โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

โภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี

                                                                                  โดย นายธนวัฒน์  ชาชิโย (นักวิชาการโภชนาการ)

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดี อีกทั้งยังช่วยควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไอวี และช่วยควบคุมอาการข้างเคียงจากการให้ยาได้

ปัญหาโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีมีอะไรบ้าง

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อการรักษา และสภาวะของโรคบางครั้งอาจทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการได้ ดังต่อไปนี้

  • ความสามารถในการรับประทานหรือกลืนได้ลำบาก (การติดเชื้อ  อักเสบ หรือแผลบริเวณช่องปาก)
  • การเปลี่ยนแปลงของการดูดซึมและระบบเผาผลาญสารอาหารของร่างกาย
  • ผลข้างเคียงจากยาเอชไอวี เช่น สูญเสียความอยากอาหาร คลื่นไส้ หรือท้องร่วง 

คำแนะนำหรือข้อควรระวัง “อาหารสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี”

  1. เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยปกป้องระบบภูมิคุ้มกัน กำหนดปริมาณที่ควรได้รับ 5-9 ส่วนต่อวัน วิธีง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารให้ได้ตามปริมาณที่กำหนดไว้นั้นคือ การเพิ่มผลไม้และผักให้ได้ปริมาณครึ่งหนึ่งของจานอาหารในแต่ละมื้อ เพื่อให้ได้วิตามินและแร่ธาตุมากที่สุด
  2. รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ และคุณภาพดี เพื่อให้ร่างกายใช้ในการสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, เนื้อไก่, ปลา, ไข่, ถั่วเมล็ดแห้ง 

เพิ่มเติม : อาจต้องรับประทานโปรตีนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นหากคุณมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ หรือภาวะน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะของโรคซึ่งแพทย์ผู้รักษาสามารถประเมินและกำหนดปริมาณที่เหมาะสมให้ได้

  1. เลือกกลุ่มข้าวแป้ง-ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตซึ่งจะให้พลังงานแก่ร่างกายเป็นหลัก อุดมไปด้วยวิตามินบี และใยอาหาร ซึ่งช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมไขมันที่เรียกว่า lipodystrophy (ภาวะไขมันกระจายตัวผิดปกติ) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากเอชไอวี
  2. จำกัดปริมาณน้ำตาลและเกลือ เพราะเชื้อไวรัสและยาที่ได้รับส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น หากได้รับปริมาณน้ำตาลและเกลือมากเกินไป ดังนั้นพลังงานที่ได้รับจากน้ำตาลทั้งจากอาหารและเครื่องดื่ม ควรน้อยกว่า 10% จากพลังงานที่ควรได้รับในต่อวัน (ปริมาณ ไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวันโดยประมาณ) และปริมาณเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน (โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน)
  3. เลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม ได้แก่ ถั่ว น้ำมันจากพืชและอะโวคาโด
  4. ควรได้รับปริมาณอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย ทั้งพลังงานและสารอาหาร ซึ่งควรได้รับการประเมินสัดส่วนของสารอาหารเป็นรายบุคคลตามคำแนะนำ (DRI) โดยที่คาร์โบไฮเดรตประมาณ 45-65% โปรตีน 10-35% และไขมัน 20-35% ส่วนใยอาหารควรได้รับ 14 กรัม ต่อความต้องการพลังงาน 1000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

   ในทางตรงกันข้ามหากมีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง มีน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ อาจทำให้ร่างกายของคุณอ่อนแอลง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องได้รับพลังงานจากอาหารอย่างเพียงพอ 

 – เลือกรับประทานกลุ่มอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ถั่ว หรือเนยถั่ว  

 – เพิ่มมื้ออาหารระหว่างมื้อมากขึ้น เช่น กลุ่มของคาร์โบไฮเดรต เช่น แครกเกอร์, ขนมปังโฮลสวีท จับคู่กับอาหารกลุ่มโปรตีน เช่น เนยถั่ว, เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ,ไข่

 – กลิ่นอาหารอาจทำให้รู้สึกคลื่นไส้ ควรรับประทานอาหารในที่ทีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

            – ปัญหาทางช่องปาก มีอาการกลืนลำบากหรือเจ็บจากแผลในปาก ควรปรุงอาหารให้นิ่ม อ่อนนุ่ม          หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารรสเค็ม, เผ็ดหรือเป็นกรด และล้างปากด้วยน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหาร

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานกลุ่มใยอาหารต่ำ ไขมันสูง อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันที่ผิดปกติ ความดื้อต่ออินซูลิน และความอ้วนได้ งานวิจัยระบุว่าการให้อาหารที่มีไขมันต่ำ และไขมันอิ่มตัวต่ำ ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด เพิ่มระดับ HDL ในเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันที่ผิดปกติได้
  2. สำหรับผู้ป่วยเอชไอวีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง แนะนำให้ควบคุมปริมาณไขมัน เพื่่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ (ไขมัน 25-35% ของพลังงานรวม ไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7% ไขมันทรานส์น้อยกว่า 1% และโคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200 mg ต่อวัน) 
  3. ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำซึ่งอาจเกิดจากอาการท้องร่วงหรือคลื่นไส้อาเจียน

10.เน้นความสะอาดและปลอดภัยของอาหาร (Food safety) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำมาก เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่สะอาด หรือมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคอาหารเป็นพิษมากกว่าคนทั่วไป

ข้อแนะนำ :   – ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำก่อนและหลังรับประทานอาหาร 

      – รับประทานอาหารที่ปรุงสุก หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ดิบ 

      – ล้างผลไม้สดและผักด้วยน้ำสะอาด

      – ตรวจสอบวันหมดอายุก่อนรับประทาน

      – แนะนำให้ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดและหลีกเลี่ยงน้ำแข็งและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

ReferencePasco County Health Department: “Putting the Pieces Together: A Companion Guide to Improving Nutrition and Food Safety for Persons Living With HIV.”

                       Academy of Nutrition and Dietetics. HIV/AIDS (H/V) Guideline Evidence Analysis Library. 2010. [Accessed at http://andeal.org/topic.cfm?menu=5312&cat=4458]

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]