Hepatitis

โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง

ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบน้อยมาก ซึ่งตับอักเสบนั้นเป็นสาเหตุการตาย 1 ใน 12 จากการตายของโรคมะเร็งทั่วโลก และมีเพียง 1 ใน 5 ของผู้ที่ติดเชื้อเท่านั้นที่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ

โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังนั้นมีสองชนิด คือไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี

โรคไวรัสตับอักเสบบี

  1. ไวรัสตับอักเสบบีนั้นสามารถติดต่อได้ 3 ทาง ได้แก่ เลือดหรือสารคัดหลั่ง จากมารดาสู่ทารก และทางเพศสัมพันธ์
    1. การติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งนั้นหมายรวมถึงการสักตามที่ๆต่าง เช่น สักคิ้ว สักยันต์ ที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่เพียงพอ การใช้มีดโกนร่วมกัน หรือการเจาะหู เจาะลิ้น โดยใช้เข็มร่วมกับผู้ติดเชื้อ
    2. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคนี้ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยทั้งระหว่างชายรักชาย และชายกับหญิง
    3. การติดต่อจากมารดาสู่ทารก ในมารดาที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้ลูกติดเชื้อได้ และเป็นสาเหตุการติดเชื้อที่สำคัญที่สุดของโรคไวรัสตับอักเสบบีในอดีต
  2. การดำเนินโรค หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเชื้อ บางคนจะมีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน คือ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวเหลือง ตาเหลือง แต่บางคนก็ไม่มีอาการได้ หลังจากนั้นผู้ป่วยบางคนจะกลายเป็นผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อตั้งแต่เกิดจากมารดามักจะเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง  ช่วงที่มีตับอักเสบเรื้อรัง อาจจะไม่มีอาการได้ มักทราบจากผลเลือดว่าค่าตับมีการอักเสบ ต่อมาถ้าไม่ได้รักษา จะเกิดตับแข็ง ผู้ป่วยที่ตับแข็งเป็นมากมักมีอาการท้องโต ขาบวม ตัวเหลือง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ
  3. การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบี นั้นประกอบด้วยการประเมินระยะของโรค การรักษาด้วยยาต้านไวรัสและ การตรวจคัดกรองมะเร็งตับ
    1. การประเมินระยะของโรคนั้น จะต้องประเมินว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใด เช่น ระยะพาหะ ระยะตับอักเสบเรื้อรัง หรือ เกิดตับแข็งไปแล้ว โดยจะประเมินด้วยการตรวจร่างกาย ตรวจเลือดเพื่อการทำงานของตับ อัลตราซาวน์ตับและการตรวจพังผืดตับ  การตรวจพังผืดตับนั้น เพื่อดูระยะก่อนที่จะเกิดตับแข็ง เพื่อให้รักษาโรคและป้องกันไม่ให้เกิดตับแข็ง โดยต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการวัดพังผืดตับ ลักษณะคล้ายเครื่องอัลตราซาวน์
    2. กรณีที่ผู้ป่วยมีพังผืดในตับหรือมีตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็ง จำเป็นต้องรักษาด้วยยาต้านไวรัส เพื่อควบคุมโรคและจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับได้ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้น เชื้อจะดื้อยาได้
    3. การตรวจคัดกรองมะเร็งตับในผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบี จะตรวจทุก 6 เดือนในกลุ่มเสี่ยงมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี ผู้ป่วยตับแข็งหรือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ
  4. การป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ได้แก่ การใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดผู้ป่วย และในรายที่คู่สมรสเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี สามารถฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันได้
  5. การดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี คือ งดสุรา และ ยาสมุนไพร เพราะเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบ ในผู้ป่วยที่ตับแข็งแล้ว แนะนำให้งดอาหารรสเค็ม รับประทานอาหารที่สุกสะอาด และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนให้มากขึ้น

โรคไวรัสตับอักเสบซี

  1. ไวรัสตับอักเสบซีนั้นสามารถติดต่อได้ 2 ทาง ได้แก่ เลือดหรือสารคัดหลั่ง และทางเพศสัมพันธ์
    1. การติดต่อทางเลือดและสารคัดหลั่งนั้นหมายรวมถึงการสักตามที่ๆต่าง เช่น สักคิ้ว สักยันต์ ที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ไม่เพียงพอ การใช้มีดโกนร่วมกัน หรือการเจาะหู เจาะลิ้น โดยใช้เข็มร่วมกับผู้ติดเชื้อ หรือในผู้ที่ใช้สารเสพย์ติดฉีดเข้าเส้นที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
    2. การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคนี้ติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยกลุ่มชายรักชายจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่ากลุ่มที่มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง
  2. บุคคลกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบซี คือคนที่มีโอกาสสัมพัทธ์เลือดผู้ติดเชื้อ ได้แก่ บุคคลากรทางการแพทย์ กลุ่มชายรักชาย กลุ่มคนที่เคยติดคุก คนที่ใช้สารเสพย์ติดฉีดเข้าเส้น คนที่ได้รับเลือดหรือปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปีพ.ศ. 2535 ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ต้องฟอกเลือด
  3. การดำเนินโรคของไวรัสตับอักเสบซี โดยหลังจากได้รับเชื้อผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ และเกิดเป็นตับอักเสบเรื้อรัง 60-85% ในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดตับแข็ง 20-30% และในคนไข้ตับแข็งจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ และตับวายจนเสียชีวิต 25-50%   ส่วนมากผู้ป่วยที่ติดเชื้อเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ ส่วนน้อยอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย ตัวเหลืองได้ เมื่อโรคเป็นมานาน เกิดตับอักเสบเรื้อรังไปเรื่อยๆ จะเกิดตับแข็ง ทำให้มีอาการท้องโต ตัวเหลืองตาเหลือง
  4. การรักษา ปัจจุบันโรคไวรัสตับอักเสบซีมียาที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถึง 90% โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ถึงแผนการรักษา
  5. เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีและซี บางคนจะไม่มีอาการ ดังนั้นจึงแนะนำให้บุคคลกลุ่มเสี่ยงไวรัสตับอักเสบบีและซีควรเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองโรคเสมอ

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]