ไข้หวัดใหญ่

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

โรคไข้หวัดเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปี หากติดเชื้อเข้าไปแล้วก็ทำให้เกิดการเจ็บป่วย หยุดงาน หรือการหยุดเรียนตามมา หากเป็นไข้หวัดธรรมดาก็หายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเป็นไข้หวัดใหญ่ก็จะเกิดอาการมากกว่าไข้หวัดธรรมดา และใช้ระยะเวลานานกว่าจะหาย และหากไข้หวัดใหญ่เกิดในผู้ที่ไม่แข็งแรงก็จะเพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูง สำหรับไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกไหล ไข้ไม่สูงมาก

ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัด ต่างกันอย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อ Influenza virus เป็นการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจ เช่น จมูก คอ หลอดลม และปอด เชื้ออาจจะลามเข้าปอดทำให้เกิดปอดบวม ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามตัวปวดกล้ามเนื้อมาก จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็กจะพบมากเป็นพิเศษ แต่อัตราการเสียชีวิตมักจะพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด สามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล ลดโรคแทรกซ้อน ลดการหยุดงานหรือหยุดเรียน

วิธีป้องกัน หวัด-ไข้หวัดใหญ่

(1). ล้างมือ ด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์    ไวรัสกลุ่มหวัด-ไข้หวัดใหญ่แพร่กระจายได้ 2 ทางใหญ่ๆ คือ ทางอากาศและทางบก   มือที่ปนเปื้อนเสมหะ-น้ำมูก-น้ำลายจากการไอ-จาม-ใช้มือแตะจมูก-ปาก ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปทางบก โดยผ่านการจับโน่นจับนี่ เช่น ลูกบิดประตู (ห้องน้ำแบบซิกแซ็ก-มีแผงบังตาป้องกันโรคได้ดีกว่าห้องน้ำแบบใช้ประตู)

(2). หลีกเลี่ยง คนป่วยและสถานที่แออัด    การไอ-จามทำให้ละอองฝอยที่มี เชื้อแพร่กระจายไปทางอากาศ ซึ่งป้องกันได้ด้วยการอยู่ให้ห่างคนที่ไอ-จาม (2 เมตรขึ้นไป หรือไกลกว่านั้นในที่อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น ห้องแอร์ ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ)

(3). ทำความ สะอาด    ไวรัสหวัด-ไข้หวัดใหญ่มีชีวิตอยู่บนสิ่งของเครื่องใช้ เช่น สวิทช์ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ฯลฯ ได้หลายชั่้วโมง, การทำความสะอาด เช่น เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ฯลฯ ช่วยลดโอกาสติดเชื้อได้

(4). กินอาหาร สุขภาพ     การกินอาหารสุขภาพให้ครบทุกหมู่ พอประมาณ มีผักผลไม้หลายสี และกินโยเกิร์ต ช่วยลดโอกาสติดหวัดได้ประมาณ 25%

(5). นอนให้พอ   การนอนให้พอและไม่ดึกเกินช่วยให้ภูิมิต้านทานโรคดี

(6). ลดความ เครียด    การลดความเครียด เช่น ออกแรง-ออกกำลัง ฯลฯ หรือฝึกคลายเครียด เช่น เกร็งกล้ามเนื้อทีละส่วนแล้วผ่อนคลาย ฯลฯ ช่วยให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น

(7). ไม่สูบ บุหรี่    คนที่่สูบบุหรี่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจบ่อยกว่า เป็นหวัด-ไข้หวัดใหญ่บ่อยกว่า และอาการหนักกว่าคนที่ไม่สูบุบหรี่, คนที่ไม่สูบจำเป็นต้องระวังควันบุหรี่มือสอง หรือควันจากคนอื่นสูบ    กลไกที่เป็นไปได้ คือ ควันบุหรี่มีฤทธิ์ระคายเคือง ทำให้เยื่อบุจมูกแห้ง เซลล์ขนบนเยื่อบุจมูกเป็นอัมพาต พัดโบก (กวาด) ขยะจากจมูกด้านในไปด้านนอกได้น้อยลง

(8). ออกกำลัง    การไม่ออกกำลัง ออกกำลังน้อยเกินหรือมากเกิน ทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง… ทางที่ดี คือ ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ไม่หักโหมจนเกินไป

(9). ระวังความ แห้ง      ข้อนี้มีผลมากสำหรับคนในเขตอบอุ่นหรือหนาวที่ใช้เครื่องทำความร้อน ทำให้เยื่อบุจมูกด้านในแห้ง ภูมิต้านทานโรคต่ำลง    คนในเขตร้อนที่ใช้แอร์เป่าตรงเข้าสู่หัว หรือตั้งแอร์เย็นมากๆ ก็ทำให้เยื่อบุจมูกด้านในแห้งได้คล้ายๆ กัน, ทางที่ดี คือ ไม่เป่าแอร์ตรงตำแหน่งหัวคน และไม่ตั้งแอร์เย็นเกินไป

ใครควรได้รับวัคซีน

วัคซีนนี้สามารถฉีดป้องกันได้เกือบทุกคนนะคะ แต่ปกติแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นย้ำให้คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือ

  1. บุคคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด
  3. หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
  4. บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  5. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  6. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  7. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
  8. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อ
  9. คนที่น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กก.ต่อตารางเมตร

แล้วควรฉีดวัคซีนเมื่อไร ?    

สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เพราะเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาดแล้วค่ะ

อาการข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีอะไรบ้าง ?  

การฉีดวัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ ทั้งมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-2 วันหลังฉีดยา สามารถใช้ผ้าเย็น ๆ ประคบบริเวณที่บวมได้ หรือทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสมได้

แล้วมีใครที่ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่บ้าง ?   

ถึงแม้วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกันโรคได้ แต่ก็มีบางคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ     – เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
 – คนที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนชนิดนี้ผลิตจากไข่ไก่
  – ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
  – ผู้ที่มีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน 
  – ผู้ป่วยที่มีโรคประจำกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]