Work from homeอย่างไร ให้ห่างไกลOffice syndrome  

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

Work from homeอย่างไร ให้ห่างไกลOffice syndrome  

ปัจจุบันนี้ ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นคำที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้นพบได้บ่อยในวัยทำงาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลายๆคนต้อง work from home ทำงานผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, tablet, มือถือ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้พบอาการ เช่น ปวดคอบ่าไหล่ เวียนศีรษะ ปวดข้อมือ เป็นต้น กลุ่มอาการที่เป็นนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนอาจกระทบต่องานที่ทำได้ด้วย

ทำความรู้จัก Office syndrome

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในคนที่นั่งทำงานนานๆ โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนท่า ท่านั่งไม่เหมาะสม มีการใช้กล้ามเนื้อในรูปแบบเดิมซ้ำๆ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยในการทำงาน กลุ่มอาการนี้พบได้ในคนที่นั่งทำงานในออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่จริงพบในคนทั่วไปได้เช่นกันถ้าคนเหล่านั้นมีพฤติกรรมนั่งทำงานดังที่กล่าวมา

ภาพแสดงท่าทางการนั่งที่ไม่เหมาะสม: การนั่งหัวไหล่ห่อ หลังค่อม ยื่นศีรษะไปข้างหน้า แขนไม่มีที่พักเพราะระดับความสูงของที่พักแขนไม่เท่ากับความสูงโต๊ะ ส่งผลให้เกิดภาวะเครียดของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ที่ต้องทำงานหนักมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปวดตามมา

อาการที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง?

  • ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก –     ปวดข้อมือ
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ –     ปวดกระบอกตา
  • ปวดหลัง –     ปวดเข่า

การรักษา Office syndrome

                การรักษา Office syndrome ในเบื้องต้น สามารถทำได้ด้วยต้นเอง

การจัดท่าที่เหมาะสมเวลานั่งทำงาน

  • เลือกเก้าอี้ที่มีเบาะที่นั่งสามารถรองรับการวางต้นขาได้เต็มที่
  • ความสูงเก้าอี้จะต้องนั่งแล้วเข่างอทำมุม 90-110 องศา เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า หากเท้าไม่ถึงพื้นสามารถหาที่พักเท้ามาวางช่วยได้
  • มีที่พักแขนที่สูงระดับเดียวกับโต๊ะ
  • นั่งหลังชิดพนักพิง แล้วพิงเอนหลังเล็กน้อย
  • ปรับสภาพแวดล้อมโต๊ะทำงาน ให้คอมพิวเตอร์หรืองานอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้ และปรับให้ระดับสายตาอยู่ตรงกับขอบบนจอคอมพิวเตอร์พอดี
  • เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยขึ้น ไม่นั่งอยู่ในท่าเดิมนานเกินชั่วโมง

ประคบอุ่นช่วยได้

ประคบอุ่นตรงบริเวณที่ปวด 10-15 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นผ่อนคลาย หากทำก่อนการบริหารยืดกล้ามเนื้อ จะทำให้บรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดียิ่งขึ้น

                หมายเหตุ: การประคบอุ่นไม่สามาถทำในผู้ที่ผิวหนังบริเวณนั้นมีผื่น แผล คลำได้ก้อน หรือผิวหนังบริเวณนั้นชาไม่มีความรู้สึก

การบริหารกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อ สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งประสิทธิภาพจะดีต้องมีหลักดังนี้

ท่ายืดถูกต้อง, แรงดึงยืดเหมาะสม และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

 

ยืดกล้ามเนื้อคอบ่า: ดึงยืดศีรษะไปด้านตรงข้าม มือกดลงจนรู้สึกตึงที่บ่า ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อคอบ่า: ก้มศีรษะเอียงมองรักแร้ฝั่งตรงข้ามมือกดศีรษะลงจนรู้สึกตึงที่คอบ่า ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง: ยกต้นแขนข้างเดียวกันเอื้อมมือไปแตะข้างหลัง งอศอกแล้วใช้มืออีกข้างช่วยดึงศอกลง จนรู้สึกตึงบริเวณต้นแขนด้านหลัง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อศอกและแขน: ยกแขน เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างดันข้อมือขึ้น ดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

ยืดกล้ามเนื้อศอกและแขน: ยกแขน เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างดันข้อมือคว่ำลง ดึงเข้าหาตัวจนรู้สึกตึง ค้างไว้ นับ 1-10 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง

 

นอกจากการบรรเทาอาการปวดด้วยตนเองเบื้องต้นแล้ว ควรสังเกตสิ่งที่กระตุ้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดซ้ำๆเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านั้น รวมไปถึงการบรรเทาความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

หากลองวิธีดังกล่าวข้างต้นด้วยตนเองแล้วอาการยังคงไม่ทุเลา สามารถมาปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีอื่นๆ ดังนี้

  • การนวด
  • การทำกายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น hot pack, ultrasound, laser, shock wave รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อการรักษา
  • การฝังเข็ม โดยสามารถทำได้ทั้งฝังเข็มแผนจีน(acupuncture) หรือฝังเข็มแบบแพทย์ตะวันตก (dry needling)
  • การใช้ยาในการบรรเทาอาการ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]