เด็กอ้วน

เด็กอ้วนจะดูน่ารักสำหรับสายตาคนทั่วไป แต่ผลร้ายจากความอ้วนมีหลายประการรวมทั้งทำให้อายุสั้น เราจึงควรทำความรู้จักกับเด็กอ้วนดังต่อไปนี้

สาเหตุ 

  • เด็กเกิดจากครอบครัวที่อ้วน เรียกว่าเป็นพันธุกรรมเลย แรกเกิดน้ำหนักก็มาก พ่อแม่ ก็อ้วน
  • เด็กที่เจริญอาหารเป็นพิเศษ เด็กเหล่านี้ดูเหมือน “เกิดมาเพื่อเป็นเด็กอ้วน” เพราะดู อะไร ๆ ก็ อร่อยไปเสียทุกอย่าง
  • พวกที่รับประทานแต่เก็บสะสมมาก จะดูคล้ายคนมีกรรม คือรับประทานแต่ยังอ้วน เพราะไม่ ค่อยได้ออกกำลังเผาผลาญอาหารต่าง ๆ
  • อ้วนจากความผิดปกติฮอร์โมน พบน้อยกว่าพวกแรก ๆ แต่อาจจะแก้ไขได้ถ้ารักษา ถูกต้อง
  • ความไม่สบายใจ เด็กอ้วนบางคนเวลากลุ้มอกกลุ้มใจจะหาทางระบาย โดยการรับ ประทานจุ ทานจุบทานจิบ ยิ่งเครียดมาก ขาดเพื่อนยิ่งทานจุ เด็กบางคนวิตกเรื่องการเรียน กลับทานจุ บาง คนใกล้สอบอ้วนมาก สอบเสร็จแล้วจะคุมอาหารได้

การควบคุมอาหาร

อาหารเป็นส่วนสำคัญยิ่งทำให้อ้วน จึงควบคุมอาหารประเภทแป้ง ได้แก่ ข้าว กล้วย ก๋วยเตี๋ยว ของหวาน ๆ ของมัน เช่น ข้าวขาหมู ข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวเหนียวมะม่วง ขนมใส่กะทิ มาก ๆ ของทอดควรเปลี่ยนเป็นของที่ใช้ปิ้งหรือนึ่ง หรืออบ เพื่อลดแคลอรี ไม่ควรดื่มน้ำอัดลม

การควบคุมต้องได้รับความร่วมมือจากญาติผู้ใหญ่        

ถือว่า “ญาติผู้ใหญ่” มีบทบาทสำคัญมากเพราะถ้าท่านไม่ยอมให้หลานลดน้ำหนัก แม้ว่า พ่อ – แม่ – หมอ อาจารย์ที่โรงเรียนจะพยายามเท่าใดก็ไม่สำเร็จ เพราะท่านมักจะเรียกไปรับ ประทานอาหารด้วย จึงควรอธิบายให้ญาติผู้ใหญ่ฟังถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

อันตรายจากความอ้วน

  • ทำให้การพัฒนาอาจจะล่าช้า เช่น ในเด็กหัดนั่ง หัดคลาน หัดเดิน อาจทำให้ล่าช้ากว่าเด็ก ปกติ เวลาพลัดตกหกล้มจะเจ็บมากกว่าเด็กธรรมดาเนื่องจากน้ำหนักมาก เล่นกีฬาไม่ได้ดี
  • ทำให้กระดูกและข้อต่อเสื่อมสภาพเร็วกว่าวัยอันสมควร เนื่องจากต้องรับน้ำหนักมากอยู่ นาน
  • ทำให้เกิดโรคเบาหวาน อาหารที่รับประทานมากโดยเฉพาะแป้งและ น้ำตาลจะทำให้ ตับอ่อน ทำงาน จนกลายเป็นโรคเบาหวาน
  • ทำให้การเรียนเลวลง เนื่องจากเด็กอ้วนบางคนถูกเพื่อนฝูงล้อเลียนจนเกิดความอับอาย และเข้า เพื่อนฝูงไม่ได้ เก็บตัว ไม่คบหากับใคร การเรียนและสมาธิเลวลง แต่บางคนก็พยายาม ปรับตัวเอง จนยอมตัวเป็นตัวตลกในหมู่เพื่อนฝูง ๆ เวลาถูกล้อเลียน
  • อ้วนมาก ๆ หายใจไม่สะดวก เกิดอาการ “หัวใจล้มเหลว” ตายโดยฉับพลัน

การควบคุมอาหารตามวัย

ในวัยอายุ 1-2 ปี ควรได้อาหารเสริมพอควร ได้นมวันละ 2-3 แก้ว หรือขวดละ 8 ออนซ์
วัยเกิน 2 ปี ถึงวัยรุ่น คุณแม่ควรควบคุมอาหารให้เด็กแข็งแรงและสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ ควรจะอ้วน มาก ควรลดพวกอาหารหวานจัด, มันจัด ซึ่งทำให้อ้วน แต่อาหารโปรตีนทำให้เด็ก เติบโตและไม่ อ้วนควรได้รับตามปกติ คุณเอง ถ้าอยากทราบว่า “อ้วนไปไหม”    ทำดังนี้
คุณผู้ชาย ส่วนสูง – 100 ซม. = น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
คุณผู้หญิง ส่วนสูง– 110 ซม. = น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

แต่ในเด็กเล็กๆ เราจะใช้ตารางการเจริญเติบโตบอกได้ว่าลูกอ้วนเกินไปหรือไม่ คุณพ่อ คุณ แม่หมั่นสังเกตดู ถ้าเริ่มอ้วน ให้ทำดังนี้
1.ควบคุมอาหาร
2.เพิ่มการออกกำลังกาย
3.ถ้ายังไม่สำเร็จ

โปรดนำไปพบแพทย์เพราะอาจจะต้องการยาที่ช่วยในการ รักษาโรคอ้วน โดยเฉพาะ ครอบครัวที่มีผู้เป็นเบาหวาน โอกาสเด็กจะเป็นโรคเบาหวานได้มาก กว่าเด็กปกติ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]