซเดียมจากอาหารหมักดอง อาหารแปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป

เพียงเท่านี้พระสงฆ์ก็จะมีตัวเลือกในการฉันภัตราหารต่างๆที่ถูกหลักโภชนาการ และเราก็ใส่บาตรได้อย่างสบายใจ  แนวโน้มสุขภาวะของพระสงฆ์ไทยก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สามารถปฏิบัติศาสนกิจ เผยแผ่พระธรรมคำสอน และเป็นเนื้อนาบุญแห่งพุทธศาสนาสืบต่อไป

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก:

ปัญจวรา บุญสร้างสม, “ใส่ใจลงในบาตร” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

กระทรวงสาธารณสุข.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]