ทำไมผู้หญิงถึงต้องตรวจภายใน

สุภาพสตรีหลายท่านคงเคยได้ยิน ได้รู้จัก และอาจเคยได้รับการตรวจภายในกันมาบ้าง แต่คำว่าตรวจภายในยังคงเป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัว หรือเรื่องน่าเขินอายสำหรับอีกหลายๆท่าน นั่นอาจเพราะว่าไม่มีรูปภาพ หรือคลิปวิดีทัศน์สำหรับสาธิตการตรวจภายในอย่างละเอียดให้เราได้รีวิวก่อนไปเจอสูตินรีแพทย์ตัวจริง ลองมาทำความเข้าใจการตรวจภายในให้มากขึ้นกันค่ะ

ทำไมถึงต้องตรวจภายใน

การตรวจภายในเป็นการตรวจพื้นฐานของสูตินรีแพทย์ เรียกได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการคัดกรองความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรค สาเหตุที่เราใช้การตรวจวิธีอื่น เช่น การคลำเฉพาะหน้าท้องแทนการตรวจภายในไม่ได้ก็เพราะว่า เรามีส่วนที่เป็นช่องคลอด และปากมดลูกที่ต้องอาศัยการมองด้วยตา ส่วนมดลูกและปีกมดลูกนั้นสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ดีกว่าด้วยการคลำจากทั้งช่องคลอดและหน้าท้องพร้อม ๆกัน ดังนั้น หากไม่ตรวจภายใน เราก็อาจไม่ทราบว่าเรามีรอยโรคที่ช่องคลอดและปากมดลูกที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือเรามีก้อนที่มดลูกและรังไข่ที่ไม่สามารถตรวจได้จากหน้าท้องหรือเปล่า

เมื่อไรที่ควรมาตรวจภายใน

  • เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ตาขาวปิดปกติ ปวดท้องน้อย คลำได้ก้อนบริเวณท้องน้อย หรือผื่น ตุ่มฝีหนองบริเวณอวัยวะเพศภายนอก
  • ไม่มีอาการผิดปกติ แต่ต้องตรวจคัดกรองประจำปี ซึ่งนิยมทำร่วมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

การซักประวัติก่อนตรวจภายใน

แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติอย่างละเอียด ประวัติพื้นฐาน เช่น โรคประจำตัว การผ่าตัด การตั้งครรภ์และการคลอด รวมไปถึงประวัติที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว เช่น เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ มีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บหรือไม่ การคุมกำเนิดด้วยวิธีอะไร ทั้งนี้คุณสภาพสตรีไม่ต้องอายที่จะตอบคำถามเหล่านี้นะคะ ทุกคำถามนั้นล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค และช่วยในการรักษาต่อไปค่ะ

 

ขั้นตอนในการตรวจภายใน

  1. คนไข้เปลี่ยนชุดเป็นผ้านุ่งที่เตรียมไว้ให้ และถอดกางเกงชั้นในทั้งหมด ระหว่างนี้คนไข้สามารถปัสสาวะได้
  2. พยาบาลจะแนะนำให้ขึ้นนอนบนเตียงที่มีขาหยั่ง โดยเริ่มจากการหันหลังเข้าหาเตียง นั่งลงที่เตียงและเอนตัวนอน จากนั้นพาดขาทั้ง 2 ข้างบนขาหยั่ง แล้วค่อยๆขยับก้นลงมาจนชิดขอบเตียงด้านล่าง พร้อมกับดึงผ้านุ่งขึ้นไปให้พ้นบริเวณที่จะตรวจ
  3. แพทย์จะเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอก มองและคลำบริเวณอวัยวะเพศภายนอกเพื่อหาความผิดปกติ
  4. แพทย์จะใส่อุปกรณ์ถ่างขยายช่องคลอดที่เรียกว่า speculum ซึ่งมีลักษณะคล้ายปากเป็ด ใช้สำหรับตรวจหาความผิดปกติของช่องคลอดและปากมดลูก ในขั้นตอนนี้อาจมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมด้วย
  5. หลังจากนำอุปกรณ์ถ่ายขยายช่องคลอดออก แพทย์จะใช้นิ้วมือใส่เข้าไปในช่องคลอดร่วมกับกดหน้าท้องทีละตำแหน่ง เพื่อตรวจมดลูก ปีกมดลูก และอุ้งเชิงกราน
  6. อาจมีการใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนักร่วมด้วย

การตรวจภายในอาจให้ความรู้สึกจุกในช่องท้องเล็กน้อย ทำให้หลายๆท่านหวาดกลัวจนเกร็งหน้าท้อง ช่องคลอด รวมถึงหนีบขาเข้าหากัน ทำให้แพทย์ตรวจได้ยากและอาจไม่ได้ข้อมูลการตรวจที่ถูกต้อง ในส่วนนี้ คุณสามารถช่วยได้โดยการผ่อนคลาย หายใจเข้าลึกๆ ปล่อยหน้าท้องให้สบาย และพาดขาตามรูปร่างของขาหยั่ง แค่นี้การตรวจภายในก็จะเป็นเรื่องง่าย และจบได้อย่างรวดเร็วค่ะ

แผนกสูตินรีเวช ศูนย์การแพทย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เปิดให้บริการการตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงการตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ สามารถนัดหมายได้ล่วงหน้า หรือปรึกษาอาการก่อนเข้ารับการตรวจได้ค่ะ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกนรีเวชกรรม

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 1571 , 1572

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]