การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในปอด

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อในปอด

โดย นางสาวอ้อมเดือน  ชื่นวารี นักกายภาพบำบัด

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ปอด ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เมื่อร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปโดยเฉพาะถุงลมในปอด เชื้อจะมีการแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายคือเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะล้อมเชื้อไว้ ในกรณีที่เม็ดเลือดขาวไม่สามารถควบคุมเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ จะทำให้เกิดรอยโรคในเนื้อปอดได้ 

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถจัดการทำลายเชื้อได้  ผู้ป่วยก็จะมีอาการแสดงดังนี้ คือ ไอมีเสมหะ มีไข้ อ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย เป็นต้น ซึ่งภาวะอาการเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันได้ลดลง ทำให้สภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตที่ลดลงตามไปด้วย

การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดด้วยวิธีกายภาพบำบัด ช่วยลดอาการเหนื่อยและเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยมีวิธีการปฏิบัติ ดังนี้

เทคนิคการบรรเทาอาการเหนื่อย 

  • การหายใจเพื่อลดอาการเหนื่อย
    • หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ
    • ห่อริมฝีปาก (เหมือนกำลังผิวปาก)
    • หายใจออกช้าๆ ผ่านทางริมฝีปากที่กำลังห่ออยู่ (เป่าลมออกทางปาก) โดยเวลาในการหายใจออกให้มากกว่าการหายใจเข้าสองเท่า
  • การหายใจโดยใช้กระบังลม
    • ผ่อนคลายหัวไหล่
    • วางมือข้างหนึ่งบริเวณหน้าท้อง 
    • หายใจเข้าผ่านจมูก ให้บริเวณหน้าท้องขยายออก
    • หายใจออกด้วยวิธีการห่อริมฝีปาก และหดกล้ามเนื้อหน้าท้อง บริเวณหน้าท้องจะแฟบ
    • ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง 
    • สามารถฝึกได้หลายรอบต่อวัน และสามารถฝึกในท่านอน นั่ง ยืน หรือขณะเดิน

การจัดท่าทาง เพื่อลดอาการหอบเหนื่อย

เพื่อลดอาการเหนื่อยได้เร็วขึ้น ควรทำร่วมกับการหายใจโดยใช้กระบังลมและหายใจออกโดยเป่าลมออกทางปาก 

  • ท่าที่ 1  นอนตะแคง ศีรษะหนุนหมอนสูง (หมอน 3-4 ใบ)
  • ท่าที่ 2  นั่งโน้มตัวมาด้านหน้า โดยวางศอกลงบนขาทั้ง 2 ข้าง
  • ท่าที่ 3  นั่งฟุบวางแขนบนหมอนที่อยู่บนโต๊ะ
  • ท่าที่ 4  ยืนเท้าแขนบนขอบระเบียง ของหน้าต่าง หรือโต๊ะสูง
  • ท่าที่ 5  ยืนพิงผนัง ปล่อยแขนข้างลำตัว โดยโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อย

เทคนิคการไอขับเสมหะที่ถูกต้อง

  • นั่งท่าสบายๆ
  • โน้มศีรษะไปด้านหน้าเล็กน้อย
  • วางเท้าทั้ง 2 ข้าง ลงบนพื้นให้เต็มฝ่าเท้า
  • หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ โดยใช้กระบังลม (หน้าท้องขยายออก)
  • กลั้นหายใจ 2 วินาที
  • ไอ 2 ครั้งติดต่อกัน โดยอ้าปากเล็กน้อย
  • บ้วนเสมหะออก
  • พักสักครู่ หากไม่ได้ผล ให้ทำซ้ำอีก 1-2 ครั้ง

บรรณานุกรม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.  พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลราชวิถี. (2553). คู่มือผู้ป่วยและญาติ:กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสุขภาพ COPD. กรุงเทพฯ: งานพัฒนาและส่งเสริมวิชาการสุขภาพ โรงพยาบาลราชวิถี.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]