วัคซีน คืออะไร…แล้วทำไมเราถึงต้องฉีดวัคซีน ?

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

วัคซีน (Vaccine)

คือสารชนิดหนึ่งที่ฉีดเข้าไปร่างกาย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ส่วนใหญ่ทำมาจากเชื้อโรค แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้วมีสารของเชื้อโรคมาฉีดเข้าตัวเรา และ ทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ ทำให้มันสลบพิษจะได้ไม่รุนแรง เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายคนเรา ร่างกายเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกัน กับโรคนั้นๆ

วัคซีนสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่?

สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งในปัจจุบันจะมีตารางสำหรับฉีดวัคซีน ว่าควรเริ่มฉีดตั้งแต่อายุเท่าไหร่

วัคซีนชนิดต่างๆ

  1. วัคซีนBCGป้องกันวัณโรค
    • ฉีด0.1MLที่ไหล่ซ้าย
    • ถ้าไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้นถ้าไม่มีหลักฐานว่าเคยได้มาก่อน ให้ฉีดซ้ำเมื่ออายุ6เดือน
    • ถ้าเคยได้วัคซีนมาก่อน ไม่ต้องฉีดซ้ำแม้ว่าจะไม่มีแผล
  2. วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี
    • เด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มถ้าไม่มีข้อห้ามและเข็มสุดท้ายต้องอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เดือน
    • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลลบ หรือไม่ทราบผลก็ให้ฉีดวัคซีนจำนวน 3 ครั้งเมื่อแรกเกิด อายุ1-2เดือน และอายุ 6 เดือน
    • ทารกที่คลอดจากมารดาที่ HBsAg ให้ผลบวก(โดยเฉพาะถ้าHBeAg เป็นบวกด้วย) พิจารณาให้ภูมิต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBIG 0.5 ซีซีภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด และให้วัคซีนครั้งที่1พร้อมๆกันคนละตำแหน่งกับที่ฉีด HBIG วัคซีนเข็มที่2 ให้เมื่ออายุ1-2 เดือน และครั้งที่3เมื่ออายุ 6 เดือน
    • ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก แต่ไม่มียา HBIG ควรให้วัคซีนเข็มที่1 ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด เข็มที่2 และเข็มที่3 ให้เมื่ออายุทารก 1 เดือน และ 6 เดือนตามลำดับ
    • กรณีมาทราบภายหลังว่ามารดามี HBsAg ให้ผลบวก ควรพิจารณาให้ HBIG ถ้าทารกได้วัคซีนมาแล้วไม่เกิน 7 วันตามแผนการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมที่มีทั้ง คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และไวรัสตับอักเสบบี (DPT-HB) ที่อายุ 2 4 และ 6 เดือน แต่ถ้ามารดามี HBsAg ให้ผลบวกและทารกไม่ได้ HBIG ควรให้วัคซีนตับอักเสบบีเดี่ยวเพิ่มตอนอายุ 1 เดือนด้วย(รวมเป็น 5 ครั้ง)
    • เด็กที่ไม่เคยฉีดวัคซีนตับอักเสบบีมาก่อนเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีสามารถฉีดวัคซีนในเดือนที่ 0,1,6 ตามลำดับ ส่วนเด็กอายุ 11-15 อาจฉีดเพียง 2 ครั้งในเดือนที่ 0 และ4-6 ให้ใช้วัคซีนขนาด 1 ซ๊ซี เท่าผู้ใหญ่
    • เด็กที่คลอดมาจากมารดาที่มี HBsAg ให้ผลบวก อาจจะพิจารณาตรวจ HBsAG และ Anti-HBs เมื่ออายุ 9-18 เดือน
  3. วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน
    • สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์( DTaP) แทนชนิดทั้งเซลล์ (DTwP)ได้ทุกครั้ง
    • หากใช้ชนิดDTaP ก็ควรใช้ทั้ง 3 ครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือนถ้าไม่สามารถหาชนิดเดียวกันได้ ก็ใช้ชนิดใดก็ได้
    • สำหรับเข็มกระตุ้น 18 เดือนอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP ชนิดใดก็ได้
    • เมื่ออายุ 4-6 ปีอาจจะใช้ DTwP หรือ DTaP หรือ Tdap ก็ได้
    • เด็กอายุ11-12 ปีควรจะได้รับ Tdap หรือ Td ไม่ว่าจะได้ Tdap เมื่ออายุ4-6ปีมาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นควรกระตุ้นด้วย Td ทุก 10 ปี
    • สำหรับการฉีดกระตุ้น Td ทุก10ปี ควรจะมีคั้งหนึ่งที่ใช้ Tdap
  4. วัคซีนป้องกันโปลิโอ
    • สามารถใช้ชนิดฉีด (ปัจจุบันรวมอยู่กับวัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก)แทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
    • หากใช้ชนิดกินสลับกับชนิดฉีดต้องให้ 5 ครั้งตาม OPV
    • การให้วัคซีนป้องกันโปลิโอเกินกว่าที่กำหนด ไม่มีข้อเสีย และสามารถรับ OPV เพิ่มในช่วงที่มีการรณรงค์หยอดวัคซีนเพื่อกวาดล้างโปลิโอได้
  5. หัด หัดเยอรมัน คางทูม
    • ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ครั้งที่2เมื่ออายุ 4-6 ปีควรพิจารณาให้ฉีดเร็วๆ(9 เดือน) ในพื้นที่ที่ยังมีรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนมากในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และควรฉีด๙้า(12เดือน)ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อยในเด็กต่ำกว่า 1 ปี
    • การฉีดเข็มที่2อาจจะให้ได้ตั้งแต่อายุ 2ปีครึ่งตามแผนปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุข
    • กรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มที่2 เร็วขึ้นก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ โดยต้องห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    • กรณีที่ต้องการฉีดวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด หัดเยอรมัน คางทูมและอีสุกอีใส MMRV แทนการฉีดแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 4-6 ปีแทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มพบว่ามีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนมีโอกาศเกิดการชักจากไข้ได้มากกว่าการฉีดแบบแยกเข็ม กรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อนแนะนำให้ใช้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR ครั้งก่อนหรือ VZV มาก่อนอย่างน้อย 3 เดือน
  6. วัคซีนป้องกันฮีบ HIB
    • ปัจจุบันมีวัคซีน 2 ชนิดคือ conjugated กับ PRP-T และHbOC ในเด็กไทยแนะนำให้ฉีด 3 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน
    • การฉีดเข็มกระตุ้นที่อายุ 12-18 เดือน อาจไม่จำเป็นต้องฉีดในเด็กแข็งแรง ควรฉีดในผู้ที่มีความเสี่ยง
    • ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนฮีบในเด็กปกติทีอายุ 2 ปีขึ้นไป
    • หากเริ่มช้าให้พิจารณาฉีดตามตาราง
    • อายุที่เริ่มฉีด                              เดือนที่ของการฉีด PRP-T HbOC2-6 เดือน                                        0,2,4 ฉีดกระตุ้นอายุ 12-18 เดือน7-11 เดือน                              0,2 ฉีดกระตุ้นอายุ12-18

      12-24 เดือน                         เข็มเดียว

      >24 เดือน เฉพาะผู้ที่เสี่ยง 0,2

               ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคฮีบ เช่นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่มีม้าม หรือม้ามทำงานผิดปกติ

  7. ไข้สมองอักเสบเจอี
    • วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated vaccine ) ปัจจุบันมีสองชนิดคือ mouse-brain derived vaccine (MBV) ซึ่งอยู่ในแผนของกระทรวงสาธารณสุข และสายพันธื P3 เพาะเลี้ยงใน vero cell (JEVAC) ทั้งสองชนิดฉีดสามครั้งเริ่มเมื่ออายุ 9-18 เดือนเข็มต่อมาอีก 4 สัปดาห์ และ 1 ปี ปีตามลำดับ สำหรับ MBV อาจจะพิจารณาให้ฉีดกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง ห่างจากเข็มสามอย่างน้อย 4-5ปี

      วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต (live JE) ใช้สายพันธ์ 14-14-2 ให้ฉีดสองครั้งมี สองชนิดคือ CDJAX เริ่มฉีดเมื่ออายุู 9-12 เดือน และเข็มที่2 อีก 3-12 เดือน อีกชนิดคือ Chimeric JE (MOJAV) เริ่มฉีดที่อายุ 12 เดือนและเข็มที่สองอีก 12-24 เดือนต่อมา สามารถใช้วัคซีนชนิด live je แทนชนิด MBV ได้ทั้งในการฉีดชุดแรก และการฉีดกระตุ้น

      ยังไม่มีข้อมูลการใช้ live je ต่างชนิดกันทดแทนกัน

      ในกรณีที่เคยได้ MBV มาก่อนและต้องการฉีดต่อด้วย live JE vaccine ให้พิจารณาฉีดตามตาราง

                  ประวัติฉีดวัคซีน MBV ในอดีต                         ข้อแนะนำในการฉีด live-attenuated JE

      1เข็ม                                                         ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 3-24 เดือน (แล้วแต่ชนิดของวัคซีน)

      2-3 เข็ม                                         ฉีด 1 เข็ม ห่างจากเข็มสุดท้าย 1 ปี

      มากกว่าหรือเท่ากับ4เข็ม                    ไม่ต้องฉีด

  8. ตับอักเสบเอ
    • มีสองชนิดคือ formalin-inactivated vaccine และ virosome vaccine
    • ฉีดได้ตั้งอายุ 1 ปีขึ้นไปฉีด 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือนใช้ต่างชนิดได้ในการฉีดแต่ละครั้ง
  9. อีสุกอีใส
    • ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเข็มแรกอายุ 12-18 เดือน
    • พิจารณาให้ฉีดเข็มที่สองเมื่ออายุ 4-6 ปี อาจจะฉีดเข็มที่สองก่อนอายุ 4 ปีก็ได้ในกรณีที่มีการระบาดแต่ต้องห่างเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
    • พิจารณาให้วัคซีนนี้แก่เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปีที่ยังไม่เคยเป็นอีกสุกอีใส
    • ถ้าอายุมากกว่า 13 ปีให้ฉีดสองเข็มห่างกันอย่างน้อน 1 เดือน
  10. ไข้หวัดใหญ่
    • พิจารณาให้ฉีดในเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปถึง 18 ปีโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า2 ปี และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรครุนแรงเช่นเด็กที่จะเป็นโรคเรื้อรัง(รวมหอบหืด) โรคหัวใจ โรคอ้วนที่ BMIมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคเรื้อรังเป็นต้น
    • ถ้าอายุน้อยกว่า 9 ปี การฉีดครั้งแรกต้องฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน กรณีที่ปีแรกได้ไปฉีดเพียงครั้งเดียว ปีต่อมาให้ฉีดสองครั้งหลังจากนั้นให้ฉีดปีละครั้ง
    • ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือนให้ลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง (0.25 ซีซี)
  11. นิวโมคอคคัส ชนิดคอนจูเกต
    • ควรให้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้ชนิดรุนแรง (invasive disease) หรือรุนแรง ดังตาราง และในเด็กแข็งแรงปกติที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ที่ประสค์จะป้องกันโรค
    • ปัจจุบันมีวัคซีนชนิด10สายพัน์( PCV10) และชนิด13สายพันธ์( PCV13 ) ให้สามครั้งเมื่ออายุ 2,4,6 เดือน และให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 12-15 เดือนโดยห่างจากเข็มสุดท้ายอย่างน้อย 2 เดือนหากเริ่มฉีดว้าให้ฉีดตามตาราง
    • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีกรณีที่ได้ PCV7 ครบแล้ว 4 ครั้งพิจารณาให้ PCV13 อีกหนึ่งครั้งห่างจาก PCV7 เข็มสุดท้ายอย่างน้อย 8 สัปดาห์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธ์ที่เพิ่มเติมขึ้น
    • อายุที่เริ่มฉีด                               จำนวนครั้งที่ฉีด                                            การฉีดกระตุ้น2-6 เดือน                        PCV 3 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                       PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน

      7-11 เดือน                      PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                       PCV 1 ครั้งอายุ12-15 เดือน

      12-23 เดือน                     PCV 2 ครั้งห่างกัน 6-8 สัปดาห์                      ไม่ต้องฉีด

      เด็กปกติ 2-5 ปี     PCV10 ให้ 2 ครั้ง PCV13 ให้1ครั้ง ไม่ต้องฉีด

      เด็กเสี่ยง

      – อายุ 2-5 ปี     PCV13 ให้ 2 ครั้งให้สองครั้งห่างกัน 8 สัปดาห์     ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1   เข็มห่างจาก   PCV   เข็มสุดท้าย 8 สัปดาห์

      -อายุ 6-18 ปี    PCV13 ให้ 1 ครั้ง    ฉีดกระตุ้นด้วย PS-23 1  เข็มห่างจาก  PCV  เข็มสุดท้าย  8 สัปดาห์

      PCV=Pneumococcal conjugated vaccine, PS-23=23-valent pneumococcal polysaccharide vaccine

    • เด็กเสี่ยงคือเด็กที่มีโอกาศเป็นโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสอย่างรุนแรงมากกว่าเด็กปกติได้แก่ เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากสาเหตุต่างๆ ภาวะไม่มีบ้าน ธัลลาสซีเมีย โรคเรื้อรังของอวัยวะต่างๆ เช่นโรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน และโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเช่น csf leakage ,cochlear implantation
    • สำหรับเด็กที่อยู่ในสถานเลี้ยงเด็กกลางวันไม่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงแต่พิจารณาให้วัคซีนได้
    • ในเด็กกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดควรจะได้วัคซีน PCV13 ดังตาราง และเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปควรได้รับการฉีดวัคซีน PS-23 ด้วยเสมอไม่ว่าจะสามารถฉีด PCV ได้หรือไม่ก็ตาม และหากเป็นเด็กเสี่ยงภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะไม่มีม้ามหรือธาลัสซีเมียควรฉีดวัคซีน PS-23 ซ้ำอีก 1 ครั้งห่างจากครั้งแรก 5 ปี การฉีด PCV ก่อนแล้วตามด้วย PS-23 จะให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีดด้วย PS-23 เพียงอย่างเดียว หรือฉีด PS-23 แล้วตามด้วย PCV
    • ในเด็กปกติอาจพิจารณาให้ฉีดแบบ2+1(รวมเป็นการฉีด 3 ครั้ง) คือฉีดเมื่ออายุ 2,4 เดือนและ 12-15 เดือน
  12. โรต้า
    • ชนิด Monovalent ให้กินสองครั้งเมื่ออายุประมาณ 2 และ 4 เดือน
    • ชนิด Pentavalent ให้กินสามครั้งเมื่ออายุ 2,4 และ 6 เดือน
    • วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรก เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน8เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
    • ควรใช้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
    • สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
    • ห้ามใช้วัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง severe combined immune deficiency และในเด็กที่มประวัติลำไส้กลืนกัน
  13. เอชพีวี HPV วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
    • มีสองชนิดคือ ชนิดสองสายพันธ์ ( bivalent มีสายพันธ์ 16 และ18)และชนิด 4 สายพันธ์(quavalent มีสายพันธ์ 6,11,16,18)
    • แนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุ 9-26 ปี(เน้นให้ฉีดในช่วงอายุ 11-12 ปีโดยฉีด 3 เข็มเดือนที่ 0,1-2 และ 6
    • ประสิทธิภาพจะสูงหากฉีดในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
    • การฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 26 ปีอาจพิจารณาให้เป็นกรณีๆไป
    • การฉีดในเด็กผู้ชายพิจารณาให้ฉีดเฉพาะ 4 สายพันธ์ ในช่วงอายุ 9-26ปีเน้นให้ในช่วงอายุ 11-12 ปี และในกลุ่มชายรักชายอายุ 9-26ปี

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]