พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ

พญ.นิภารัตน์ ไตรโลกา

ปวดฝ่าเท้าก้าวแรกหลังตื่นนอน! รองช้ำ! พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ! เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยประสบพบเจอกับเหตุการณ์แบบนี้ไม่มากก็น้อย

พังผืดใต้ฝ่าเท้าคืออะไร…เป็นเส้นเอ็นบางๆทอดยาวใต้ส้นเท้าตั้งแต่ส้นเท้าถึงด้านหน้าของเท้า

รองช้ำ หรือ พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เกิดจากความเสื่อมและฝืดตึงของพังผืดใต้ฝ่าเท้า พูดง่ายๆคือตัวพังผืดขาดความยืดหยุ่น เวลาเดินลงน้ำหนักจะเกิดการฉีกขาดทีละเล็กทีละน้อยซ้ำๆ (Repetitive trauma) กันทุกวันที่น้ำหนักลงฝ่าเท้า จนทำให้ความแข็งแรงลดลง เกิดการอักเสบเกิดขึ้น

 

อาการ มักเจ็บส้นเท้าก้าวแรกหลังลุกจากเตียง หรือหลังการนั่งนานๆ โดยหากเดินก้าวต่อไปเรื่อยๆความเจ็บจะลดลง เจ็บสุดที่ก้าวแรก มักพบอาการปวดฝ่าเท้าด้านในร่วมด้วยได้ในแนวขอพังผืดใต้ฝ่าเท้า และสามารถพบอาการนี้ร่วมกับเอ็นร้อยหวายอักเสบได้

 

ความเสี่ยงใดที่ทำให้เกิดอาการรองช้ำได้ง่ายมากขึ้น

  • วัยกลางคน อายุ (40-60ปี)
  • น้ำหนักเยอะ
  • มีประวัติต้องยืนหรือเดินนานๆ
  • มีประวัติใส่รองเท้าส้นสูง หรือรองเท้าพื้นแข็ง หรือไม่ใส่รองเท้าเดินในบ้าน
  • กล้ามเนื้อน่องตึง เอ็นร้อยหวายตึง อุ้งเท้าแบน

 

การรักษาเบื้องต้น

  • พบแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้คำปรึกษา หาสาเหตุ งด,หลีกเลี่ยงและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่พบ รวมทั้งแนะนำการปฏิบัติตัว เช่น การใส่รองเท้าเดินภายในบ้านเพื่อลดแรงกระแทกไม่ให้เท้าสัมผัสกับพื้นบ้านโดยตรง เป็นต้น
  • ใช้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) ถ้าไม่มีข้อห้าม
  • แนะนำการยืดเหยียดพังผืดใต้ฝ่าเท้า เอ็นร้อยหวาย และ กล้ามเนื้อน่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้หายขาดอย่างยั่งยืน โดยเน้นการยืดเหยียดก่อนการเหยียบพื้นก้าวแรกทุกครั้งหลังตื่นนอนหรือการนั่งนานๆ การยืดเหยียดต้องไม่รู้สึกเจ็บ แค่รู้สึกตึงๆ
  • การใช้คลื่นกระแทก Shockwave โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นผู้รักษาให้ โดยการยิงคลื่นกระแทกไปยังบริเวณที่ปวดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บเล็กๆน้อยๆที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย (Micro-injuries) และร่างกายของเราจะเกิดการซ่อมแซมในบริเวณนั้นๆ
  • การใช้อุปกรณ์พยุงอุ้งเท้าเพื่อลดแรงที่กระทำต่อส้นเท้า (Medial arch support)
  • การฉีดสเตียรอยด์ ปัจจุบันเป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก เนื่องจากการฉีดยาเข้าตัวเนื้อเยื่อใต้ฝ่าเท้าโดยตรงจะมีความเจ็บขณะฉีดมาก และใช้เวลานานกว่าจะหายขาด

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]