โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยเฉพาะผู้สูงวัยซึ่งเป็นวัยที่ต้องการพลังงานและสารอาหารแตกต่างจากวัยทำงาน หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายปกติ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลงของระบบต่างๆ ดังนั้น จึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการพลังงานและสารอาหารในผู้สูงอายุแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน

แนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ

กลุ่มอาหาร พลังงาน(กิโลแคลอรี) ต่อวัน
1,400

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบามาก)

1,600

ชาย-หญิง

(กิจกรรมเบา)

1,800

ชาย-หญิง

(กิจกรรมปานกลาง)

ข้าวแป้ง (ทัพพี) 5 7 9
ผัก (ทัพพี) 4 4 4
ผลไม้ (ส่วน) 1 1 2
เนื้อสัตว์ (ช้อนกินข้าว) 6 7 8
ถั่วเมล็ดแห้ง (ช้อนกินข้าว) 1 1 1
นม (แก้ว) 2 2 2
น้ำ (แก้ว) 8 8 8
ไขมัน (ช้อนชา) 6 6 6
น้ำตาล (ช้อนชา) 6 6 6

โภชนบัญัติ 9 ประการสำหรับผู้สูงอายุ

  1. กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  2. กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย
  3. กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลให้มากเป็นประจำ
  4. กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ
  5. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ
  6. หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
  7. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มรสหวาน
  8. กินอาหารสะอาด ปลอดภัย
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง

กินเพลิน

สร้างบรรยากาศการรับประทานอาหารให้อร่อย ด้วยการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัว มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ร่วมกันปรุงประกอบอาหาร เปลี่ยนบรรยากาศรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือไปเที่ยวทั้งครอบครัวเป็นบางโอกาส

เจริญตา

เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามิน เอ บี1 บี12 ซี อี ลูทีน ซีแซนทีน ซิลิเนียม และสังกะสี ซึ่งช่วยในการทำงานของจอประสาทตา ชะลอการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งพบใน ตำลึง ฟักทอง กะหล่ำดอก ผักบุ้ง บร็อคโคลี แครอท ข้าวโพด ฝรั่ง ส้ม มะละกอ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ตับ ไข่ หอยนางรม ปลา นม และน้ำมันพืช เป็นต้น

 

พาจำดี

บำรุงสมองและระบบประสาท ป้องกันการชาตามปลายมือปลายเท้า ด้วยการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า3 สารสื่อประสาทโคลิน เลซิตินและวิตามินบีต่างๆ ได้แก่ บี1 บี6 และบี12 เป็นต้น ซึ่งพบใน ปลาทะเลน้ำลึก ใบแปะก๊วย ไข่แดง กล้วย ถั่วเหลืองและข้าวกล้อง เป็นต้น

มีพลัง
ผู้สูงอายุ ต้องการพลังงาน 1,400 ถึง 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน ขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และการใช้พลังงานในแต่ละวัน ซึ่งควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อและชะลอความเสื่อมของกระดูก ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี เค และแมกนีเซียม ซึ่งพบใน นมและผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย และงาดำ เป็นต้น เลือกรับประทานโปรตีนที่ดี เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไขมันต่ำย่อยง่าย ถั่วและธัญพืชต่างๆ

รับประทานให้หลากหลายครบ 5 หมู่ ไม่รับประทานของซ้ำๆเดิมๆ มีปริมาณที่เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำในแต่ละวันตามตารางแนวทางการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุก็จะมีภาวะโภชนาการที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับการเสื่อมถอยของร่างกายได้เป็นอย่างดี

 

 

จัดทำโดย: งานโภชนาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

โทร 02-8496600 ต่อ 1084/1085

ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกผู้สูงอายุ

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2611-2612

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบื่อไหมสายจมูก

การทำสายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Gastrostomy: PEG) โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล ประโยชน์ของการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) การให้อาหารและของเหลว: PEG ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหารทางปากได้รับสารอาหารและของเหลวที่จำเป็นผ่านทางท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร การบริหารยา: สามารถใช้เพื่อการบริหารยาที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับยาทางปากได้ ลดความเสี่ยงของการสำลัก: ช่วยลดความเสี่ยงของการสำลักอาหารและของเหลวเข้าปอด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต: ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหาร ทำให้สามารถรับสารอาหารและของเหลวได้อย่างเพียงพอ ระยะเวลาการใช้ที่ยาวนาน: เป็นวิธีการที่มีความทนทานและสามารถใช้งานได้นาน เมื่อเทียบกับการให้อาหารผ่านท่อชั่วคราว ความสะดวกสบายและปลอดภัย: PEG มีความปลอดภัยและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ป่วย เมื่อเทียบกับวิธีการให้อาหารอื่นๆ เช่น การให้อาหารทางสายยางจมูก (NG tube)   กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืน: เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดอาหารตีบ (Esophageal Stricture) หรือภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลัง: เช่น ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลังที่ส่งผลต่อการกลืน ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก คอ หรือหลอดอาหาร: […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 29

GJ E-Magazine ฉบับที่ 29 (เดือนตุลาคม 2567) “โรคระบบทางเดินปัสสาวะ” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

โรคอ้วนทุกระดับ เรารักษาได้

โรคอ้วนทุกระดับ เรารักษาได้ โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล (แพทย์ศัลยศาสตร์ผ่าตัดส่องกล้อง) เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ³ 30 kg/m2 Body Mass Index (BMI) =       (น้ำหนัก kg) (ส่วนสูง เมตร)2 ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกณฑ์การแบ่ง < 18.5 น้ำหนักน้อย 18.5 – 24.9 น้ำหนักปกติ 25 – 29.9 น้ำหนักเกิน 30 – 34.9 โรคอ้วนระดับที่ 1 35 – 39.9 โรคอ้วนระดับที่ 2 ³ 40 โรคอ้วนระดับที่ 3 หรือ โรคอ้วนทุพพลภาพ   Body fat […]

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล Office Syndrome คืออะไร เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษา เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  […]